PRI: Principles for Responsible Investment
หลักการลงทุนที่รับผิดชอบ (PRI) พัฒนาขึ้นโดยการสนับสนุนของโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติว่าด้วยข้อริเริ่มด้านการเงิน (UNEP-FI) และข้อตกลงโลกแห่งสหประชาชาติ (UNGC) ประกอบด้วย หลัก 6 ประการ ได้แก่
หลักการที่ 1: การผนวกประเด็น ESG เข้าไว้ในการวิเคราะห์และกระบวนการตัดสินใจลงทุน
แนวปฏิบัติ
■ | ระบุถึงประเด็น ESG ในถ้อยแถลงนโยบายลงทุน |
■ | สนับสนุนการพัฒนาเครื่องมือ ตัววัด และการวิเคราะห์ที่เกี่ยวข้องกับ ESG |
■ | ประเมินสมรรถภาพของผู้จัดการลงทุนภายในต่อการผนวกประเด็น ESG |
■ | ประเมินสมรรถภาพของผู้จัดการลงทุนภายนอกต่อการผนวกประเด็น ESG |
■ | สอบถามผู้ให้บริการด้านการลงทุน (อาทิ นักวิเคราะห์การเงิน ที่ปรึกษา นายหน้า บริษัทวิจัย หรือ บริษัทจัดอันดับ) ต่อการผนวกปัจจัย ESG เข้ากับการวิเคราะห์และวิจัยที่สะท้อนพัฒนาการในเรื่องดังกล่าว |
■ | ผลักดันหน่วยงานทางวิชาการหรือหน่วยวิจัยอื่นๆ ในเรื่องที่เกี่ยวกับ ESG |
■ | สนับสนุนการฝึกอบรม ESG สำหรับผู้ประกอบวิชาชีพด้านการลงทุน |
หลักการที่ 2: การใช้สิทธ์ออกเสียงในฐานะผู้ถือครองหลักทรัพย์ และผนวกประเด็น ESG เข้าไว้ในนโยบายและข้อปฏิบัติในการถือครองหลักทรัพย์
แนวปฏิบัติ
■ | จัดทำและเปิดเผยนโยบายการใช้สิทธ์ออกเสียงในฐานะผู้ถือครองหลักทรัพย์ ซึ่งเป็นไปตามหลักการลงทุนที่รับผิดชอบ |
■ | ใช้สิทธิลงคะแนนหรือติดตามการใช้สิทธิลงคะแนนให้เป็นไปตามนโยบาย (ในกรณีที่มอบฉันทะให้บุคคลหรือนิติบุคคลอื่นดำเนินการแทน) |
■ | พัฒนาสมรรถภาพในการสานสัมพันธ์ (ทั้งในกรณีที่ดำเนินการเองโดยตรง หรือผ่านการว่าจ้างหน่วยงานภายนอก) |
■ | มีส่วนร่วมในการพัฒนานโยบาย กฎระเบียบ และการกำหนดมาตรฐาน (เช่น การส่งเสริมและการคุ้มครองสิทธิของผู้ถือหุ้น) |
■ | จัดทำมติของผู้ถือหุ้นที่สอดคล้องกับข้อพิจารณา ESG ระยะยาว |
■ | สานสัมพันธ์กับบริษัท (ที่ลงทุน) ในประเด็น ESG |
■ | มีส่วนร่วมในความริเริ่มที่เป็นการสานสัมพันธ์เชิงกลุ่มแนวร่วม (Collaborative Engagement) |
■ | สอบถามผู้จัดการลงทุนต่อการทำให้มีการสานสัมพันธ์และรายงานผลการสานสัมพันธ์ที่เกี่ยวกับ ESG |
หลักการที่ 3: การเสาะหารายการเปิดเผยข้อมูลในประเด็น ESG อย่างเหมาะสมจากกิจการที่เข้าไปลงทุน
แนวปฏิบัติ
■ | สอบถามถึงการรายงานในประเด็น ESG ที่ได้มาตรฐาน (โดยใช้เครื่องมือ เช่น Global Reporting Initiative) |
■ | สอบถามถึงประเด็น ESG ที่ถูกผนวกเข้าไว้ในรายงานทางการเงินประจำปี |
■ | สอบถามถึงข้อสนเทศของบริษัทที่เกี่ยวกับการรับหรือเข้าร่วมในบรรทัดฐาน มาตรฐาน หลักปฏิบัติ หรือความริเริ่มระหว่างประเทศที่เกี่ยวเนื่อง (เช่น UN Global Compact) |
■ | สนับสนุนความริเริ่มและมติของผู้ถือหุ้นในการส่งเสริมการเปิดเผยข้อมูล ESG |
หลักการที่ 4: การส่งเสริมให้เกิดการรับและนำหลักการลงทุนที่รับผิดชอบไปใช้ในแวดวงการลงทุน
แนวปฏิบัติ
■ | ผนวกข้อกำหนดที่เกี่ยวกับหลักการลงทุนที่รับผิดชอบไว้ในเอกสารเชิญชวนเพื่อยื่นข้อเสนอ (RFPs) |
■ | ปรับแนวการมอบอำนาจเพื่อการลงทุน กระบวนงานติดตาม ตัวบ่งชี้การดำเนินงาน และโครงสร้างสิ่งจูงใจ (เช่น ทำให้แน่ใจว่ากระบวนการจัดการลงทุนสะท้อนกรอบเวลาการลงทุนระยะยาวตามความเหมาะสม) |
■ | สื่อสารความคาดหวังในเรื่อง ESG กับผู้ให้บริการด้านการลงทุน |
■ | พิจารณาปรับลดระดับความสัมพันธ์กับผู้ให้บริการที่ยังไม่สามารถสนองต่อความคาดหวังในเรื่อง ESG |
■ | สนับสนุนการพัฒนาเครื่องมือสำหรับการเปรียบเทียบสมรรถนะการบูรณาการในเรื่อง ESG |
■ | สนับสนุนการพัฒนานโยบายหรือกฎระเบียบที่เอื้อต่อการนำหลักการลงทุนที่รับผิดชอบไปปฏิบัติ |
หลักการที่ 5: การทำงานร่วมกันเพื่อขยายประสิทธิผลของการนำหลักการลงทุนที่รับผิดชอบไปปฏิบัติ
แนวปฏิบัติ
■ | สนับสนุน/มีส่วนร่วมในแพลตฟอร์มด้านข้อมูลและเครือข่ายเพื่อแบ่งปันเครื่องมือ ใช้ทรัพยากรร่วมกัน และใช้ประโยชน์จากการรายงานด้านการลงทุน เป็นแหล่งเรียนรู้ |
■ | ให้ความสนใจในประเด็น (ESG) เกิดใหม่ที่เกี่ยวข้องร่วมกัน |
■ | พัฒนาหรือสนับสนุนความริเริ่มแบบกลุ่มแนวร่วมอย่างเหมาะสม |
หลักการที่ 6: การรายงานกิจกรรมและความก้าวหน้าในการนำหลักการลงทุนที่รับผิดชอบไปปฏิบัติในรายกิจการ
แนวปฏิบัติ
■ | เปิดเผยถึงวิธีการผนวกประเด็น ESG เข้าไว้ในข้อปฏิบัติด้านการลงทุน |
■ | เปิดเผยถึงกิจกรรมการใช้สิทธ์ออกเสียงในฐานะผู้ถือครองหลักทรัพย์ (การลงคะแนน การสานสัมพันธ์ และ/หรือ การหารือระดับนโยบาย) |
■ | เปิดเผยถึงข้อกำหนดที่มีต่อผู้ให้บริการในส่วนที่เกี่ยวโยงกับหลักการลงทุนที่รับผิดชอบ |
■ | สื่อสารกับผู้รับประโยชน์เกี่ยวกับประเด็น ESG และหลักการลงทุนที่รับผิดชอบ |
■ | รายงานความก้าวหน้า และ/หรือผลสัมฤทธิ์ที่เกี่ยวโยงกับหลักการลงทุนที่รับผิดชอบตามแนวทาง ‘Comply or Explain’ (เป็นการให้รายละเอียดถึงวิธีที่นำหลักการไปปฏิบัติ หรือให้คำอธิบายชี้แจงในกรณีที่ไม่สามารถปฏิบัติได้ตามหลักการในข้อใดข้อหนึ่ง) |
■ | แสวงหาวิธีกำหนดผลกระทบที่เกิดขึ้นจากหลักการลงทุนที่รับผิดชอบ |
■ | ใช้ประโยชน์จากการรายงานในการยกระดับการรับรู้ในหมู่ผู้มีส่วนได้เสียในวงกว้าง |
ปัจจุบัน มีหน่วยงานในภาคการเงินที่รับหลักการลงทุนที่รับผิดชอบ ไปใช้แล้วจำนวนกว่า 4,000 แห่ง โดยมีขนาดสินทรัพย์ภายใต้การบริหาร (AUM) รวมกันราว 121 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ*
--------------------------------------
* ข้อมูล ณ วันที่ 13 กรกฎาคม 2564