Why CSR-in-process?
Rational | Assessment | Implementation | Accreditation |
ความรับผิดชอบต่อสังคมของกิจการ หรือ CSR ที่สร้างคุณค่าหรือผลกระทบสูงต่อสังคม เกิดจากการที่องค์กรสามารถผนวกเรื่องดังกล่าว เข้าไว้ในการดำเนินงานที่ทุกส่วนงานในองค์กรมีส่วนร่วมผ่านทางการปฏิบัติหน้าที่อย่างรับผิดชอบของตนเอง และเป็นผลจากการทำงานอย่างบูรณาการของแหล่งดำเนินงาน แผนก / ส่วนงาน หรือกระบวนการหลักของธุรกิจอย่างเป็นเอกภาพ
การตีความเรื่องการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของพนักงานต่อเรื่อง CSR ไปในทางที่วัดผลด้วยการมีส่วนร่วมในกิจกรรมเพื่อสังคมซึ่งเป็น CSR ที่อยู่นอกกระบวนงานหรือที่ไปทำนอกเวลางาน (CSR-after-process) โดยนับเป็นความสำเร็จที่สามารถขยายการมีส่วนร่วมจากบุคลากรเฉพาะฝ่ายหรือแผนก CSR ไปสู่บุคลากรในฝ่ายหรือแผนกอื่นๆ ถือว่าไม่ตรงจุด
การมีส่วนร่วมผ่านทางการปฏิบัติหน้าที่อย่างรับผิดชอบ คือ การส่งเสริมให้เกิดความรับผิดชอบต่อสังคมในกระบวนงาน ในแหล่งดำเนินงาน และในกระบวนการหลักของธุรกิจ (CSR-in-process) จึงจะตอบโจทย์เรื่องผลกระทบและการสร้างคุณค่าจากการดำเนินธุรกิจปกติได้อย่างตรงจุด
ตัวอย่างผลกระทบจากการประหยัดพลังงานของบริษัทที่สำนักงานใหญ่ ซึ่งได้รับรางวัลดีเด่น ไม่ได้มีนัยสำคัญในการดำเนินงานของบริษัท หากสาขาหรือโรงงานที่ประกอบการอยู่ทั่วประเทศ จำนวนนับร้อยนับพันแห่ง มิได้ดำเนินการด้วย
ตัวอย่างผลกระทบจากการลดปริมาณของเสียในกระบวนการผลิต ไม่ได้เป็นสาระสำคัญของการดำเนินงาน หากกระบวนการผลิตดังกล่าวยังส่งเสริมให้เกิดการทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างมหาศาล
ตัวอย่างผลกระทบจากการดำเนินโครงการหรือกิจกรรมที่ช่วยพัฒนาสังคมของบริษัท ไม่ได้มีน้ำหนักความสำคัญต่อการดำเนินงาน หากบริษัทยังคงจำหน่ายสินค้าหรือให้บริการในสิ่งที่เป็นโทษแก่สังคมอยู่ในกระบวนการหลักของธุรกิจ
สัดส่วนของแหล่งดำเนินงาน แผนก / ส่วนงาน หรือกระบวนการหลักของธุรกิจ ที่เกี่ยวข้องกับดำเนินงาน CSR ของบริษัท ถือเป็นตัวบ่งชี้ที่สำคัญในการประเมินระดับของการสร้างคุณค่าหรือผลกระทบต่อสังคม ตามหลักแห่งความเป็นจริง เมื่อมีการกระทำเกิดขึ้น ย่อมมีผลของการกระทำนั้นติดตามมา การกระทำใดที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมไม่สามารถลบล้างผลด้วยการกระทำอีกอย่างหนึ่ง ทำได้เพียงแก้ไขหรือเยียวยาผลที่เกิดจากการกระทำนั้น แต่สำหรับการกระทำใดที่ยังไม่เกิดขึ้น สามารถระงับหรือยกเลิกเพื่อมิให้เกิดผลจากการกระทำนั้นได้
จากหลักความจริงข้อนี้ ธุรกิจไม่สามารถดำเนินงาน CSR เพื่อลบล้างผลกระทบทางลบที่เกิดขึ้นจากกระบวนการธุรกิจ แต่ทำได้โดยการแก้ไขเยียวยาผู้มีส่วนได้เสียที่ได้รับผลกระทบโดยตรงเหล่านั้น (การเลือกทำ CSR กับผู้มีส่วนได้เสียกลุ่มอื่น ถือว่าไม่ตรงจุด) หรือทำได้ด้วยการปรับเปลี่ยนกระบวนการธุรกิจเพื่อลดหรือป้องกันมิให้ผลกระทบนั้นเกิดขึ้นอีกในอนาคต (การเลือกทำ CSR ในเรื่องอื่น ถือว่าไม่ตรงจุดเช่นกัน)
บริษัทที่ตระหนักในหลักความจริงข้อนี้ จึงสามารถออกแบบให้การดำเนินงาน CSR ขององค์กรสร้างคุณค่าหรือผลกระทบสูงต่อสังคม ด้วยการให้ความสำคัญที่กระบวนการหลักของธุรกิจ มากกว่าโครงการหรือกิจกรรมที่พัฒนาขึ้นแยกต่างหากจากกระบวนการหลักของธุรกิจ และให้น้ำหนักกับการผนวกเรื่อง CSR เข้ากับการดำเนินงานทั่วทั้งองค์กร มากกว่าการมอบหมายให้เฉพาะแผนกหรือส่วนงานใดส่วนงานหนึ่งไปดำเนินการ หรือเลือกดำเนินการเฉพาะแหล่งดำเนินงานบางแห่งในลักษณะ Show Case เท่านั้น
การตีความเรื่องการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของพนักงานต่อเรื่อง CSR ไปในทางที่วัดผลด้วยการมีส่วนร่วมในกิจกรรมเพื่อสังคมซึ่งเป็น CSR ที่อยู่นอกกระบวนงานหรือที่ไปทำนอกเวลางาน (CSR-after-process) โดยนับเป็นความสำเร็จที่สามารถขยายการมีส่วนร่วมจากบุคลากรเฉพาะฝ่ายหรือแผนก CSR ไปสู่บุคลากรในฝ่ายหรือแผนกอื่นๆ ถือว่าไม่ตรงจุด
การมีส่วนร่วมผ่านทางการปฏิบัติหน้าที่อย่างรับผิดชอบ คือ การส่งเสริมให้เกิดความรับผิดชอบต่อสังคมในกระบวนงาน ในแหล่งดำเนินงาน และในกระบวนการหลักของธุรกิจ (CSR-in-process) จึงจะตอบโจทย์เรื่องผลกระทบและการสร้างคุณค่าจากการดำเนินธุรกิจปกติได้อย่างตรงจุด
ตัวอย่างผลกระทบจากการประหยัดพลังงานของบริษัทที่สำนักงานใหญ่ ซึ่งได้รับรางวัลดีเด่น ไม่ได้มีนัยสำคัญในการดำเนินงานของบริษัท หากสาขาหรือโรงงานที่ประกอบการอยู่ทั่วประเทศ จำนวนนับร้อยนับพันแห่ง มิได้ดำเนินการด้วย
ตัวอย่างผลกระทบจากการลดปริมาณของเสียในกระบวนการผลิต ไม่ได้เป็นสาระสำคัญของการดำเนินงาน หากกระบวนการผลิตดังกล่าวยังส่งเสริมให้เกิดการทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างมหาศาล
ตัวอย่างผลกระทบจากการดำเนินโครงการหรือกิจกรรมที่ช่วยพัฒนาสังคมของบริษัท ไม่ได้มีน้ำหนักความสำคัญต่อการดำเนินงาน หากบริษัทยังคงจำหน่ายสินค้าหรือให้บริการในสิ่งที่เป็นโทษแก่สังคมอยู่ในกระบวนการหลักของธุรกิจ
สัดส่วนของแหล่งดำเนินงาน แผนก / ส่วนงาน หรือกระบวนการหลักของธุรกิจ ที่เกี่ยวข้องกับดำเนินงาน CSR ของบริษัท ถือเป็นตัวบ่งชี้ที่สำคัญในการประเมินระดับของการสร้างคุณค่าหรือผลกระทบต่อสังคม ตามหลักแห่งความเป็นจริง เมื่อมีการกระทำเกิดขึ้น ย่อมมีผลของการกระทำนั้นติดตามมา การกระทำใดที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมไม่สามารถลบล้างผลด้วยการกระทำอีกอย่างหนึ่ง ทำได้เพียงแก้ไขหรือเยียวยาผลที่เกิดจากการกระทำนั้น แต่สำหรับการกระทำใดที่ยังไม่เกิดขึ้น สามารถระงับหรือยกเลิกเพื่อมิให้เกิดผลจากการกระทำนั้นได้
จากหลักความจริงข้อนี้ ธุรกิจไม่สามารถดำเนินงาน CSR เพื่อลบล้างผลกระทบทางลบที่เกิดขึ้นจากกระบวนการธุรกิจ แต่ทำได้โดยการแก้ไขเยียวยาผู้มีส่วนได้เสียที่ได้รับผลกระทบโดยตรงเหล่านั้น (การเลือกทำ CSR กับผู้มีส่วนได้เสียกลุ่มอื่น ถือว่าไม่ตรงจุด) หรือทำได้ด้วยการปรับเปลี่ยนกระบวนการธุรกิจเพื่อลดหรือป้องกันมิให้ผลกระทบนั้นเกิดขึ้นอีกในอนาคต (การเลือกทำ CSR ในเรื่องอื่น ถือว่าไม่ตรงจุดเช่นกัน)
บริษัทที่ตระหนักในหลักความจริงข้อนี้ จึงสามารถออกแบบให้การดำเนินงาน CSR ขององค์กรสร้างคุณค่าหรือผลกระทบสูงต่อสังคม ด้วยการให้ความสำคัญที่กระบวนการหลักของธุรกิจ มากกว่าโครงการหรือกิจกรรมที่พัฒนาขึ้นแยกต่างหากจากกระบวนการหลักของธุรกิจ และให้น้ำหนักกับการผนวกเรื่อง CSR เข้ากับการดำเนินงานทั่วทั้งองค์กร มากกว่าการมอบหมายให้เฉพาะแผนกหรือส่วนงานใดส่วนงานหนึ่งไปดำเนินการ หรือเลือกดำเนินการเฉพาะแหล่งดำเนินงานบางแห่งในลักษณะ Show Case เท่านั้น