รายงาน "6 ทิศทาง CSR ปี 2565"
ปัจจัยความท้าทายใหม่ๆ ในปี 2565 ทั้งปัญหาการเติบโตของเศรษฐกิจโลก ความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างประเทศ เสถียรภาพทางการเมืองในประเทศ ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและปัญหาหนี้สินในภาคครัวเรือนที่เพิ่มขึ้น ล้วนส่งอิทธิพลต่อการเติบโตทางธุรกิจและความก้าวหน้าทางสังคม นอกเหนือจากผลพวงของสถานการณ์โควิดที่ยังส่งผลสืบเนื่องต่อในปีนี้
ภายใต้ปัจจัยดังกล่าว ภาคธุรกิจกำลังเผชิญสถานการณ์ที่ไม่อาจพึ่งพารูปแบบการดำเนินธุรกิจตามปกติ (Business as Usual) ในการเติบโตได้ดังเดิม หลายกิจการที่ได้รับผลกระทบ จำเป็นที่จะต้องมองหาและพัฒนารูปแบบการดำเนินธุรกิจในวิถีปกติใหม่ (Business as New Normal) ที่เอื้อต่อการเติบโตทางธุรกิจในแบบยั่งยืน และสามารถเสริมหนุนการพัฒนาทางสังคมควบคู่ไปพร้อมกัน
สถาบันไทยพัฒน์ ได้พัฒนาแนวคิดในการปรับปรุงพัฒนารูปแบบธุรกิจ ที่เรียกว่า “ธุรกิจที่เป็นบวกต่อสังคม” หรือ Social Positive Business ซึ่งเชื่อว่า จะเป็นองค์ประกอบสำคัญต่อการสร้างผลกระทบต่อสังคมในเชิงบวกไปพร้อมกันกับการเติบโตของธุรกิจ ด้วยการยกระดับจากการให้ความช่วยเหลือแก่สังคมในรูปแบบของการบริจาคเงิน/สินค้า/บริการ ฯลฯ และการเพิ่มระดับการกระจายมูลค่าทางเศรษฐกิจผ่านกิจกรรมทางธุรกิจแก่ผู้มีส่วนได้เสียในห่วงโซ่คุณค่าอย่างเป็นธรรม ไปสู่การใช้ขีดความสามารถหลักทางธุรกิจในการขยายขอบเขตให้ครอบคลุมส่วนตลาดที่ยังมิได้รับการตอบสนอง (Unserved) หรือที่ยังตอบสนองได้ไม่เต็มที่ (Underserved) เพื่อเติมเต็มคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดี เกิดเป็นผลบวกต่อสังคมกลุ่มเป้าหมาย
ในปี 2565 นี้ สิ่งที่จะได้เห็นจากกิจการที่ต้องการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน คือ การใช้ประเด็น ESG เป็นภาษากลางในการสื่อสารกับผู้ลงทุนและผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องกับกิจการ เพื่อแสดงให้เห็นถึงผลกระทบทางบวกต่อสังคม (Social Positive) ที่กิจการได้ดำเนินการ บนบรรทัดฐานที่เห็นพ้องต้องกันตามหลักสากล
สถาบันไทยพัฒน์ ได้ทำการประเมินทิศทางความรับผิดชอบต่อสังคมและการพัฒนาความยั่งยืนของกิจการ ประจำปี 2565 ภายใต้รายงานที่มีชื่อว่า 6 ทิศทาง CSR ปี 2565: From ‘Net Zero’ to ‘Social Positive’ สำหรับหน่วยงานและองค์กรธุรกิจในการใช้พัฒนาแนวทางการสื่อสารข้อมูลผลกระทบทางบวกที่มีต่อสังคมให้เกิดประสิทธิผล สมตามเจตนารมณ์ของกิจการ
ดาวน์โหลดรายงาน
6 ทิศทาง CSR ปี 2565: From ‘Net Zero’ to ‘Social Positive’
ภายใต้ปัจจัยดังกล่าว ภาคธุรกิจกำลังเผชิญสถานการณ์ที่ไม่อาจพึ่งพารูปแบบการดำเนินธุรกิจตามปกติ (Business as Usual) ในการเติบโตได้ดังเดิม หลายกิจการที่ได้รับผลกระทบ จำเป็นที่จะต้องมองหาและพัฒนารูปแบบการดำเนินธุรกิจในวิถีปกติใหม่ (Business as New Normal) ที่เอื้อต่อการเติบโตทางธุรกิจในแบบยั่งยืน และสามารถเสริมหนุนการพัฒนาทางสังคมควบคู่ไปพร้อมกัน
สถาบันไทยพัฒน์ ได้พัฒนาแนวคิดในการปรับปรุงพัฒนารูปแบบธุรกิจ ที่เรียกว่า “ธุรกิจที่เป็นบวกต่อสังคม” หรือ Social Positive Business ซึ่งเชื่อว่า จะเป็นองค์ประกอบสำคัญต่อการสร้างผลกระทบต่อสังคมในเชิงบวกไปพร้อมกันกับการเติบโตของธุรกิจ ด้วยการยกระดับจากการให้ความช่วยเหลือแก่สังคมในรูปแบบของการบริจาคเงิน/สินค้า/บริการ ฯลฯ และการเพิ่มระดับการกระจายมูลค่าทางเศรษฐกิจผ่านกิจกรรมทางธุรกิจแก่ผู้มีส่วนได้เสียในห่วงโซ่คุณค่าอย่างเป็นธรรม ไปสู่การใช้ขีดความสามารถหลักทางธุรกิจในการขยายขอบเขตให้ครอบคลุมส่วนตลาดที่ยังมิได้รับการตอบสนอง (Unserved) หรือที่ยังตอบสนองได้ไม่เต็มที่ (Underserved) เพื่อเติมเต็มคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดี เกิดเป็นผลบวกต่อสังคมกลุ่มเป้าหมาย
ในปี 2565 นี้ สิ่งที่จะได้เห็นจากกิจการที่ต้องการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน คือ การใช้ประเด็น ESG เป็นภาษากลางในการสื่อสารกับผู้ลงทุนและผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องกับกิจการ เพื่อแสดงให้เห็นถึงผลกระทบทางบวกต่อสังคม (Social Positive) ที่กิจการได้ดำเนินการ บนบรรทัดฐานที่เห็นพ้องต้องกันตามหลักสากล
สถาบันไทยพัฒน์ ได้ทำการประเมินทิศทางความรับผิดชอบต่อสังคมและการพัฒนาความยั่งยืนของกิจการ ประจำปี 2565 ภายใต้รายงานที่มีชื่อว่า 6 ทิศทาง CSR ปี 2565: From ‘Net Zero’ to ‘Social Positive’ สำหรับหน่วยงานและองค์กรธุรกิจในการใช้พัฒนาแนวทางการสื่อสารข้อมูลผลกระทบทางบวกที่มีต่อสังคมให้เกิดประสิทธิผล สมตามเจตนารมณ์ของกิจการ
ดาวน์โหลดรายงาน
6 ทิศทาง CSR ปี 2565: From ‘Net Zero’ to ‘Social Positive’