ส่อง ‘ซีเอสอาร์’ ท้องถิ่นล้านนา
มุ่งจัดสมดุล ‘เศรษฐกิจ-สังคม-สิ่งแวดล้อม’
ความเจริญทางวัตถุหรือเทคโนโลยีจากโลกตะวันตกที่ไหลบ่าเข้ามา มีอิทธิพลต่อการดำเนินชีวิตในปัจจุบัน ได้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและความเป็น อยู่แบบดั้งเดิมของคนไทยอยู่ไม่น้อย โดยเฉพาะในส่วนภูมิภาค สะท้อนจาก มุมมองของหลายภาคส่วนต่อเรื่อง “CSR ถิ่นล้านนา” ที่ถึงแม้จะเป็นเรื่องใกล้ตัวที่ยึดถือปฏิบัติกันมาช้านานในหลายกิจกรรม แต่ก็ยังมีอีกหลาย เรื่องที่ยังขาดตกบกพร่องไป ต้องการความร่วมมือร่วมใจผลักดันให้เห็นผล อย่างเป็นรูปธรรม พัฒนาเมือง ควบคู่ฟื้นฟูวัฒนธรรม
นายณรงค์ ตนานุวัฒน์ รองประธานคณะกรรมการพัฒนา เศรษฐกิจพื้นที่ภาคเหนือ กล่าวว่า ซีเอสอาร์ อาจถือเป็นเรื่องใหม่สำหรับคนในภูมิภาค แต่โดยเนื้อหาแล้วในแทบทุกพื้นที่ ทั้งภาคธุรกิจและสังคม จะยึดถือปฏิบัติกันมาช้านานแล้ว
หนึ่งในกรณีตัวอย่างของภาคธุรกิจ คือ การให้ความรู้แก่พนักงานในองค์กรให้รู้จักวิธีบริหารจัดการเงิน เนื่องเพราะร้อยละ 70-80 จะมีการนำเงินในอนาคตจากการรูดบัตรเครดิตมาจับจ่าย ใช้สอยอย่างสุรุ่ยสุร่าย สิ่งที่ทำคือการเน้นย้ำให้คำนึงถึงภาระหนี้สิน ที่จะติดตามมา หากยังคงใช้จ่ายอย่างไม่ยั้งคิด ก็จะส่งผลกระทบ ต่อปัญหาครอบครัวและสังคมในที่สุด
ทำนองเดียวกับซีเอสอาร์ในระดับสังคม โดยเฉพาะที่จังหวัด เชียงใหม่ที่ได้มีการฟื้นฟูวัฒนธรรมล้านนาให้คงอยู่กับคนท้องถิ่น มีอัธยาศัยไมตรีและอ่อนน้อมถ่อมตน อันจะนำมาซึ่งการเพิ่มความประทับใจให้กับนักท่องเที่ยวผู้มาเยือน
ขณะที่ นายเฉลิมพล แซมเพชร ประธานภาคีคนฮักเจียงใหม่ หนึ่งในตัวแทนองค์กรภาคประชาชน ให้ความเห็นในเรื่องเดียวกันว่า ผู้ประกอบการภาคธุรกิจต้องคำนึงถึง 3 องค์ประกอบในการดำเนินการ ทั้งในเรื่องเศรษฐกิจ ทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนเรื่องศิลปวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของสังคม ต้องทำให้มีความสมดุล ซึ่งจะทำให้เกิดความสุขและความยั่งยืน
“ความเจริญของสังคม คงไม่ได้มาจากการพัฒนาทางเศรษฐกิจแต่เพียงมิติเดียว แต่ต้องมีการพัฒนาทรัพยากรทาง ธรรมชาติและศิลปวัฒนธรรมควบคู่กันไป”
‘ซีเอสอาร์แท้’ ไม่ใช่แค่การสร้างภาพ ความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรธุรกิจ หรือซีเอสอาร์ ไม่ได้จำกัดวงเฉพาะแค่ภาคธุรกิจ แต่ยังครอบคลุมถึงทุกภาคส่วน เช่นเดียวกับภาควิชาการ ที่ รศ.สดศรี เผ่าอินทร์จันทร์ คณบดีคณะสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ระบุว่า นอกจากนักวิชาการจะต้องมีความรับผิดชอบในด้านการจัดการศึกษาและทำวิจัยแล้ว ยังต้องให้บริการทางวิชาการแก่สังคม ไปพร้อมๆ กับ การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
“ปัจจุบันประเทศไทยกำลังเผชิญวิกฤติทางสังคมอย่าง รุนแรง เรามีปัญหาความแตกแยกทางความคิด ปัญหาเยาวชน การหย่าร้าง รวมถึงการเอาเปรียบผู้บริโภคของผู้ประกอบการ การนำซีเอสอาร์มาใช้เสริมสร้างพลังความดี เพิ่มพื้นที่กิจกรรม เพื่อลดวิกฤติในหลากหลายเรื่อง ถือเป็นวาระเร่งด่วนที่ต้องทำให้เป็นวาระแห่งชาติ”
ทั้งยังมองว่า กระบวนการซีเอสอาร์ ต้องเกิดจากเนื้อแท้ ไม่ใช่การสร้างภาพ หรือเครื่องมือทางการตลาด เพื่อให้สินค้าขาย ดีหรือหวังกอบโกยแต่เพียงกำไร ตรงกันข้าม จะต้องเป็นความคิดริเริ่มแบ่งปันในสิ่งดีแก่สังคม ซึ่งการยอมรับ หรือยอดขายของ ผลิตภัณฑ์จะเป็นผลพลอยได้
กระนั้น การดำเนินกิจกรรมก็สามารถที่จะสื่อสารประชาสัมพันธ์ได้ สอดคล้องกับหลัก 4 ประการด้านสื่อสารมวลชน คือ การทำหน้าที่ให้ข้อมูลข่าวสาร การให้ความรู้ รณรงค์ให้ผู้คนทำในสิ่งที่ดีมีประโยชน์ และเชิญชวนให้คนในสังคมร่วมกันทำความดี
ทั้งนี้ ผลจากการสำรวจตรวจสอบในภาคเหนือต่อเรื่อง ซีเอสอาร์ พบว่า คนในพื้นที่ต้องการให้มีการร่วมพัฒนาชุมชน และสังคม มากสุดที่ร้อยละ 46 รองลงมา คือ การดูแลรักษา สิ่งแวดล้อม ร้อยละ 26 การประกอบธุรกิจด้วยความเป็นธรรม ร้อยละ 14 และการเคารพสิทธิมนุษยชนและการปฏิบัติต่อแรงงานอย่างเป็นธรรม และการกำกับดูแลกิจการ ร้อยละ 10 และ 4 ตามลำดับ
[Original Link]
ความเจริญทางวัตถุหรือเทคโนโลยีจากโลกตะวันตกที่ไหลบ่าเข้ามา มีอิทธิพลต่อการดำเนินชีวิตในปัจจุบัน ได้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและความเป็น อยู่แบบดั้งเดิมของคนไทยอยู่ไม่น้อย โดยเฉพาะในส่วนภูมิภาค สะท้อนจาก มุมมองของหลายภาคส่วนต่อเรื่อง “CSR ถิ่นล้านนา” ที่ถึงแม้จะเป็นเรื่องใกล้ตัวที่ยึดถือปฏิบัติกันมาช้านานในหลายกิจกรรม แต่ก็ยังมีอีกหลาย เรื่องที่ยังขาดตกบกพร่องไป ต้องการความร่วมมือร่วมใจผลักดันให้เห็นผล อย่างเป็นรูปธรรม พัฒนาเมือง ควบคู่ฟื้นฟูวัฒนธรรม
นายณรงค์ ตนานุวัฒน์ รองประธานคณะกรรมการพัฒนา เศรษฐกิจพื้นที่ภาคเหนือ กล่าวว่า ซีเอสอาร์ อาจถือเป็นเรื่องใหม่สำหรับคนในภูมิภาค แต่โดยเนื้อหาแล้วในแทบทุกพื้นที่ ทั้งภาคธุรกิจและสังคม จะยึดถือปฏิบัติกันมาช้านานแล้ว
หนึ่งในกรณีตัวอย่างของภาคธุรกิจ คือ การให้ความรู้แก่พนักงานในองค์กรให้รู้จักวิธีบริหารจัดการเงิน เนื่องเพราะร้อยละ 70-80 จะมีการนำเงินในอนาคตจากการรูดบัตรเครดิตมาจับจ่าย ใช้สอยอย่างสุรุ่ยสุร่าย สิ่งที่ทำคือการเน้นย้ำให้คำนึงถึงภาระหนี้สิน ที่จะติดตามมา หากยังคงใช้จ่ายอย่างไม่ยั้งคิด ก็จะส่งผลกระทบ ต่อปัญหาครอบครัวและสังคมในที่สุด
ทำนองเดียวกับซีเอสอาร์ในระดับสังคม โดยเฉพาะที่จังหวัด เชียงใหม่ที่ได้มีการฟื้นฟูวัฒนธรรมล้านนาให้คงอยู่กับคนท้องถิ่น มีอัธยาศัยไมตรีและอ่อนน้อมถ่อมตน อันจะนำมาซึ่งการเพิ่มความประทับใจให้กับนักท่องเที่ยวผู้มาเยือน
ขณะที่ นายเฉลิมพล แซมเพชร ประธานภาคีคนฮักเจียงใหม่ หนึ่งในตัวแทนองค์กรภาคประชาชน ให้ความเห็นในเรื่องเดียวกันว่า ผู้ประกอบการภาคธุรกิจต้องคำนึงถึง 3 องค์ประกอบในการดำเนินการ ทั้งในเรื่องเศรษฐกิจ ทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนเรื่องศิลปวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของสังคม ต้องทำให้มีความสมดุล ซึ่งจะทำให้เกิดความสุขและความยั่งยืน
“ความเจริญของสังคม คงไม่ได้มาจากการพัฒนาทางเศรษฐกิจแต่เพียงมิติเดียว แต่ต้องมีการพัฒนาทรัพยากรทาง ธรรมชาติและศิลปวัฒนธรรมควบคู่กันไป”
‘ซีเอสอาร์แท้’ ไม่ใช่แค่การสร้างภาพ ความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรธุรกิจ หรือซีเอสอาร์ ไม่ได้จำกัดวงเฉพาะแค่ภาคธุรกิจ แต่ยังครอบคลุมถึงทุกภาคส่วน เช่นเดียวกับภาควิชาการ ที่ รศ.สดศรี เผ่าอินทร์จันทร์ คณบดีคณะสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ระบุว่า นอกจากนักวิชาการจะต้องมีความรับผิดชอบในด้านการจัดการศึกษาและทำวิจัยแล้ว ยังต้องให้บริการทางวิชาการแก่สังคม ไปพร้อมๆ กับ การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
“ปัจจุบันประเทศไทยกำลังเผชิญวิกฤติทางสังคมอย่าง รุนแรง เรามีปัญหาความแตกแยกทางความคิด ปัญหาเยาวชน การหย่าร้าง รวมถึงการเอาเปรียบผู้บริโภคของผู้ประกอบการ การนำซีเอสอาร์มาใช้เสริมสร้างพลังความดี เพิ่มพื้นที่กิจกรรม เพื่อลดวิกฤติในหลากหลายเรื่อง ถือเป็นวาระเร่งด่วนที่ต้องทำให้เป็นวาระแห่งชาติ”
ทั้งยังมองว่า กระบวนการซีเอสอาร์ ต้องเกิดจากเนื้อแท้ ไม่ใช่การสร้างภาพ หรือเครื่องมือทางการตลาด เพื่อให้สินค้าขาย ดีหรือหวังกอบโกยแต่เพียงกำไร ตรงกันข้าม จะต้องเป็นความคิดริเริ่มแบ่งปันในสิ่งดีแก่สังคม ซึ่งการยอมรับ หรือยอดขายของ ผลิตภัณฑ์จะเป็นผลพลอยได้
กระนั้น การดำเนินกิจกรรมก็สามารถที่จะสื่อสารประชาสัมพันธ์ได้ สอดคล้องกับหลัก 4 ประการด้านสื่อสารมวลชน คือ การทำหน้าที่ให้ข้อมูลข่าวสาร การให้ความรู้ รณรงค์ให้ผู้คนทำในสิ่งที่ดีมีประโยชน์ และเชิญชวนให้คนในสังคมร่วมกันทำความดี
ทั้งนี้ ผลจากการสำรวจตรวจสอบในภาคเหนือต่อเรื่อง ซีเอสอาร์ พบว่า คนในพื้นที่ต้องการให้มีการร่วมพัฒนาชุมชน และสังคม มากสุดที่ร้อยละ 46 รองลงมา คือ การดูแลรักษา สิ่งแวดล้อม ร้อยละ 26 การประกอบธุรกิจด้วยความเป็นธรรม ร้อยละ 14 และการเคารพสิทธิมนุษยชนและการปฏิบัติต่อแรงงานอย่างเป็นธรรม และการกำกับดูแลกิจการ ร้อยละ 10 และ 4 ตามลำดับ
[Original Link]