เปิดโมเดล "Inclusive Business" (3)
ยึดหลัก "ธุรกิจไม่ปิดกั้น"
ศรัญยู ตันติเสรี
บทพิสูจน์อย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นและถือว่าเป็นหนึ่งในแนวทางที่ช่วยให้องค์กรธุรกิจฟันฝ่าวิกฤติ และสามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืนก็คือ การทำ CSR (Corporate Social Responsibility) โดยช่วยเหลือรับผิดชอบสังคมโดยความสมัครใจ ด้วยการแสวงหาแนวทางใหม่ๆ ที่เปิดโอกาสให้ผู้ด้อยโอกาสหรือชุมชนในระดับฐานราก สามารถสร้างรายได้ด้วยการให้เข้าร่วมอยู่ในสายอุปทาน ในระบบซัพพลายเชน อาจเป็นผู้ผลิตผู้จำหน่าย (Suppliers) ในธุรกิจนั้นๆ ภายใต้รูปแบบที่เราเรียกว่า “ธุรกิจที่ไม่ปิดกั้น” หรือ Inclusive Business
ที่ผ่านมาข่าวคราวที่โด่งดังไปทั่วโลก เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์นมปนเปื้อนสารเมลามีน ที่ขยายวงลุกลามไปยังผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ นั้น ได้ส่งผลกระทบและสร้างความเสียหายต่อผู้ประกอบการ ทั้งที่เป็นผู้ผลิต ผู้ว่าจ้างให้ผลิต ผู้นำเข้า และผู้จำหน่าย ตลอดสายอุปทาน ซึ่งยังไม่นับรวมความเสียหายร้ายแรงต่อชีวิตและสุขภาพของผู้บริโภคที่ประเมินค่าไม่ได้ บทเรียนสำคัญครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า เกิดจากการขาดความรับผิดชอบในการดำเนินธุรกิจ ที่ส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยและความเชื่อมั่นของผู้บริโภคทั่วโลก
ดังนั้นการบังคับใช้มาตรฐานและข้อปฏิบัติด้าน CSR กับสินค้าส่งออกนำเข้าของประเทศต่างๆ อย่างเข้มงวด จึงเป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการต้องปรับตัวและรับมือกับมาตรการเหล่านี้ให้ได้ ซึ่งธุรกิจที่ต้องพึ่งพิงอยู่กับสายอุปทาน โดยเฉพาะผู้ส่งออกนำเข้าจะต้องรับมือกับข้อกำหนดใหม่ๆ ที่มีเพิ่มมากขึ้น เรื่อง CSR จะถูกถ่ายทอดจากผู้ประกอบการหนึ่งไปสู่อีกผู้ประกอบการหนึ่งในสายอุปทานเป็นทอดๆ จนกลายเป็นบรรทัดฐาน (Norm) ของอุตสาหกรรมนั้นๆ ขณะที่แนวปฏิบัติ CSR ทั่วไปแต่เดิม จะถูกพัฒนาต่อยอดโดยสะท้อนให้เห็นลักษณะเฉพาะของแต่ละอุตสาหกรรมอย่างชัดเจนยิ่งขึ้น
"ธุรกิจที่ไม่ปิดกั้น หรือ Inclusive Business เป็นการดึงให้ภาคชุมชน-สังคมมาร่วมมือกัน หรือเข้ามาอยู่ในระบบซัพพลายเชนในธุรกิจ เมื่อเราทำธุรกิจใดธุรกิจหนึ่งอยู่ แทนที่เราจะไปซื้อวัตถุดิบหรือสินค้ากับผู้ประกอบการด้วยกันเอง ก็เปลี่ยนไปซื้อกับชุมชนที่เขามีวัตถุดิบที่เราต้องการ ถือเป็นการสร้างรายได้และให้โอกาสกับชุมชนนั้นๆ ซึ่งมีความแตกต่างจากการบริจาคเงิน บริจาคสิ่งของอย่างสิ้นเชิง" พิพัฒน์ ยอดพฤติการ ผู้อำนวยการสถาบันไทยพัฒน์ ขยายความ
รูปแบบของ Inclusive Business นั้น ถือเป็นการทำธุรกิจแบบไม่ปิดกั้น ที่อาจเกี่ยวข้องกับชุมชน ผ่านแนวทางต่างๆ เช่น การจ้างงานผู้มีรายได้น้อยโดยตรง การมุ่งเน้นพัฒนาซัพพลายเออร์และผู้ให้บริการจากชุมชนที่มีรายได้ต่ำ หรือจัดหาสินค้าและบริการราคาถูกที่ชุมชนรายได้ต่ำพอมีกำลังซื้อได้ โดยธุรกิจแบบไม่ปิดกั้นไม่ใช่องค์กรการกุศล ซึ่งมีขอบเขตและงบประมาณอยู่จำกัด แต่เป็นการค้นหารูปแบบธุรกิจที่ยั่งยืน หรืออาจบอกได้ว่าเป็นการดำเนินธุรกิจได้ดีด้วยการทำเรื่องดีๆ นั่นเอง
ในฐานะลูกจ้างและซัพพลายเออร์นั้น ภาคส่วนที่มีรายได้ต่ำจะมีโอกาสเข้าถึงระบบเศรษฐกิจแบบเป็นทางการ รวมทั้งโอกาสในการได้ฝึกอบรม ด้านการเงิน และรายได้ ส่วนในฐานะผู้บริโภคนั้น ผู้บริโภคที่มีรายได้ต่ำจะได้ประโยชน์จากสินค้าและบริการที่ตรงกับความต้องการของพวกเขา แต่มีราคาพอซื้อหาได้ ถ้าธุรกิจสามารถทำได้ทั้งสองอย่างนี้ ก็จะช่วยเปิดวงจรของการพัฒนาธุรกิจได้อย่างดี
ในการประชุมเวิลด์ อีโคโนมิค ฟอรัม (WEF) เมื่อปลายเดือนมกราคมที่ผ่านมา ระบุว่า ถึงแม้จะเศรษฐกิจจะอยู่ในช่วงขาลง แต่บริษัทต่างๆ ก็สามารถหาโอกาสท่ามกลางประชากรหลายพันล้านคนที่ดำรงชีวิตอย่างยากจน ด้วยการปรับใช้กลยุทธ์เชิงสร้างสรรค์ที่เอื้อประโยชน์ต่อชุมชนในท้องถิ่นได้
นอกจากนี้ ยังมีการสรุปกลยุทธ์เชิงสร้างสรรค์ที่บริษัทบางแห่งได้ใช้ดำเนินธุรกิจในพื้นที่ยากจน ขณะเดียวกันก็กระตุ้นรายได้และอุปทานอาหารโดยร่วมมือกับชุมชนท้องถิ่น
ตัวอย่างบริษัทยูนิลีเวอร์ ไมเคิล เทรสโชว์ ประธานของบริษัท ยูนิลีเวอร์ ระบุว่า ในเวลาที่บริษัทต่างๆ กำลังมองหาวิธีรับประกันกลยุทธ์การเติบโตในระยะยาว จำเป็นต้องพัฒนาแนวทางที่ยั่งยืนทั้งในแง่ธุรกิจและสังคม ด้วยการให้อำนาจคนจนผ่านการทำงานร่วมกับเกษตรกรและนักธุรกิจรายย่อย ซึ่งวิธีการนี้ ยูนิลีเวอร์ จะช่วยปกป้องห่วงโซ่อุปทาน และนำประโยชน์ไปสู่ผู้บริโภค ขณะเดียวกัน ก็พัฒนาความเป็นอยู่ไปด้วย
เช่นเดียวกับ วิตโตริโอ โคลาโอ หัวหน้าคณะเจ้าหน้าที่บริหาร (ซีอีโอ) ของ โวดาโฟน ก็บอกเช่นกันว่า ด้วยการพัฒนาสินค้าและการใช้ประโยชน์ใหม่ๆ ที่เหมาะสมกับผู้บริโภครายได้ต่ำ ทำให้บริษัทได้สร้างความมั่นคงในตลาดเกิดใหม่ที่แข่งขันกันมากขึ้น ที่สำคัญไม่แพ้กันก็คือ ได้จัดหาบริการที่จำเป็น ซึ่งจะช่วยพัฒนาความเป็นอยู่และวิถีชีวิตของคนยากจน
[Original Link]
ศรัญยู ตันติเสรี
บทพิสูจน์อย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นและถือว่าเป็นหนึ่งในแนวทางที่ช่วยให้องค์กรธุรกิจฟันฝ่าวิกฤติ และสามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืนก็คือ การทำ CSR (Corporate Social Responsibility) โดยช่วยเหลือรับผิดชอบสังคมโดยความสมัครใจ ด้วยการแสวงหาแนวทางใหม่ๆ ที่เปิดโอกาสให้ผู้ด้อยโอกาสหรือชุมชนในระดับฐานราก สามารถสร้างรายได้ด้วยการให้เข้าร่วมอยู่ในสายอุปทาน ในระบบซัพพลายเชน อาจเป็นผู้ผลิตผู้จำหน่าย (Suppliers) ในธุรกิจนั้นๆ ภายใต้รูปแบบที่เราเรียกว่า “ธุรกิจที่ไม่ปิดกั้น” หรือ Inclusive Business
ที่ผ่านมาข่าวคราวที่โด่งดังไปทั่วโลก เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์นมปนเปื้อนสารเมลามีน ที่ขยายวงลุกลามไปยังผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ นั้น ได้ส่งผลกระทบและสร้างความเสียหายต่อผู้ประกอบการ ทั้งที่เป็นผู้ผลิต ผู้ว่าจ้างให้ผลิต ผู้นำเข้า และผู้จำหน่าย ตลอดสายอุปทาน ซึ่งยังไม่นับรวมความเสียหายร้ายแรงต่อชีวิตและสุขภาพของผู้บริโภคที่ประเมินค่าไม่ได้ บทเรียนสำคัญครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า เกิดจากการขาดความรับผิดชอบในการดำเนินธุรกิจ ที่ส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยและความเชื่อมั่นของผู้บริโภคทั่วโลก
ดังนั้นการบังคับใช้มาตรฐานและข้อปฏิบัติด้าน CSR กับสินค้าส่งออกนำเข้าของประเทศต่างๆ อย่างเข้มงวด จึงเป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการต้องปรับตัวและรับมือกับมาตรการเหล่านี้ให้ได้ ซึ่งธุรกิจที่ต้องพึ่งพิงอยู่กับสายอุปทาน โดยเฉพาะผู้ส่งออกนำเข้าจะต้องรับมือกับข้อกำหนดใหม่ๆ ที่มีเพิ่มมากขึ้น เรื่อง CSR จะถูกถ่ายทอดจากผู้ประกอบการหนึ่งไปสู่อีกผู้ประกอบการหนึ่งในสายอุปทานเป็นทอดๆ จนกลายเป็นบรรทัดฐาน (Norm) ของอุตสาหกรรมนั้นๆ ขณะที่แนวปฏิบัติ CSR ทั่วไปแต่เดิม จะถูกพัฒนาต่อยอดโดยสะท้อนให้เห็นลักษณะเฉพาะของแต่ละอุตสาหกรรมอย่างชัดเจนยิ่งขึ้น
"ธุรกิจที่ไม่ปิดกั้น หรือ Inclusive Business เป็นการดึงให้ภาคชุมชน-สังคมมาร่วมมือกัน หรือเข้ามาอยู่ในระบบซัพพลายเชนในธุรกิจ เมื่อเราทำธุรกิจใดธุรกิจหนึ่งอยู่ แทนที่เราจะไปซื้อวัตถุดิบหรือสินค้ากับผู้ประกอบการด้วยกันเอง ก็เปลี่ยนไปซื้อกับชุมชนที่เขามีวัตถุดิบที่เราต้องการ ถือเป็นการสร้างรายได้และให้โอกาสกับชุมชนนั้นๆ ซึ่งมีความแตกต่างจากการบริจาคเงิน บริจาคสิ่งของอย่างสิ้นเชิง" พิพัฒน์ ยอดพฤติการ ผู้อำนวยการสถาบันไทยพัฒน์ ขยายความ
รูปแบบของ Inclusive Business นั้น ถือเป็นการทำธุรกิจแบบไม่ปิดกั้น ที่อาจเกี่ยวข้องกับชุมชน ผ่านแนวทางต่างๆ เช่น การจ้างงานผู้มีรายได้น้อยโดยตรง การมุ่งเน้นพัฒนาซัพพลายเออร์และผู้ให้บริการจากชุมชนที่มีรายได้ต่ำ หรือจัดหาสินค้าและบริการราคาถูกที่ชุมชนรายได้ต่ำพอมีกำลังซื้อได้ โดยธุรกิจแบบไม่ปิดกั้นไม่ใช่องค์กรการกุศล ซึ่งมีขอบเขตและงบประมาณอยู่จำกัด แต่เป็นการค้นหารูปแบบธุรกิจที่ยั่งยืน หรืออาจบอกได้ว่าเป็นการดำเนินธุรกิจได้ดีด้วยการทำเรื่องดีๆ นั่นเอง
ในฐานะลูกจ้างและซัพพลายเออร์นั้น ภาคส่วนที่มีรายได้ต่ำจะมีโอกาสเข้าถึงระบบเศรษฐกิจแบบเป็นทางการ รวมทั้งโอกาสในการได้ฝึกอบรม ด้านการเงิน และรายได้ ส่วนในฐานะผู้บริโภคนั้น ผู้บริโภคที่มีรายได้ต่ำจะได้ประโยชน์จากสินค้าและบริการที่ตรงกับความต้องการของพวกเขา แต่มีราคาพอซื้อหาได้ ถ้าธุรกิจสามารถทำได้ทั้งสองอย่างนี้ ก็จะช่วยเปิดวงจรของการพัฒนาธุรกิจได้อย่างดี
ในการประชุมเวิลด์ อีโคโนมิค ฟอรัม (WEF) เมื่อปลายเดือนมกราคมที่ผ่านมา ระบุว่า ถึงแม้จะเศรษฐกิจจะอยู่ในช่วงขาลง แต่บริษัทต่างๆ ก็สามารถหาโอกาสท่ามกลางประชากรหลายพันล้านคนที่ดำรงชีวิตอย่างยากจน ด้วยการปรับใช้กลยุทธ์เชิงสร้างสรรค์ที่เอื้อประโยชน์ต่อชุมชนในท้องถิ่นได้
นอกจากนี้ ยังมีการสรุปกลยุทธ์เชิงสร้างสรรค์ที่บริษัทบางแห่งได้ใช้ดำเนินธุรกิจในพื้นที่ยากจน ขณะเดียวกันก็กระตุ้นรายได้และอุปทานอาหารโดยร่วมมือกับชุมชนท้องถิ่น
ตัวอย่างบริษัทยูนิลีเวอร์ ไมเคิล เทรสโชว์ ประธานของบริษัท ยูนิลีเวอร์ ระบุว่า ในเวลาที่บริษัทต่างๆ กำลังมองหาวิธีรับประกันกลยุทธ์การเติบโตในระยะยาว จำเป็นต้องพัฒนาแนวทางที่ยั่งยืนทั้งในแง่ธุรกิจและสังคม ด้วยการให้อำนาจคนจนผ่านการทำงานร่วมกับเกษตรกรและนักธุรกิจรายย่อย ซึ่งวิธีการนี้ ยูนิลีเวอร์ จะช่วยปกป้องห่วงโซ่อุปทาน และนำประโยชน์ไปสู่ผู้บริโภค ขณะเดียวกัน ก็พัฒนาความเป็นอยู่ไปด้วย
เช่นเดียวกับ วิตโตริโอ โคลาโอ หัวหน้าคณะเจ้าหน้าที่บริหาร (ซีอีโอ) ของ โวดาโฟน ก็บอกเช่นกันว่า ด้วยการพัฒนาสินค้าและการใช้ประโยชน์ใหม่ๆ ที่เหมาะสมกับผู้บริโภครายได้ต่ำ ทำให้บริษัทได้สร้างความมั่นคงในตลาดเกิดใหม่ที่แข่งขันกันมากขึ้น ที่สำคัญไม่แพ้กันก็คือ ได้จัดหาบริการที่จำเป็น ซึ่งจะช่วยพัฒนาความเป็นอยู่และวิถีชีวิตของคนยากจน
[Original Link]