CSR ไม่ได้ผูกกับเรื่องเงิน
โดย ศีล มติธรรม
ในบรรดาผู้รู้เกี่ยวกับเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมของกิจการ Corporate Social Responsibility (CSR) มีชื่อของอาจารย์พิพัฒน์ ยอดพฤติการ อยู่ในนั้นด้วย บุรุษผู้นี้เดินสายไปบรรยายหัวข้อดังกล่าวให้ผู้ประกอบการฟังทั่วประเทศ มาฟังกันว่า ณ เวลานี้ CSR พัฒนาก้าวหน้าไปถึงไหนแล้ว
คำนิยามที่ถูกต้องของ CSR
CSR คือความรับผิดชอบต่อสังคม ปัญหาของนักธุรกิจส่วนใหญ่แล้วเกิดจากการตีความโดยไม่ได้ศึกษาขอบเขตความรับผิดชอบต่อชุมชน ที่ผ่านมาในเมืองไทย CSR มักใช้รูปแบบของการช่วยเหลือสงเคราะห์ ตอบแทน บริจาค เลยกลายเป็นว่า กิจกรรม CSR ในบ้านเรามองว่าเป็นการคืนกำไรสู่สังคม เช่น อาสาสมัครปลูกต้นไม้ สร้างห้องสมุด ปลูกป่าชายเลน เป็นต้น ซึ่งเป็นมุมที่แคบ
อยากจะให้ทำความเข้าใจ CSR ยังครอบคลุมถึงเรื่องที่เราอาจจะไม่ต้องทำกิจกรรมเสริมเพิ่มเติมอะไร แต่ว่าประกอบการให้มีความรับผิดชอบ ยกตัวอย่างเราผลิตสินค้า เรามีขอบเขต การที่เราบำบัดหรือปกป้องไม่ให้ของเสียเหล่านั้นมาทำลายชีวิตคน อันนี้ก็ถือว่าเป็น CSR
เอสเอ็มอีสามารถทำได้
ยังมีคนไม่เข้าใจ CSR เยอะพอสมควร และยังไม่ได้ศึกษาอย่างถูกต้อง ถ้าเราไม่มีโอกาสเข้าไปให้คำปรึกษาหรือให้ความรู้ CSR อย่างไรก็ตาม สื่อต่างๆ ก็ช่วยได้มาก เวลาที่ผมให้ข้อมูลก็พยายามเน้น In process และ After process
CSR ไม่ได้ผูกพันกับงบประมาณในตัวเงินเป็นหลักที่ใช้ประจำ ในแง่ของเอสเอ็มอีอยากจะให้ความหมายของ CSR ว่าเป็นการดำเนินงานธุรกิจหรือแสวงหากำไรอย่างรับผิดชอบ ไม่จำเป็นจะต้องเจียดกำไรไปช่วยชุมชนอื่นๆ ถ้าเกิดยังไม่มีกำไรพอยังไม่ต้องทำเรื่องพวกนั้นก็ได้
ในส่วนของเอสเอ็มอี ถ้าอยู่ในช่วงเจริญเติบโต ดูแลพนักงานให้ดีอย่างเดียวพอ เพราะว่า เอสเอ็มอีส่วนใหญ่ไม่มีผลกระทบกับสังคมกับสิ่งแวดล้อมมาก การดูแลพนักงานอย่างดี ก็ถือว่าเป็นเรื่อง CSR แล้ว เพราะ CSR ส่วนหนึ่งก็คือหน้าที่ ทำตามหน้าที่อย่างรับผิดชอบ การเสียภาษีอย่างถูกต้อง
ดังนั้น 1.การทำ CSR ไม่ได้ผูกกับเรื่องเงิน 2.ไม่ใช่เป็นเรื่อง project ที่ใหญ่โตอะไร เช่น ถ้าเราดูแลพนักงานในบริษัทไม่ไปหลอกลวงเขา ถ้าดูแลอย่างนี้ได้ ธุรกิจเล็กหรือใหญ่ ก็ทำ CSR ได้ทั้งนั้น
ในภาพรวมแล้ว เอสเอ็มอีทำ CSR ได้มาก ผมเคยถามผู้ประกอบการรายหนึ่งว่า เฮียรู้จัก CSR ไหมครับ เขาตอบว่า ไม่รู้จักหรอก ไม่ได้ทำ แบบนี้จะเยอะมาก และเป็นกับดักว่าคืออะไร และไม่เคยได้ยินในองค์กร เลยคิดว่าตัวเองไม่ได้ทำ อย่างเวลาไปขายของให้ข้อมูลลูกค้าตรงไหม ชัดเจนไหม ลูกค้าไม่คิดว่าเราโกง อันนี้แหละเขาเรียกว่า CSR
ทุกองค์กรส่วนใหญ่มี CSR
สิ่งที่ผมเข้าไปให้คำปรึกษาส่วนใหญ่กับองค์กรต่างๆ ไม่ได้มีหน้าที่ไปบอกเขาเลย ผมเพียงแต่ถามเฮียว่าทำอะไรอยู่ ไหนขอดูหน่อย แล้วก็อธิบายว่า CSR นี้จัดเข้าอยู่ในหมวดแรงงาน CSR ตัวนี้จัดเข้าอยู่ในผู้บริโภค จะเห็นได้ว่าทุกองค์กรการที่เขาประกอบการอยู่รอดถึงทุกวันนี้ล้วนแล้วแต่มี CSR ทั้งนั้น
ฉะนั้น ที่ถามกันว่า CSR สำหรับเอสเอ็มอีมีอยู่ไหม มี แต่เขาไม่รู้ตัว ถ้าวันนี้จะถามว่าองค์กรธุรกิจใหญ่ๆ เชื่อว่าเขาจะมีกิจกรรม CSR ที่เกี่ยวข้อง เพียงแต่ว่าความเข้มข้น น้ำหนักจะแตกต่างกันไปของแต่ละองค์กร
ปัญหาเศรษฐกิจไม่กระทบ
สิ่งที่ผ่านมาทำให้สังคมเข้าใจว่า การทำ CSR คือสร้างฝายปลูกป่า แจกผ้าห่ม ซึ่งไม่ต้องเลียนแบบก็ได้ แต่ยังมีการทำในรูปแบบอื่นๆ ได้อีกมาก อย่างที่บอก CSR ไม่ได้ผูกกับงบประมาณ ในภาวะเศรษฐกิจไม่ดีแบบนี้หลายองค์กรไม่จำเป็นต้องลดกิจกรรม CSR ขณะที่องค์กรธุรกิจบางแห่ง ใช้เป็นโอกาสในการทำ CSR ให้
CSR เพื่อการสร้างภาพ
มีคนกลุ่มหนึ่งออกมาสะท้อนว่า จริงๆ CSR เป็นเครื่องมือการสร้างภาพของธุรกิจ พูดเพื่อให้ตัวเองดูดี แต่อาจจะไม่ได้ทำตามที่พูด อันนี้ต้องยอมรับว่ามีส่วนจริง องค์กรธุรกิจต่างๆ ก็ใช้ CSR เป็นเครื่องมือในการประชาสัมพันธ์ล้วนๆ สิ่งที่เขาได้ก็คือได้การยอมรับจากสังคม
บอกไม่ได้ประเทศสุดยอด
ถ้ามองในแง่ของประเทศอเมริกาอาจจะเป็นผู้นำในการคิดรูปแบบ วิธีการพัฒนา CSR ในองค์กรได้ค่อนข้างล้ำหน้าคนอื่น แต่ข้อเท็จจริงแล้วธุรกิจใหญ่ๆ ในอเมริกาก็ประสบภาวะล้มเหลว มีคนโกง สถาบันการเงินล่มสลาย ฉะนั้น ต้องมองในส่วนของแต่ละบริษัทมากกว่า จะพูดภาพโดยรวมของทั้งประเทศไม่ได้ ประเทศอื่นๆ ก็อยู่ในลักษณะเดียวกัน เพราะบางบริษัทอาจจะดูแลพนักงานดีและกิจการที่ทำไม่ก่อให้เกิดปัญหาต่อสิ่งแวดล้อมใดๆ นี่ก็เท่ากับได้ทำ CSR แล้ว
[Original Link]
คำนิยามที่ถูกต้องของ CSR
CSR คือความรับผิดชอบต่อสังคม ปัญหาของนักธุรกิจส่วนใหญ่แล้วเกิดจากการตีความโดยไม่ได้ศึกษาขอบเขตความรับผิดชอบต่อชุมชน ที่ผ่านมาในเมืองไทย CSR มักใช้รูปแบบของการช่วยเหลือสงเคราะห์ ตอบแทน บริจาค เลยกลายเป็นว่า กิจกรรม CSR ในบ้านเรามองว่าเป็นการคืนกำไรสู่สังคม เช่น อาสาสมัครปลูกต้นไม้ สร้างห้องสมุด ปลูกป่าชายเลน เป็นต้น ซึ่งเป็นมุมที่แคบ
อยากจะให้ทำความเข้าใจ CSR ยังครอบคลุมถึงเรื่องที่เราอาจจะไม่ต้องทำกิจกรรมเสริมเพิ่มเติมอะไร แต่ว่าประกอบการให้มีความรับผิดชอบ ยกตัวอย่างเราผลิตสินค้า เรามีขอบเขต การที่เราบำบัดหรือปกป้องไม่ให้ของเสียเหล่านั้นมาทำลายชีวิตคน อันนี้ก็ถือว่าเป็น CSR
เอสเอ็มอีสามารถทำได้
ยังมีคนไม่เข้าใจ CSR เยอะพอสมควร และยังไม่ได้ศึกษาอย่างถูกต้อง ถ้าเราไม่มีโอกาสเข้าไปให้คำปรึกษาหรือให้ความรู้ CSR อย่างไรก็ตาม สื่อต่างๆ ก็ช่วยได้มาก เวลาที่ผมให้ข้อมูลก็พยายามเน้น In process และ After process
CSR ไม่ได้ผูกพันกับงบประมาณในตัวเงินเป็นหลักที่ใช้ประจำ ในแง่ของเอสเอ็มอีอยากจะให้ความหมายของ CSR ว่าเป็นการดำเนินงานธุรกิจหรือแสวงหากำไรอย่างรับผิดชอบ ไม่จำเป็นจะต้องเจียดกำไรไปช่วยชุมชนอื่นๆ ถ้าเกิดยังไม่มีกำไรพอยังไม่ต้องทำเรื่องพวกนั้นก็ได้
ในส่วนของเอสเอ็มอี ถ้าอยู่ในช่วงเจริญเติบโต ดูแลพนักงานให้ดีอย่างเดียวพอ เพราะว่า เอสเอ็มอีส่วนใหญ่ไม่มีผลกระทบกับสังคมกับสิ่งแวดล้อมมาก การดูแลพนักงานอย่างดี ก็ถือว่าเป็นเรื่อง CSR แล้ว เพราะ CSR ส่วนหนึ่งก็คือหน้าที่ ทำตามหน้าที่อย่างรับผิดชอบ การเสียภาษีอย่างถูกต้อง
ดังนั้น 1.การทำ CSR ไม่ได้ผูกกับเรื่องเงิน 2.ไม่ใช่เป็นเรื่อง project ที่ใหญ่โตอะไร เช่น ถ้าเราดูแลพนักงานในบริษัทไม่ไปหลอกลวงเขา ถ้าดูแลอย่างนี้ได้ ธุรกิจเล็กหรือใหญ่ ก็ทำ CSR ได้ทั้งนั้น
ในภาพรวมแล้ว เอสเอ็มอีทำ CSR ได้มาก ผมเคยถามผู้ประกอบการรายหนึ่งว่า เฮียรู้จัก CSR ไหมครับ เขาตอบว่า ไม่รู้จักหรอก ไม่ได้ทำ แบบนี้จะเยอะมาก และเป็นกับดักว่าคืออะไร และไม่เคยได้ยินในองค์กร เลยคิดว่าตัวเองไม่ได้ทำ อย่างเวลาไปขายของให้ข้อมูลลูกค้าตรงไหม ชัดเจนไหม ลูกค้าไม่คิดว่าเราโกง อันนี้แหละเขาเรียกว่า CSR
ทุกองค์กรส่วนใหญ่มี CSR
สิ่งที่ผมเข้าไปให้คำปรึกษาส่วนใหญ่กับองค์กรต่างๆ ไม่ได้มีหน้าที่ไปบอกเขาเลย ผมเพียงแต่ถามเฮียว่าทำอะไรอยู่ ไหนขอดูหน่อย แล้วก็อธิบายว่า CSR นี้จัดเข้าอยู่ในหมวดแรงงาน CSR ตัวนี้จัดเข้าอยู่ในผู้บริโภค จะเห็นได้ว่าทุกองค์กรการที่เขาประกอบการอยู่รอดถึงทุกวันนี้ล้วนแล้วแต่มี CSR ทั้งนั้น
ฉะนั้น ที่ถามกันว่า CSR สำหรับเอสเอ็มอีมีอยู่ไหม มี แต่เขาไม่รู้ตัว ถ้าวันนี้จะถามว่าองค์กรธุรกิจใหญ่ๆ เชื่อว่าเขาจะมีกิจกรรม CSR ที่เกี่ยวข้อง เพียงแต่ว่าความเข้มข้น น้ำหนักจะแตกต่างกันไปของแต่ละองค์กร
ปัญหาเศรษฐกิจไม่กระทบ
สิ่งที่ผ่านมาทำให้สังคมเข้าใจว่า การทำ CSR คือสร้างฝายปลูกป่า แจกผ้าห่ม ซึ่งไม่ต้องเลียนแบบก็ได้ แต่ยังมีการทำในรูปแบบอื่นๆ ได้อีกมาก อย่างที่บอก CSR ไม่ได้ผูกกับงบประมาณ ในภาวะเศรษฐกิจไม่ดีแบบนี้หลายองค์กรไม่จำเป็นต้องลดกิจกรรม CSR ขณะที่องค์กรธุรกิจบางแห่ง ใช้เป็นโอกาสในการทำ CSR ให้
CSR เพื่อการสร้างภาพ
มีคนกลุ่มหนึ่งออกมาสะท้อนว่า จริงๆ CSR เป็นเครื่องมือการสร้างภาพของธุรกิจ พูดเพื่อให้ตัวเองดูดี แต่อาจจะไม่ได้ทำตามที่พูด อันนี้ต้องยอมรับว่ามีส่วนจริง องค์กรธุรกิจต่างๆ ก็ใช้ CSR เป็นเครื่องมือในการประชาสัมพันธ์ล้วนๆ สิ่งที่เขาได้ก็คือได้การยอมรับจากสังคม
บอกไม่ได้ประเทศสุดยอด
ถ้ามองในแง่ของประเทศอเมริกาอาจจะเป็นผู้นำในการคิดรูปแบบ วิธีการพัฒนา CSR ในองค์กรได้ค่อนข้างล้ำหน้าคนอื่น แต่ข้อเท็จจริงแล้วธุรกิจใหญ่ๆ ในอเมริกาก็ประสบภาวะล้มเหลว มีคนโกง สถาบันการเงินล่มสลาย ฉะนั้น ต้องมองในส่วนของแต่ละบริษัทมากกว่า จะพูดภาพโดยรวมของทั้งประเทศไม่ได้ ประเทศอื่นๆ ก็อยู่ในลักษณะเดียวกัน เพราะบางบริษัทอาจจะดูแลพนักงานดีและกิจการที่ทำไม่ก่อให้เกิดปัญหาต่อสิ่งแวดล้อมใดๆ นี่ก็เท่ากับได้ทำ CSR แล้ว
[Original Link]