ความเคลื่อนไหว CSR ในอาเซียน (ASEAN)
ดร.พิพัฒน์ ยอดพฤติการ ประธานสถาบันไทยพัฒน์ ในฐานะผู้แทนประเทศไทยจากภาคองค์กรเอกชน เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการส่งเสริมความร่วมมือความรับผิดชอบต่อสังคม ด้านสวัสดิการและการพัฒนาของภาคธุรกิจในภูมิภาคอาเซียน "ASEAN Workshop on the Promotion of CSR in Social Welfare and Development" ระหว่างวันที่ 5-7 กรกฎาคม 2562 ณ ห้องจูปิเตอร์ 11-13 อาคารชาเลนเจอร์ ศูนย์การประชุมและแสดงสินค้าอิมแพค เมืองทองธานี จ.นนทบุรี จัดโดยกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะอนุกรรมการส่งเสริมความรับผิดชอบต่อสังคมของภาคธุรกิจ ในคณะกรรมการส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมแห่งชาติ
ดร.พิพัฒน์ ยอดพฤติการ ผู้อำนวยการสถาบันไทยพัฒน์ เข้าร่วมนำเสนอ Country Report ในฐานะ National Focal Person for the CSR and Human Rights Thematic Study ในการประชุมเชิงปฏิบัติการ "Workshop on Corporate Social Responsibility and Human Rights in ASEAN: Outcomes of the AICHR Thematic Study" เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2557 ซึ่งจัดโดย ASEAN Intergovernmental Commission on Human Rights (AICHR) ณ โรงแรม Swissotel The Stamford ประเทศสิงคโปร์ (เอกสารนำเสนอ)
Executive Director of the ASEAN Foundation, Dr. Makarim Wibisono, opened the CSR Thailand 2013 Conference jointly organised by CSR Club of Thai Listed Companies Association, the ASEAN CSR Network, and Thaipat Institute. The Conference was held at the Queen Sirikit National Convention Center in Bangkok on 12-13 November 2013 and themed “CSR Roadmap for ASEAN”. (Read More)

• องค์ประกอบคณะผู้แทนไทย
• กำหนดการประชุม
• ภาพบรรยากาศงานประชุม
• ข่าวงานประชุม (English Version)
• ข้อเสนอจากผลการประชุม

• สัมภาษณ์พิเศษ ดร. พิพัฒน์ ยอดพฤติการ
• การก่อตัวของ ASEAN CSR Network ภาคเอกชน
• รัฐเริ่มแล้ว ASEAN CSR Roadmap
• ASEAN Socio-Cultural Community Blueprint
• Initiative for ASEAN Integration (IAI) Framework and Work Plan 2

- | พัฒนานโยบายสาธารณะที่เป็นตัวแบบด้าน CSR หรือเครื่องมือทางกฎหมายสำหรับใช้อ้างอิงในหมู่ประเทศสมาชิกอาเซียน โดยอาจอ้างถึงมาตรฐานและแนวปฏิบัติสากลที่เกี่ยวข้อง อาทิ ISO 26000: แนวทางความรับผิดชอบต่อสังคม |
- | ผสานภาคเอกชนให้ร่วมสนับสนุนในกิจกรรมขององค์กรรายสาขาของอาเซียนและมูลนิธิอาเซียนในส่วนที่เกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อสังคมของกิจการ |
- | สนับสนุนให้เกิดการรับและนำมาตรฐานความรับผิดชอบต่อสังคมที่เป็นสากลมาใช้ และ |
- | เพิ่มการรับรู้ในเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมของกิจการในอาเซียนไปจนถึงความสัมพันธ์ที่ยั่งยืนระหว่างกิจกรรมเชิงพาณิชย์กับชุมชนในถิ่นที่ตั้ง โดยเฉพาะการสนับสนุนการพัฒนาที่มีชุมชนเป็นฐาน |
สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรือ อาเซียน จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2510 มีประเทศสมาชิก 10 ประเทศ คือ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ บรูไน ดารุสซาลาม เวียดนาม ลาว พม่า กัมพูชา และไทย โดยภูมิภาคอาเซียน ประกอบด้วยประชากรประมาณ 567 ล้านคน มีพื้นที่โดยรวม 4.5 ล้านตารางกิโลเมตร และผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติราว 1.1 ล้านล้านดอลลาร์
(ปรับปรุง: มิถุนายน 2554)