COVID-19: Business Resilience Program
Home | Metrics | Program | Resources | Participating Companies |
หนังสือคู่มือนำทางสร้างองค์กรพร้อมผัน
(Resilient Enterprise Guidebook)
โรคโควิด-19 ได้ถูกประกาศให้เป็นโรคติดต่ออันตรายตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2563 โดยสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ที่เกิดขึ้นตั้งแต่ช่วงต้นปี พ.ศ. 2563 ได้ทิ้งร่องรอยความเสียหาย ส่งผลกระทบต่อเรื่องสุขภาพของผู้คนในสังคม ส่งผลต่อภาคเศรษฐกิจ กระทบต่อวิถีทำมาหากินของผู้ประกอบการตั้งแต่รายใหญ่จนถึงรายย่อย รวมถึงพฤติกรรมการดำรงชีวิตที่จำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ในภาคเอกชน ปรากฏการณ์โควิด (COVID Effect) ถือเป็นบทเรียนสำคัญที่องค์กรธุรกิจจำเป็นต้องจัดองคาพยพใหม่ ตั้งแต่การลดต้นทุนและค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น ทั้งค่าใช้จ่ายเดินทาง งบประมาณเลี้ยงรับรอง ค่าทำงานล่วงเวลา ไปจนถึงการลดอัตรากำลังแรงงาน การหยุดดำเนินงานในสาขาบางแห่ง ฯลฯ ในช่วงต้นสถานการณ์
ในระยะยาว ปรากฎการณ์โควิดได้สร้างแบบแผนการใช้ชีวิต หรือกิจวัตรประจำวันในรูปแบบใหม่ การเว้นระยะห่างทางสังคม การปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้ง ทำให้การปรับแพลตฟอร์มธุรกิจเพื่อตอบสนองต่อพฤติกรรมของผู้คนที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม กลายเป็นสิ่งจำเป็นในการรักษาฐานธุรกิจให้สามารถผ่านพ้นช่วงสถานการณ์ และพร้อมผันการดำเนินธุรกิจให้สอดรับกับวิถีปกติใหม่ (New Normal) หลังสถานการณ์
การสร้าง องค์กรพร้อมผัน (Resilient Enterprise) ให้สามารถพร้อมรองรับแบบแผนการใช้ชีวิตและการทำงานที่เปลี่ยนแปลงไปจากภาวะปกติเดิม คือ กุญแจสำคัญที่รักษาองค์กรให้อยู่รอดและสามารถดำเนินสืบเนื่องไปในระยะยาว โดยเรื่องสุขภาพ จะเป็นประเด็นสำคัญในการสร้างองค์กรให้มีภาวะพร้อมผัน (Resilience) และเป็นปัจจัยนำเข้าสำหรับการจัดวางกลยุทธ์องค์กรให้สอดรับกับการดำเนินธุรกิจในวิถีปกติใหม่
แนวทางหนึ่งที่แนะนำให้กิจการพิจารณาดำเนินการ ได้แก่ การสร้างวัฒนธรรมสุขภาพ (Culture of Health) ให้เกิดขึ้นในองค์กร โดยองค์การแห่งความริเริ่มว่าด้วยการรายงานสากล หรือ Global Reporting Initiative (GRI) ในฐานะผู้จัดทำมาตรฐานระดับโลกด้านความยั่งยืนสำหรับการเปิดเผยข้อมูล ได้เผยแพร่เอกสาร ข้อปฏิบัติทางธุรกิจด้านวัฒนธรรมสุขภาพ (Culture of Health Business Practices: COHBP) สำหรับให้กิจการผนวกประเด็นด้านสุขภาพ เข้ากับกลยุทธ์องค์กร เพื่อใช้ดำเนินงานหลังสถานการณ์โควิด
สถาบันไทยพัฒน์ในฐานะหน่วยงานที่มุ่งเน้นงานส่งเสริมความยั่งยืนของกิจการ และขับเคลื่อนเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมของกิจการร่วมกับภาคเอกชนมาอย่างต่อเนื่อง ได้จัดทำหนังสือคู่มือนำทางสร้างองค์กรพร้อมผัน (Resilient Enterprise Guidebook: Integrating Culture of Health into Organization) เล่มนี้ขึ้น เพื่อช่วยให้กิจการสามารถนำข้อปฏิบัติทางธุรกิจด้านวัฒนธรรมสุขภาพ มาเป็นปัจจัยนำเข้าในการวิเคราะห์สารัตถภาพ (Materiality Analysis) เพื่อใช้กำหนดประเด็นสาระสำคัญด้านวัฒนธรรมสุขภาพที่องค์กรควรดำเนินการ ผนวกไว้ในกลยุทธ์องค์กร สำหรับรองรับการขับเคลื่อนธุรกิจวิถีปกติใหม่ และการเป็นองค์กรพร้อมผันในทุกสถานการณ์
ในภาคเอกชน ปรากฏการณ์โควิด (COVID Effect) ถือเป็นบทเรียนสำคัญที่องค์กรธุรกิจจำเป็นต้องจัดองคาพยพใหม่ ตั้งแต่การลดต้นทุนและค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น ทั้งค่าใช้จ่ายเดินทาง งบประมาณเลี้ยงรับรอง ค่าทำงานล่วงเวลา ไปจนถึงการลดอัตรากำลังแรงงาน การหยุดดำเนินงานในสาขาบางแห่ง ฯลฯ ในช่วงต้นสถานการณ์
ในระยะยาว ปรากฎการณ์โควิดได้สร้างแบบแผนการใช้ชีวิต หรือกิจวัตรประจำวันในรูปแบบใหม่ การเว้นระยะห่างทางสังคม การปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้ง ทำให้การปรับแพลตฟอร์มธุรกิจเพื่อตอบสนองต่อพฤติกรรมของผู้คนที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม กลายเป็นสิ่งจำเป็นในการรักษาฐานธุรกิจให้สามารถผ่านพ้นช่วงสถานการณ์ และพร้อมผันการดำเนินธุรกิจให้สอดรับกับวิถีปกติใหม่ (New Normal) หลังสถานการณ์
การสร้าง องค์กรพร้อมผัน (Resilient Enterprise) ให้สามารถพร้อมรองรับแบบแผนการใช้ชีวิตและการทำงานที่เปลี่ยนแปลงไปจากภาวะปกติเดิม คือ กุญแจสำคัญที่รักษาองค์กรให้อยู่รอดและสามารถดำเนินสืบเนื่องไปในระยะยาว โดยเรื่องสุขภาพ จะเป็นประเด็นสำคัญในการสร้างองค์กรให้มีภาวะพร้อมผัน (Resilience) และเป็นปัจจัยนำเข้าสำหรับการจัดวางกลยุทธ์องค์กรให้สอดรับกับการดำเนินธุรกิจในวิถีปกติใหม่
แนวทางหนึ่งที่แนะนำให้กิจการพิจารณาดำเนินการ ได้แก่ การสร้างวัฒนธรรมสุขภาพ (Culture of Health) ให้เกิดขึ้นในองค์กร โดยองค์การแห่งความริเริ่มว่าด้วยการรายงานสากล หรือ Global Reporting Initiative (GRI) ในฐานะผู้จัดทำมาตรฐานระดับโลกด้านความยั่งยืนสำหรับการเปิดเผยข้อมูล ได้เผยแพร่เอกสาร ข้อปฏิบัติทางธุรกิจด้านวัฒนธรรมสุขภาพ (Culture of Health Business Practices: COHBP) สำหรับให้กิจการผนวกประเด็นด้านสุขภาพ เข้ากับกลยุทธ์องค์กร เพื่อใช้ดำเนินงานหลังสถานการณ์โควิด
สถาบันไทยพัฒน์ในฐานะหน่วยงานที่มุ่งเน้นงานส่งเสริมความยั่งยืนของกิจการ และขับเคลื่อนเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมของกิจการร่วมกับภาคเอกชนมาอย่างต่อเนื่อง ได้จัดทำหนังสือคู่มือนำทางสร้างองค์กรพร้อมผัน (Resilient Enterprise Guidebook: Integrating Culture of Health into Organization) เล่มนี้ขึ้น เพื่อช่วยให้กิจการสามารถนำข้อปฏิบัติทางธุรกิจด้านวัฒนธรรมสุขภาพ มาเป็นปัจจัยนำเข้าในการวิเคราะห์สารัตถภาพ (Materiality Analysis) เพื่อใช้กำหนดประเด็นสาระสำคัญด้านวัฒนธรรมสุขภาพที่องค์กรควรดำเนินการ ผนวกไว้ในกลยุทธ์องค์กร สำหรับรองรับการขับเคลื่อนธุรกิจวิถีปกติใหม่ และการเป็นองค์กรพร้อมผันในทุกสถานการณ์
• | Resilient Enterprise Guidebook |
หนังสือคู่มือนำทางสร้างองค์กรพร้อมผัน |