Scope: ขอบเขตการพัฒนาความยั่งยืนของรัฐวิสาหกิจ
สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) ได้มีการปรับปรุงกรอบการประเมินผลการดำเนินงานรัฐวิสาหกิจ ตามระบบประเมินผลรัฐวิสาหกิจ State Enterprise Assessment Model : SE-AM และหลักเกณฑ์การประเมินกระบวนการปฏิบัติงานและการจัดการ (Core Business Enablers) ของรัฐวิสาหกิจ โดยได้เพิ่มเติมประเด็นของการจัดการสมัยใหม่และอัปเดตให้เป็นปัจจุบัน และได้นำมาใช้ในการประเมินผลรัฐวิสาหกิจ นับตั้งแต่ปี 2563
หนึ่งในวัตถุประสงค์หลักของการประเมินผลการกำกับดูแลที่ดีและการนำองค์กรของรัฐวิสาหกิจ เพื่อให้รัฐวิสาหกิจมีแนวทางการดำเนินงานด้านพัฒนาความยั่งยืนที่ชัดเจน รวมถึงมีองค์ประกอบและสาระสำคัญ/กรอบการดำเนินงานตามมาตรฐาน/แนวปฏิบัติที่ดีที่เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป เช่น หลักการพัฒนาความยั่งยืนโดยยึดกรอบด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม หรือยึดกรอบด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (Environmental, Social and Governance: ESG) เป็นต้น พร้อมจัดทำรายงานความยั่งยืนตามแนวทางสากลอย่างเป็นมาตรฐาน เช่น Global Reporting Initiative (GRI) เป็นต้น
สถาบันไทยพัฒน์1 ในฐานะองค์กรสาธารณประโยชน์ ที่มุ่งเน้นงานส่งเสริมความยั่งยืนของกิจการ และขับเคลื่อนเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมของกิจการ ด้วยการวิจัย การฝึกอบรม และการให้คำปรึกษาให้แก่หน่วยงานต่าง ๆ ภายใต้บริบทของการพัฒนาที่ยั่งยืน มาเป็นเวลากว่า 20 ปี ได้พัฒนาแนวทางการให้คำปรึกษารัฐวิสาหกิจตามหลักมาตรฐานการพัฒนาความยั่งยืนในระดับองค์กร (Organizational Sustainable Development) โดยให้ความสำคัญกับลักษณะเฉพาะของรัฐวิสาหกิจแต่ละแห่ง อาทิ
ขอบเขตงานที่สถาบันไทยพัฒน์ให้บริการ ครอบคลุมระบบประเมินผล Enablers ใหม่ ประกอบด้วย การพัฒนาความยั่งยืนเชิงยุทธศาสตร์ และการจัดทำรายงานการพัฒนาความยั่งยืน เพื่อทำให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและสังคมโดยรวมรับรู้ และมีส่วนร่วมสนับสนุนการพัฒนาความยั่งยืนของรัฐวิสาหกิจ ให้สามารถสร้างการเติบโตที่สมดุลระหว่างรัฐวิสาหกิจ เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมได้อย่างเป็นรูปธรรม
--------------------------------------
1 ขึ้นทะเบียนที่ปรึกษาในนามมูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ในศูนย์ข้อมูลที่ปรึกษา สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ กระทรวงการคลัง ประเภทนิติบุคคล เลขที่ 4029.
หนึ่งในวัตถุประสงค์หลักของการประเมินผลการกำกับดูแลที่ดีและการนำองค์กรของรัฐวิสาหกิจ เพื่อให้รัฐวิสาหกิจมีแนวทางการดำเนินงานด้านพัฒนาความยั่งยืนที่ชัดเจน รวมถึงมีองค์ประกอบและสาระสำคัญ/กรอบการดำเนินงานตามมาตรฐาน/แนวปฏิบัติที่ดีที่เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป เช่น หลักการพัฒนาความยั่งยืนโดยยึดกรอบด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม หรือยึดกรอบด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (Environmental, Social and Governance: ESG) เป็นต้น พร้อมจัดทำรายงานความยั่งยืนตามแนวทางสากลอย่างเป็นมาตรฐาน เช่น Global Reporting Initiative (GRI) เป็นต้น
สถาบันไทยพัฒน์1 ในฐานะองค์กรสาธารณประโยชน์ ที่มุ่งเน้นงานส่งเสริมความยั่งยืนของกิจการ และขับเคลื่อนเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมของกิจการ ด้วยการวิจัย การฝึกอบรม และการให้คำปรึกษาให้แก่หน่วยงานต่าง ๆ ภายใต้บริบทของการพัฒนาที่ยั่งยืน มาเป็นเวลากว่า 20 ปี ได้พัฒนาแนวทางการให้คำปรึกษารัฐวิสาหกิจตามหลักมาตรฐานการพัฒนาความยั่งยืนในระดับองค์กร (Organizational Sustainable Development) โดยให้ความสำคัญกับลักษณะเฉพาะของรัฐวิสาหกิจแต่ละแห่ง อาทิ
☑ | ทรัพยากรและความพร้อมของรัฐวิสาหกิจ |
☑ | ปัจจัยความยั่งยืนของรัฐวิสาหกิจที่แตกต่างกันในแต่ละสาขา |
☑ | การให้คำแนะนำการพัฒนาความยั่งยืนเชิงยุทธศาสตร์ตามกรอบ ESG สากล |
☑ | การตอบโจทย์เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ของรัฐวิสาหกิจ |
☑ | ความคุ้มค่าในเนื้องานที่ได้รับ |
ขอบเขตงานที่สถาบันไทยพัฒน์ให้บริการ ครอบคลุมระบบประเมินผล Enablers ใหม่ ประกอบด้วย การพัฒนาความยั่งยืนเชิงยุทธศาสตร์ และการจัดทำรายงานการพัฒนาความยั่งยืน เพื่อทำให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและสังคมโดยรวมรับรู้ และมีส่วนร่วมสนับสนุนการพัฒนาความยั่งยืนของรัฐวิสาหกิจ ให้สามารถสร้างการเติบโตที่สมดุลระหว่างรัฐวิสาหกิจ เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมได้อย่างเป็นรูปธรรม
--------------------------------------
1 ขึ้นทะเบียนที่ปรึกษาในนามมูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ในศูนย์ข้อมูลที่ปรึกษา สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ กระทรวงการคลัง ประเภทนิติบุคคล เลขที่ 4029.