PSI: Principles for Sustainable Insurance
Home | Investment | Insurance | Banking | Services |
การประกันภัยที่ยั่งยืน เป็นแนวทางเชิงกลยุทธ์ ที่ซึ่งกิจกรรมทั้งหมดในห่วงโซ่คุณค่าของการประกันภัย รวมทั้งการปฏิสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้เสีย ดำเนินไปอย่างรับผิดชอบและคำนึงถึงการมองไปข้างหน้า (Forward-looking) ด้วยการระบุ การประเมิน การจัดการ การเฝ้าสังเกตโอกาสและความเสี่ยงที่เกี่ยวโยงกับประเด็นสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG)
การประกันภัยที่ยั่งยืน มุ่งไปที่การลดความเสี่ยง พัฒนาทางเลือกที่เป็นนวัตกรรม ปรับปรุงผลประกอบการทางธุรกิจ และช่วยให้เกิดความยั่งยืนทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม
หลักการประกันภัยที่ยั่งยืน (PSI) จัดทำขึ้นโดยโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติว่าด้วยข้อริเริ่มด้านการเงิน (UNEP-FI) ประกอบด้วย 4 หลักการสำคัญ ได้แก่
หลักการที่ 1: การผนวกประเด็นทางสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล ที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจประกันภัย เข้าไว้ในกระบวนการตัดสินใจ
หลักการที่ 2: การทำงานร่วมกับลูกค้าและหุ้นส่วนทางธุรกิจ ในการยกระดับการรับรู้ที่มีต่อประเด็นทางสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล การจัดการความเสี่ยงภัย และการพัฒนาแนวทางการแก้ปัญหาร่วมกัน
แนวปฏิบัติ
ลูกค้าและผู้ส่งมอบ
ผู้รับประกันภัย ผู้รับประกันภัยต่อ และคนกลาง
ลูกค้าและผู้ส่งมอบ
■ | หารือกับลูกค้าและผู้ส่งมอบถึงผลได้จากการจัดการประเด็น ESG รวมทั้งข้อกำหนดและความคาดหวังของบริษัทที่มีต่อประเด็น ESG |
■ | จัดเตรียมข้อมูลและเครื่องมือ เผื่อสำหรับการช่วยเหลือลูกค้าและผู้ส่งมอบในการจัดการประเด็น ESG |
■ | ผนวกประเด็น ESG เข้ากับกระบวนการประมูลและการคัดเลือกผู้ส่งมอบ |
■ | หนุนเสริมให้ลูกค้าและผู้ส่งมอบเปิดเผยข้อมูลในประเด็น ESG และใช้กรอบการรายงานหรือการเปิดเผยข้อมูลที่เกี่ยวข้อง |
ผู้รับประกันภัย ผู้รับประกันภัยต่อ และคนกลาง
■ | ส่งเสริมให้มีการรับหลักการประกันภัยที่ยั่งยืน |
■ | สนับสนุนให้มีการบรรจุประเด็น ESG ไว้ในการศึกษาวิชาชีพและมาตรฐานจริยธรรมในอุตสาหกรรมประกันภัย |
หลักการที่ 3: การทำงานร่วมกับหน่วยงานของรัฐ หน่วยงานกำกับดูแล และผู้มีส่วนได้เสียหลักอื่นๆ ในการส่งเสริมการดำเนินงานในประเด็นทางสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล อย่างกว้างขวาง
แนวปฏิบัติ
หน่วยงานภาครัฐ หน่วยงานกำกับดูแล และผู้กำหนดนโยบายอื่นๆ
ผู้มีส่วนได้เสียหลักอื่นๆ
หน่วยงานภาครัฐ หน่วยงานกำกับดูแล และผู้กำหนดนโยบายอื่นๆ
■ | สนับสนุนนโยบายการกำกับการประกอบธุรกิจประกันภัย กรอบด้านกฎหมายและการกำกับดูแล ที่เอื้อให้เกิดการลดความเสี่ยงภัย เกิดนวัตกรรม และการจัดการกับประเด็น ESG ได้ดียิ่งขึ้น |
■ | หารือกับหน่วยงานภาครัฐและหน่วยงานกำกับดูแล ต่อการพัฒนาแนวการจัดการความเสี่ยงภัยเชิงบูรณาการ และทางเลือกในการโอนความเสี่ยงภัย |
ผู้มีส่วนได้เสียหลักอื่นๆ
■ | หารือกับองค์การพัฒนาเอกชน และองค์การระหว่างรัฐบาล ในอันที่จะสนับสนุนการพัฒนาที่ยั่งยืน ด้วยการเสนอให้ความช่วยเหลือด้านการจัดการความเสี่ยงภัยและความเชี่ยวชาญด้านการโอนความเสี่ยงภัย |
■ | หารือกับภาคธุรกิจและสมาคมภาคอุตสาหกรรม ในการยกระดับความเข้าใจและการจัดการประเด็น ESG ข้ามสายอุตสาหกรรม และภูมิศาสตร์ |
■ | หารือกับภาคการศึกษาและประชาคมวิทยาศาสตร์ ในอันที่จะส่งเสริมการวิจัยและแผนการศึกษาในประเด็น ESG ในบริบทของธุรกิจประกันภัย |
■ | หารือกับสื่อ เพื่อเสริมสร้างการรับรู้ของประชาชนต่อประเด็น ESG และการจัดการความเสี่ยงภัยที่ดี |
หลักการที่ 4: การแสดงให้เห็นถึงความสำนึกรับผิดชอบและความโปร่งใสในการเปิดเผยความคืบหน้าของการนำหลักการประกันภัยที่ยั่งยืน ไปปฏิบัติแก่สาธารณะอย่างสม่ำเสมอ
แนวปฏิบัติ
■ | ประเมิน วัดผล และติดตามความคืบหน้าในการจัดการประเด็น ESG ของบริษัท และเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวในเชิงรุก ต่อสาธารณะอย่างสม่ำเสมอ |
■ | มีส่วนร่วมในกรอบการรายงานหรือการเปิดเผยข้อมูลที่เกี่ยวข้อง |
■ | หารือกับลูกค้า หน่วยงานกำกับดูแล สถาบันจัดอันดับ และผู้มีส่วนได้เสียอื่นๆ ให้ได้มาซึ่งความเข้าใจร่วมกันในคุณค่าของการเปิดเผยข้อมูลตามหลักการประกันภัยที่ยั่งยืน |
ปัจจุบัน มีหน่วยงานในภาคการเงินที่รับหลักการประกันภัยที่ยั่งยืน ไปใช้แล้วจำนวนกว่า 100 แห่ง รวมผู้รับประกันภัยที่ถือสัดส่วนเบี้ยประกันภัยอยู่เป็นจำนวนร้อยละ 30 ของเบี้ยประกันภัยรวมทั่วโลก และมีขนาดสินทรัพย์ภายใต้การบริหาร (AUM) รวมกันราว 14 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ*
--------------------------------------
* ข้อมูล ณ วันที่ 22 ธันวาคม 2564
กลยุทธ์องค์กร
การจัดการความเสี่ยงภัย และการรับประกันภัย
การพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการ
การจัดการค่าสินไหมทดแทน
การขายและการตลาด
การจัดการลงทุน