รายงาน "6 ทิศทาง CSR ปี 2552"
กระแสแห่งความรับผิดชอบต่อสังคมของกิจการ หรือที่สถาบันไทยพัฒน์ เรียกว่า “บรรษัทบริบาล” หากจะเปรียบเหมือนดวงไฟ ก็ต้องบอกว่าได้จุดติดไปในทุกวงการเป็นที่เรียบร้อยโรงเรียนซีเอสอาร์อย่างโชติช่วงชัชวาล
ในแวดวงธุรกิจ ไม่มีองค์กรใดที่ไม่รู้จักคำว่าซีเอสอาร์ บรรดาหน่วยงานผู้ให้บริการแก่องค์กรธุรกิจเหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็น นักการตลาด นักสร้างแบรนด์ นักวางกลยุทธ์ นักประชาสัมพันธ์ นักโฆษณา ฯลฯ ต่างก็หยิบฉวยเอาซีเอสอาร์มาเป็นเครื่องมือในการให้บริการลูกค้ากันอย่างขนานใหญ่
ทว่าท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจที่ถดถอยและในสภาวการณ์ที่ทุกธุรกิจต่างก็ต้องปรับตัวเพื่อความอยู่รอดนี้ ดีกรีของซีเอสอาร์ในปีฉลู จะแผ่วลงหรือไม่ และรูปแบบของซีเอสอาร์ที่เหมาะสมในปีนี้ควรจะเป็นอย่างไร
สถาบันไทยพัฒน์ ในฐานะหน่วยงานที่ดำเนินการศึกษาวิจัยเรื่องบรรษัทบริบาลในเมืองไทยมาอย่างต่อเนื่อง และเป็นผู้ประเมินทิศทางซีเอสอาร์ของไทยเป็นประจำทุกปี จึงได้ทำการประมวลภาพความเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการของซีเอสอาร์จากปี 2551 สู่ปี 2552 สำหรับเป็นแนวทางในการขับเคลื่อนความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรธุรกิจจากซีเอสอาร์เชิงกลยุทธ์ (Strategic CSR) สู่ซีเอสอาร์เชิงสร้างสรรค์ (Creative CSR) เพื่อรับมือกับภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำและใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาองค์กรเพื่อแปรเปลี่ยนวิกฤตที่เกิดขึ้นให้เป็นโอกาสอย่างสร้างสรรค์
รายงาน “6 ทิศทาง ซีเอสอาร์ ปี 2552: Creative CSR” พิมพ์ 4 สี ตลอดเล่ม หนา 16 หน้า ในเล่มประกอบด้วย
- สารจากผู้อำนวยการสถาบันไทยพัฒน์
- จากความรับผิดชอบเชิงกลยุทธ์ สู่ความรับผิดชอบที่สร้างสรรค์
- สรุปภาพรวม CSR ในปีที่ผ่านมา และ 6 ทิศทาง CSR ปี 2552
- เจาะแก่นความคิด Creative CSR
- สถาบันไทยพัฒน์กับงานด้านบรรษัทบริบาล
ดาวน์โหลดรายงาน
6 ทิศทาง CSR ปี 2552: Creative CSR