รูปแบบของซีเอสอาร์
Responsive CSR • Strategic CSR • Creative CSR
ทำไมถึงต้องเป็น Creative CSR? แล้วหน้าตาของ Creative CSR เป็นอย่างไร?
คำถามเหล่านี้อาจเกิดขึ้นทั้งจากผู้ที่สนใจ หรือผู้ที่เห็นแย้งอยู่ในใจก็ได้
พัฒนาการเรื่อง CSR ในช่วงที่ผ่านมา จะว่าไปแล้วก็มิได้หยุดนิ่งอยู่กับที่ แต่ได้เจริญเติบโตขึ้นเป็นลำดับ รูปแบบและวิธีการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมของกิจการได้มีการพัฒนาในจังหวะย่างก้าวที่สอดรับกับความเปลี่ยนแปลงของสังคมเรื่อยมา
ทั้งนี้ กระบวนการคิดเพื่อให้ได้มาซึ่งกิจกรรม CSR เชิงกลยุทธ์ หรือการคิด CSR เชิง “ยุทธศาสตร์” นั้น ส่วนใหญ่จะใช้พลังจากสมองซีกซ้ายในการวิเคราะห์หาเหตุผล คำนวณความคุ้มค่า ต้นทุน ประสิทธิภาพ ฯลฯ
ขณะที่ CSR เชิงสร้างสรรค์นั้น จะถูกปลดปล่อยออกมาจากสมองซีกขวา เป็นการคิด CSR ในเชิง “ยุทธศิลป์” ที่ต้องอาศัยไอเดีย ความคิดสร้างสรรค์ จินตนาการ และความรู้สึกเป็นสำคัญ
Creative CSR เป็นการทำ CSR ที่ก้าวข้ามบริบทของการรุก-รับ แต่เป็นการพัฒนากิจกรรม CSR ในเชิงร่วม (Collaborative) ที่เปิดโอกาสให้เกิดการทำงานร่วมกันระหว่างธุรกิจและสังคมอย่างไม่แบ่งแยก
กิจกรรม CSR ภายใต้รูปแบบนี้ จะไม่สามารถกำหนดได้อย่างชัดเจนว่าใครเป็นผู้ริเริ่มก่อนหลัง เนื่องจากเส้นแบ่งของการทำงานร่วมกันระหว่างกิจการและสังคมจะเลือนรางลง
สำหรับวิธีการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมภายใต้รูปแบบ Creative CSR จะมิได้จำกัดเพียงการสร้างความแตกต่างในวิธีการที่มีอยู่ แต่เป็นการคิดค้นวิธีการขึ้นใหม่ เป็นนวัตกรรม (Innovation) การดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคมที่เป็นเอกลักษณ์แตกต่างจากวิธีการอื่นโดยอัตโนมัติ
ผลลัพธ์จากการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมภายใต้รูปแบบที่เป็น CSR เชิงสร้างสรรค์นี้ จะทำให้เอื้อต่อการพัฒนาขีดความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้น (Cohesiveness) ระหว่างผู้มีส่วนได้เสียกลุ่มต่างๆ ในอันที่จะก่อให้เกิดคุณค่าเดียวกัน (Common Value) ของทั้งกิจการและสังคม
ทำไมถึงต้องเป็น Creative CSR? แล้วหน้าตาของ Creative CSR เป็นอย่างไร?
คำถามเหล่านี้อาจเกิดขึ้นทั้งจากผู้ที่สนใจ หรือผู้ที่เห็นแย้งอยู่ในใจก็ได้
พัฒนาการเรื่อง CSR ในช่วงที่ผ่านมา จะว่าไปแล้วก็มิได้หยุดนิ่งอยู่กับที่ แต่ได้เจริญเติบโตขึ้นเป็นลำดับ รูปแบบและวิธีการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมของกิจการได้มีการพัฒนาในจังหวะย่างก้าวที่สอดรับกับความเปลี่ยนแปลงของสังคมเรื่อยมา
ทั้งนี้ กระบวนการคิดเพื่อให้ได้มาซึ่งกิจกรรม CSR เชิงกลยุทธ์ หรือการคิด CSR เชิง “ยุทธศาสตร์” นั้น ส่วนใหญ่จะใช้พลังจากสมองซีกซ้ายในการวิเคราะห์หาเหตุผล คำนวณความคุ้มค่า ต้นทุน ประสิทธิภาพ ฯลฯ
ขณะที่ CSR เชิงสร้างสรรค์นั้น จะถูกปลดปล่อยออกมาจากสมองซีกขวา เป็นการคิด CSR ในเชิง “ยุทธศิลป์” ที่ต้องอาศัยไอเดีย ความคิดสร้างสรรค์ จินตนาการ และความรู้สึกเป็นสำคัญ
Creative CSR เป็นการทำ CSR ที่ก้าวข้ามบริบทของการรุก-รับ แต่เป็นการพัฒนากิจกรรม CSR ในเชิงร่วม (Collaborative) ที่เปิดโอกาสให้เกิดการทำงานร่วมกันระหว่างธุรกิจและสังคมอย่างไม่แบ่งแยก
กิจกรรม CSR ภายใต้รูปแบบนี้ จะไม่สามารถกำหนดได้อย่างชัดเจนว่าใครเป็นผู้ริเริ่มก่อนหลัง เนื่องจากเส้นแบ่งของการทำงานร่วมกันระหว่างกิจการและสังคมจะเลือนรางลง
สำหรับวิธีการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมภายใต้รูปแบบ Creative CSR จะมิได้จำกัดเพียงการสร้างความแตกต่างในวิธีการที่มีอยู่ แต่เป็นการคิดค้นวิธีการขึ้นใหม่ เป็นนวัตกรรม (Innovation) การดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคมที่เป็นเอกลักษณ์แตกต่างจากวิธีการอื่นโดยอัตโนมัติ
Responsive CSR | Strategic CSR | Creative CSR |
Corporate Value | Shared Value | Common Value |
Inclusiveness | Competitiveness | Cohesiveness |
Standardization | Differentiation | Innovation |
Outside-In | Outside-In, Inside-Out | Blur |
Receptive | Proactive | Collaborative |
ผลลัพธ์จากการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมภายใต้รูปแบบที่เป็น CSR เชิงสร้างสรรค์นี้ จะทำให้เอื้อต่อการพัฒนาขีดความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้น (Cohesiveness) ระหว่างผู้มีส่วนได้เสียกลุ่มต่างๆ ในอันที่จะก่อให้เกิดคุณค่าเดียวกัน (Common Value) ของทั้งกิจการและสังคม
"ปรัชญาของการทำ CSR เชิงกลยุทธ์... มุ่งที่จะเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน (Competitiveness) ทางธุรกิจ แต่ปรัชญาของการทำ CSR เชิงสร้างสรรค์นั้น... จะมุ่งเสริมสร้างขีดความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้น (Cohesiveness) กับสังคม" |