Thaipat Institute

GRI Certified Training Partner นับตั้งแต่ปี พ.ศ.2556

รู้จัก    CG   ¦   ESG   ¦   CSR   ¦   CSV   ¦   SD   ¦   SE   ¦   SB

ร้านความยั่งยืน

Home    S-Framework    S-Score    S-Report    S-Value    S-Impact


นับจากที่สถาบันไทยพัฒน์ ดำรงบทบาทหน้าที่ในการส่งเสริมความยั่งยืนของกิจการ และการดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคมผ่านการวิจัย (Research) การฝึกอบรม (Training) และการให้คำปรึกษา (Consulting) แก่ภาคเอกชน ตั้งแต่ปี พ.ศ.2544

ผลลัพธ์จากงานวิจัยชิ้นหนึ่ง ในปี พ.ศ.2548 ภายใต้โครงการวิจัยเชิงปฏิบัติการเรื่องการพัฒนา CSR ในกระบวนการบริหารจัดการองค์กรธุรกิจ เพื่อศึกษาคุณลักษณะและองค์ประกอบของ CSR ที่สอดคล้องกับบริบทของสังคมไทยและพัฒนาบนพื้นฐานของภูมิปัญญาตะวันออก ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ได้ก่อให้เกิดคำว่า “CSR-in-process” ขึ้นเป็นครั้งแรก

ปัจจุบัน คำว่า “CSR-in-process” ได้ถูกใช้อย่างแพร่หลาย เพื่อแสดงให้เห็นถึงการดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคมที่อยู่ในกระบวนการธุรกิจ โดยคำนึงถึงผลกระทบทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม จากการประกอบการอย่างรับผิดชอบ รวมทั้งการสร้างคุณค่าให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกองค์กร ที่มีความสำคัญเหนือกว่าการพัฒนาโครงการหรือกิจกรรมเพื่อสังคมที่อยู่นอกกระบวนการธุรกิจ และเกิดขึ้นภายหลังจากการดำเนินงานหลักของกิจการ หรือที่เรียกว่า “CSR-after-process”

ในปี พ.ศ.2561 สถาบันไทยพัฒน์ ได้เปิดการเดินทางบทใหม่ของการพัฒนาที่ยั่งยืน ด้วยการนำเสนอ “มณฑลแห่งความยั่งยืน” หรือ Sphere of Sustainability ที่เป็นการประมวลแนวทางในการเสริมสร้างความยั่งยืนของกิจการ โดยบูรณาการแนวคิดสำคัญในด้านการกำกับดูแลกิจการ (CG) เรื่องสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) ความรับผิดชอบต่อสังคมของกิจการ (CSR) การสร้างคุณค่าร่วม (CSV) การพัฒนาที่ยั่งยืน (SD) วิสาหกิจเพื่อสังคม (SE) และธุรกิจเพื่อสังคม (SB) เพื่อใช้เป็นพิมพ์เขียวสำหรับพัฒนาวิธีการดำเนินงานอันนำมาซึ่งความยั่งยืนของกิจการและสังคมโดยรวม (ดูรายละเอียดได้จากหนังสือ “มณฑลแห่งความยั่งยืน: The Sphere of Sustainability”)


เพื่อเป็นการสนับสนุนองค์กรธุรกิจให้สามารถพัฒนาวิธีการดำเนินงานภายใต้เส้นทางดังกล่าวอย่างเป็นระบบ สถาบันไทยพัฒน์ ได้นำเครื่องมือและประสบการณ์ที่ได้มีส่วนในการขับเคลื่อนการพัฒนาที่ยั่งยืนร่วมกับองค์กรธุรกิจนานกว่า 19 ปี มาบรรจุไว้ใน 3 หมวดบริการหลัก ภายใต้ร้านความยั่งยืน (Sustainability Store) ได้แก่ การจัดทำกรอบความยั่งยืน (S-Framework) การประเมินระดับความยั่งยืน (S-Score) และการวางกระบวนการเพื่อให้ได้มาซึ่งรายงานความยั่งยืน (S-Report)

และในปี 2562 สถาบันไทยพัฒน์ ได้เปิดอีก 2 บริการใหม่ ได้แก่ การสร้างคุณค่าแห่งความยั่งยืน (S-Value) และการสร้างผลกระทบแห่งความยั่งยืน (S-Impact) เพื่อให้ได้มาซึ่งผลลัพธ์จากการขับเคลื่อนเรื่องความยั่งยืนของกิจการ ในรูปของการวัดผลตอบแทนจากความยั่งยืน หรือ Return on Sustainability

บริการ S-Value เหมาะสำหรับการวัดผลได้ภายใน (Internal Benefit) ที่เกิดขึ้นกับองค์กร ขณะที่ S-Impact เหมาะสำหรับการวัดผลได้ภายนอก (External Benefit) ที่เกิดขึ้นกับสังคมหรือผู้มีส่วนได้เสียกลุ่มที่เป็นเป้าหมาย

องค์กรธุรกิจที่นำเครื่องมือทั้งสองมาใช้ควบคู่ไปพร้อมกัน จะได้ทั้งคุณค่าภายในและผลกระทบภายนอก ในรูปของผลได้รวม (Total Benefit) จากการขับเคลื่อนเรื่องความยั่งยืนได้อย่างรอบด้าน

หน่วยงานหรือองค์กรธุรกิจที่สนใจบริการในร้านความยั่งยืน สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คุณฌานสิทธิ์ ยอดพฤติการณ์ อีเมล info@thaipat.org

 



ข่าวประชาสัมพันธ์
ไทยพัฒน์ ชู 2 เครื่องมือใหม่ ผ่านสโตร์ความยั่งยืน
ช่วยภาคธุรกิจสร้าง Return on Sustainability ที่วัดผลได้
ไทยพัฒน์ เปิดสโตร์ความยั่งยืน ตอบโจทย์ บจ. น้ำดี
ชี้ช่องการพัฒนาบทบาทธุรกิจที่สังคมยอมรับ

ข่าวและบทความที่เกี่ยวข้อง
Sustainability Store ยกระดับธุรกิจไทยสู่ความยั่งยืน (ประชาชาติธุรกิจ)
ไทยพัฒน์ เปิดสโตร์ความยั่งยืน ตอบโจทย์ บจ. น้ำดี.. (นิตยสาร MBA)
ไทยพัฒน์ฯ จัดทัพใหม่ เปิด Sustainability Store.. (SD Thailand)
เส้นทาง CSR ของจริง ปิดภาพลบส่งแบรนด์ยั่งยืน (กรุงเทพธุรกิจ)
เปิดสโตร์ความยั่งยืน ตอบโจทย์ บจ. น้ำดี (ผู้จัดการออนไลน์)
เปิดร้านค้าความยั่งยืน ตอบโจทย์ธุรกิจ (กรุงเทพธุรกิจ)
การวัดผลตอบแทนจากความยั่งยืน (กรุงเทพธุรกิจ)
..เครื่องมือ Return on Sustainability ที่วัดผลได้ (SD Perspectives)
ความยั่งยืนที่วัดผลได้ ธุรกิจโต+สังคมไปดี (ผู้จัดการออนไลน์)
ไทยพัฒน์ ชู 2 เครื่องมือใหม่ ผ่านสโตร์ความยั่งยืน.. (นิตยสาร MBA)
ไทยพัฒน์ฯ ชูสโตร์ความยั่งยืน (กรุงเทพธุรกิจ)
Value x Impact พลังสร้างความยั่งยืนสู่กิจการ (ประชาชาติธุรกิจ)
“คุณค่า” กับ “ความยั่งยืน” (กรุงเทพธุรกิจ)
ผลกระทบกับความยั่งยืน (กรุงเทพธุรกิจ)