หนังสือเด่น
หนังสือเด่น |
สถาบันไทยพัฒน์ ทำการจัดพิมพ์และเผยแพร่หนังสือในแบบที่เป็นทั้งรูปเล่ม และ e-book ในหัวเรื่องซึ่งอยู่ในกระแสความเคลื่อนไหว หรือที่ได้รับความสนใจจากองค์กร ในด้านการดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคม และด้านการพัฒนาความยั่งยืนของกิจการ เป็นระยะๆ ตามห้วงเวลาที่เหมาะสม
องค์กรธุรกิจหรือหน่วยงานที่ต้องการให้สถาบันไทยพัฒน์ ประมวลเนื้อหาที่เกี่ยวกับการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและด้านความยั่งยืน ที่คาดว่าจะเป็นประโยชน์ต่อกิจการ เรียบเรียงเป็นหนังสือ สามารถส่งข้อแนะนำและความเห็นมาได้ที่ คุณจินตนา จันสน อีเมล info@thaipat.org
6 ทิศทาง CSR ปี 2566
สถาบันไทยพัฒน์ ได้ทำการประมวลทิศทางความรับผิดชอบต่อสังคมและการพัฒนาความยั่งยืนของกิจการ ประจำปี 2566 ภายใต้รายงานที่มีชื่อว่า 6 ทิศทาง CSR ปี 2566: LEAN • CLEAN • GREEN’ ความหนา 28 หน้า สำหรับหน่วยงานและองค์กรธุรกิจสามารถนำไปเป็นปัจจัยนำเข้า และใช้เป็นข้อมูลในการพัฒนากลยุทธ์การดำเนินงานด้านความยั่งยืน โดยมี ESG เป็นกรอบในการขับเคลื่อนตามบริบทที่เหมาะสมของแต่ละกิจการให้มีความครอบคลุมอย่างรอบด้าน
The State of Corporate Sustainability in 2022
สถาบันไทยพัฒน์ ได้ทำการสำรวจข้อมูลสถานภาพความยั่งยืนของกิจการ ประจำปี 2565 จัดทำเป็นรายงานชื่อว่า “The State of Corporate Sustainability in 2022" ความหนา 122 หน้า เพื่อนำเสนอทิศทางและกระแสนิยมของการเปิดเผยข้อมูล ESG ขององค์กร รวมถึงการวิเคราะห์สถานภาพการพัฒนาความยั่งยืนของกิจการ โดยสำรวจจากองค์กรที่มีการเปิดเผยข้อมูลความยั่งยืน ทั้งสิ้น 854 ราย
มรรค 8 CSR: ทางสายกิจการ
สถาบันไทยพัฒน์ ได้จัดทำหนังสือครบรอบ 20 ปีสถาบัน ชื่อ มรรค 8 CSR: ทางสายกิจการ ความหนา 45 หน้า เกิดจากการประมวลข้อคำถามที่ได้รับในระหว่างการทำงานตลอด 20 ปี ซึ่งมักจะวนเวียนอยู่ที่ CSR คืออะไร (What) ใครเป็นคนทำ (Who) ทำอย่างไร (How) ทำไมต้องทำ (Why) ต้องทำเมื่อไร (When) แบบไหนถึงจะดี (Which) ควรเน้นที่ไหน (Where) และทำแล้วผลเป็นของใคร (Whose) โดยน่าจะเป็นประโยชน์กับองค์กรที่มีข้อคำถามเหล่านี้เช่นกัน
Resilient Enterprise Guidebook
สถาบันไทยพัฒน์ จัดทำหนังสือคู่มือนำทางสร้างองค์กรพร้อมผัน “Resilient Enterprise Guidebook” ฉบับพิมพ์ครั้งที่สอง ความหนา 58 หน้า แนวทางการปรับองค์กรให้มีภาวะพร้อมผัน (Resilience) ด้วยการนำข้อปฏิบัติทางธุรกิจด้านวัฒนธรรมสุขภาพ (Culture of Health Business Practices) มาเป็นปัจจัยนำเข้าสำหรับการจัดวางกลยุทธ์องค์กรให้รองรับการขับเคลื่อนธุรกิจวิถีปกติใหม่ และการเป็นองค์กรพร้อมผันในทุกสถานการณ์