Thaipat Institute

GRI Certified Training Partner นับตั้งแต่ปี พ.ศ.2556

รู้จัก    CG   ¦   ESG   ¦   CSR   ¦   CSV   ¦   SD   ¦   SE   ¦   SB

CSR-in-process Accreditation

การรับรองระบบงาน

Rational    Assessment    Implementation    Accreditation

สถาบันไทยพัฒน์ได้พัฒนาเครื่องมือการรับรองระบบงานความรับผิดชอบต่อสังคม หรือ CSR Accreditation ตามแนวทางในมาตรฐาน ISO 26000 โดยนำการดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคมขั้นพื้นฐาน (บทที่ 5) และการบูรณาการความรับผิดชอบต่อสังคมทั่วทั้งองค์กร (บทที่ 7) มาใช้เป็นแนวทางอ้างอิงสำหรับการรับรองระบบงาน (Accreditation) ตามขีดความสามารถขององค์กรในการวางระบบงาน (Organizational Maturity) เป็น 5 ระดับ ดังนี้


เกณฑ์การรับรองระบบงานความรับผิดชอบต่อสังคม

ในระดับที่ 1 องค์กรควรดำเนินตามแนวทางการดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคมขั้นพื้นฐานในหัวข้อ 5.2 และ 5.3 ได้อย่างครบถ้วน (Fully Followed) มีการพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะเฉพาะขององค์กรกับความรับผิดชอบต่อสังคม และการทำความเข้าใจกับความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรตามข้อแนะนำในมาตรฐาน ISO26000 หัวข้อ 7.2 และ 7.3 ให้แก่พนักงานได้เป็นส่วนใหญ่ (Largely Followed) มีการบูรณาการความรับผิดชอบต่อสังคมทั่วทั้งองค์กร และการสื่อสารเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมได้ตามแนวทางที่ระบุไว้ในหัวข้อ 7.4 และ 7.5 รวมทั้งการเข้าร่วมในความริเริ่มภาคสมัครใจด้านความรับผิดชอบต่อสังคมตามข้อพิจารณาในหัวข้อ 7.8 ได้เป็นบางส่วน (Partially Followed)

ในระดับที่ 2 องค์กรควรเพิ่มการพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะเฉพาะขององค์กรกับความรับผิดชอบต่อสังคม และการทำความเข้าใจกับความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรตามหัวข้อ 7.2 และ 7.3 ให้ได้ครบถ้วน (Fully Followed) ในระดับเดียวกับการดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคมขั้นพื้นฐานในหัวข้อ 5.2 และ 5.3 ควรขยายการบูรณาการความรับผิดชอบต่อสังคมทั่วทั้งองค์กร และการสื่อสารเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมในหัวข้อ 7.4 และ 7.5 จากที่ได้ดำเนินการในบางส่วน เป็นให้ได้ในส่วนใหญ่ (Largely Followed) และควรให้มีการเพิ่มความน่าเชื่อถือด้านความรับผิดชอบต่อสังคม การทบทวนและปรับปรุงข้อปฏิบัติขององค์กรด้านความรับผิดชอบต่อสังคมในหัวข้อ 7.6 และ 7.7 ให้ได้เป็นบางส่วน (Partially Followed) เช่นเดียวกับการเข้าร่วมในความริเริ่มภาคสมัครใจด้านความรับผิดชอบต่อสังคมตามหัวข้อ 7.8

ในระดับที่ 3 องค์กรควรยกระดับการบูรณาการความรับผิดชอบต่อสังคมทั่วทั้งองค์กร และการสื่อสารเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมตามข้อแนะนำในมาตรฐาน ISO26000 ในหัวข้อ 7.4 และ 7.5 ให้ได้อย่างครบถ้วน (Fully Followed) เช่นเดียวกับการพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะเฉพาะขององค์กรกับความรับผิดชอบต่อสังคมในหัวข้อ 7.2 การทำความเข้าใจกับความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรในหัวข้อ 7.3 และการดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคมขั้นพื้นฐานในหัวข้อ 5.2 และ 5.3 มีการเพิ่มความน่าเชื่อถือด้านความรับผิดชอบต่อสังคม การทบทวนและปรับปรุงข้อปฏิบัติขององค์กรด้านความรับผิดชอบต่อสังคมในหัวข้อ 7.6 และ 7.7 รวมทั้งการเข้าร่วมในความริเริ่มภาคสมัครใจด้านความรับผิดชอบต่อสังคมในหัวข้อ 7.8 จากที่ได้ดำเนินการในบางส่วน เป็นให้ได้ในส่วนใหญ่ (Largely Followed)

ในระดับที่ 4 องค์กรควรมีการเพิ่มความน่าเชื่อถือด้านความรับผิดชอบต่อสังคม การทบทวนและปรับปรุงข้อปฏิบัติขององค์กรด้านความรับผิดชอบต่อสังคมในหัวข้อ 7.6 และ 7.7 ให้ได้อย่างครบถ้วน (Fully Followed) เช่นเดียวกับการบูรณาการความรับผิดชอบต่อสังคมทั่วทั้งองค์กรในหัวข้อ 7.4 การสื่อสารเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมในหัวข้อ 7.5 การพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะเฉพาะขององค์กรกับความรับผิดชอบต่อสังคมในหัวข้อ 7.2 การทำความเข้าใจกับความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรในหัวข้อ 7.3 และการดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคมขั้นพื้นฐานในหัวข้อ 5.2 และ 5.3 โดยยังคงการเข้าร่วมในความริเริ่มภาคสมัครใจด้านความรับผิดชอบต่อสังคมในหัวข้อ 7.8 ได้ในส่วนใหญ่ (Largely Followed)

ในระดับที่ 5 องค์กรควรมีการดำเนินตามแนวทางความรับผิดชอบต่อสังคมให้ได้ครบถ้วน (Fully Followed) ในทุกหัวข้อ ตั้งแต่การดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคมขั้นพื้นฐานในหัวข้อ 5.2 และ 5.3 การพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะเฉพาะขององค์กรกับความรับผิดชอบต่อสังคมในหัวข้อ 7.2 การทำความเข้าใจกับความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรในหัวข้อ 7.3 การบูรณาการความรับผิดชอบต่อสังคมทั่วทั้งองค์กรในหัวข้อ 7.4 การสื่อสารเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมในหัวข้อ 7.5 การเพิ่มความน่าเชื่อถือด้านความรับผิดชอบต่อสังคมในหัวข้อ 7.6 การทบทวนและปรับปรุงข้อปฏิบัติขององค์กรด้านความรับผิดชอบต่อสังคมในหัวข้อ 7.7 และการเข้าร่วมในความริเริ่มภาคสมัครใจด้านความรับผิดชอบต่อสังคมในหัวข้อ 7.8

หน่วยงานหรือองค์กรธุรกิจที่มีการดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคมในกระบวนการ หรือ CSR-in-process และต้องการทราบสถานะการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคม พร้อมรับการประเมินเพื่อให้ได้รับการรับรองระบบงาน (Accreditation) สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คุณฌานสิทธิ์ ยอดพฤติการณ์ อีเมล info@thaipat.org