รายงาน "6 ทิศทาง CSR ปี 2561"
ในรอบปี 2560 ที่ผ่านพ้นไป มีเหตุการณ์สำคัญที่เกี่ยวข้องกับความรับผิดชอบต่อสังคมและเรื่องความยั่งยืน เริ่มจากการออกหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี (Corporate Governance Code: CG Code) สำหรับบริษัทจดทะเบียน ฉบับใหม่ โดยสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เพื่อตอบโจทย์ทั้งเรื่องการสร้างผลตอบแทนให้กับธุรกิจ ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงด้านสภาพแวดล้อม เทคโนโลยี รวมทั้ง ความคาดหวังต่อบริษัทจดทะเบียนในการดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมที่เพิ่มขึ้น
หลักปฏิบัติที่สำคัญอีกฉบับหนึ่ง ซึ่งออกโดย ก.ล.ต. ในปี 2560 คือ หลักธรรมาภิบาลการลงทุน สำหรับผู้ลงทุนสถาบัน (Investment Governance Code: I Code) เพื่อให้ผู้ลงทุนสถาบันใช้เป็นแนวในการบริหารจัดการลงทุนอย่างรับผิดชอบ คำนึงถึงประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (Environmental, Social and Governance: ESG) นอกเหนือจากปัจจัยด้านผลตอบแทนและความเสี่ยงจากการลงทุน
การประกาศ CG Code และ I Code ทั้งสองฉบับ มีผลให้บริษัทจดทะเบียนจำเป็นต้องศึกษา CG Code ฉบับใหม่ เพื่อนำไปปฏิบัติ รวมทั้งการเปิดเผยข้อมูลในแบบ 56-1 (ที่จะมีผลใช้บังคับสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีสิ้นสุดตั้งแต่วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป) และในแบบ 69-1 (ที่จะมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป) รวมถึงกลุ่มผู้ลงทุนสถาบันที่จะต้องทำความเข้าใจกับ I Code เพื่อพิจารณารับไปปฏิบัติตามความสมัครใจ (Voluntary) รวมทั้งการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการประกาศรับการปฏิบัติตาม I Code และผลการปฏิบัติตาม I Code บนเว็บไซต์ของผู้ลงทุนสถาบันและจัดส่ง link (URL) ให้กับ ก.ล.ต. รวมทั้งในรายงานประจำปี (ถ้ามี)
หลักปฏิบัติทั้งสองฉบับ เน้นการบูรณาการประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) เข้าไปอยู่ในกระบวนการทางธุรกิจของบริษัทจดทะเบียน (CG Code) และกระบวนการตัดสินใจลงทุนของผู้ลงทุนสถาบัน (I Code) ตั้งแต่การกำหนดทิศทาง กลยุทธ์ กระบวนการดำเนินงาน การติดตามและการรายงาน เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม และเพื่อการสร้างคุณค่าให้กิจการอย่างยั่งยืน
ในปี 2561 ความเข้มข้นของการขับเคลื่อนความยั่งยืนจะยกระดับขึ้นตามกฎเกณฑ์จากผู้กำกับดูแล (Regulatory Discipline) ด้วยหลักการ CG Code และแรงผลักดันจากผู้มีส่วนร่วมในตลาด (Market Force) โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากผู้ลงทุนสถาบัน ด้วยหลักปฏิบัติ I Code
สถาบันไทยพัฒน์ ได้ทำการประเมินทิศทางความรับผิดชอบต่อสังคม ภายใต้รายงานที่มีชื่อว่า 6 ทิศทาง CSR ปี 2561: The Sphere of Sustainability เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับภาคธุรกิจในการวางกลยุทธ์องค์กรที่ตอบโจทย์ความยั่งยืนของกิจการ ให้สอดรับกับทิศทางการขับเคลื่อนเรื่องความยั่งยืนในระดับสากล
รายงาน 6 ทิศทาง CSR ปี 2561: The Sphere of Sustainability มีความหนา 28 หน้า ในเล่มประกอบด้วย
- สารจากประธาน
- สารจากผู้อำนวยการ
- มณฑลแห่งความยั่งยืน: The Sphere of Sustainability
- 6 ทิศทาง CSR ปี 2561
- สถาบันไทยพัฒน์กับงานด้านบรรษัทบริบาล
ดาวน์โหลดรายงาน
6 ทิศทาง CSR ปี 2561: The Sphere of Sustainability
หลักปฏิบัติที่สำคัญอีกฉบับหนึ่ง ซึ่งออกโดย ก.ล.ต. ในปี 2560 คือ หลักธรรมาภิบาลการลงทุน สำหรับผู้ลงทุนสถาบัน (Investment Governance Code: I Code) เพื่อให้ผู้ลงทุนสถาบันใช้เป็นแนวในการบริหารจัดการลงทุนอย่างรับผิดชอบ คำนึงถึงประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (Environmental, Social and Governance: ESG) นอกเหนือจากปัจจัยด้านผลตอบแทนและความเสี่ยงจากการลงทุน
การประกาศ CG Code และ I Code ทั้งสองฉบับ มีผลให้บริษัทจดทะเบียนจำเป็นต้องศึกษา CG Code ฉบับใหม่ เพื่อนำไปปฏิบัติ รวมทั้งการเปิดเผยข้อมูลในแบบ 56-1 (ที่จะมีผลใช้บังคับสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีสิ้นสุดตั้งแต่วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป) และในแบบ 69-1 (ที่จะมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป) รวมถึงกลุ่มผู้ลงทุนสถาบันที่จะต้องทำความเข้าใจกับ I Code เพื่อพิจารณารับไปปฏิบัติตามความสมัครใจ (Voluntary) รวมทั้งการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการประกาศรับการปฏิบัติตาม I Code และผลการปฏิบัติตาม I Code บนเว็บไซต์ของผู้ลงทุนสถาบันและจัดส่ง link (URL) ให้กับ ก.ล.ต. รวมทั้งในรายงานประจำปี (ถ้ามี)
หลักปฏิบัติทั้งสองฉบับ เน้นการบูรณาการประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) เข้าไปอยู่ในกระบวนการทางธุรกิจของบริษัทจดทะเบียน (CG Code) และกระบวนการตัดสินใจลงทุนของผู้ลงทุนสถาบัน (I Code) ตั้งแต่การกำหนดทิศทาง กลยุทธ์ กระบวนการดำเนินงาน การติดตามและการรายงาน เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม และเพื่อการสร้างคุณค่าให้กิจการอย่างยั่งยืน
ในปี 2561 ความเข้มข้นของการขับเคลื่อนความยั่งยืนจะยกระดับขึ้นตามกฎเกณฑ์จากผู้กำกับดูแล (Regulatory Discipline) ด้วยหลักการ CG Code และแรงผลักดันจากผู้มีส่วนร่วมในตลาด (Market Force) โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากผู้ลงทุนสถาบัน ด้วยหลักปฏิบัติ I Code
สถาบันไทยพัฒน์ ได้ทำการประเมินทิศทางความรับผิดชอบต่อสังคม ภายใต้รายงานที่มีชื่อว่า 6 ทิศทาง CSR ปี 2561: The Sphere of Sustainability เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับภาคธุรกิจในการวางกลยุทธ์องค์กรที่ตอบโจทย์ความยั่งยืนของกิจการ ให้สอดรับกับทิศทางการขับเคลื่อนเรื่องความยั่งยืนในระดับสากล
รายงาน 6 ทิศทาง CSR ปี 2561: The Sphere of Sustainability มีความหนา 28 หน้า ในเล่มประกอบด้วย
- สารจากประธาน
- สารจากผู้อำนวยการ
- มณฑลแห่งความยั่งยืน: The Sphere of Sustainability
- 6 ทิศทาง CSR ปี 2561
- สถาบันไทยพัฒน์กับงานด้านบรรษัทบริบาล
ดาวน์โหลดรายงาน
6 ทิศทาง CSR ปี 2561: The Sphere of Sustainability