ถอดรหัสแชมป์ CSR ไทยประกัน ขั้นเทพ
• เปิดโมเดลซี เอสอาร์สไตล์ไทยประกันชีวิต
• โดดเด่น+แตกต่างที่มุ่งรับผิดชอบสังคม
• ที่สำคัญทำทั้งนอกและในกระบวนการ
• จนกลายเป็นธุรกิจดีเด่นคว้า SVN Award
จัดเป็นอีกหนึ่งองค์กรที่โดด เด่นด้านการดำเนินงานแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม Corporate Social Responsibility : CSR อย่างเป็นระบบ สำหรับ บริษัทไทยประกันชีวิต จนล่าสุดคว้ารางวัลภาคธุรกิจดีเด่น หรือ SVN Award จากเครือข่ายธุรกิจเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นเครือข่ายที่ประสานความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์กรสาธารณประโยชน์ และตระหนักถึงความสำคัญในการส่งเสริมการดำเนินธุรกิจด้วยจิตวิญญาณแห่งความ รับผิดชอบต่อสังคม (Corporate Social Responsibility : CSR )
SVN Award เป็นรางวัลที่ตอกย้ำว่า องค์กรใดที่มีการดำเนินงานด้าน CSR ครบถ้วนและมีระบบแบบแผนชัดเจน ถือเป็นแบบอย่างขององค์กรเพื่อสังคมอย่างแท้จริง ทั้งนี้เนื่องจากเกณฑ์การตัดสิน คณะกรรมการจะพิจารณาจากความโดดเด่นและความแตกต่างของนวัตกรรมด้านต่างๆ ที่มุ่งสร้างความรับผิดชอบต่อสังคม ซึ่งหมายรวมทั้งด้านผลิตภัณฑ์ บริการ กระบวนการดำเนินธุรกิจ ตลอดจนรูปแบบกิจกรรม เพื่อสังคมที่องค์กรนำมาใช้ โดยเปรียบเทียบกับองค์กรอื่นๆ ขณะเดียวกันนวัตกรรมต่างๆ ที่คิดค้น ต้องมีความยั่งยืนและขยายตัวทั้งในแนวกว้างและแนวลึก นอกจากนี้ เกณฑ์การตัดสินยังพิจารณาถึงระดับของผลกระทบในการดำเนินธุรกิจที่มีทุกภาค ส่วน ทั้งต่อสังคม ผู้บริโภค คู่ค้า และภาครัฐ หรือแม้แต่ผลกระทบที่มีต่อสิ่งแวดล้อม และผลกระทบที่มีต่อบุคคลหรือวัฒนธรรมในองค์กร
ซีเอสอาร์ขั้นเทพ
จุดเด่นสำคัญ ที่ทำให้ไทยประกันชีวิตได้รับรางวัลดังกล่าว เนื่องจากเป็นองค์กรเอกชนที่ให้ความสำคัญต่อความรับผิดชอบต่อสังคมเป็นอย่าง มาก และมีการกำหนดเป็นแผนแม่บทและยุทธศาสตร์การทำงานอย่างชัดเจน สามารถพัฒนาธุรกิจให้เข้มแข็งเติบโตไปพร้อมกับการดูแลตั้งแต่ผู้ถือหุ้น ผู้เอาประกัน พนักงาน ตลอดจนสังคมไทย และใส่ใจคุณค่าชีวิตของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง (Stakeholder) ทุกระดับ ซึ่งถือเป็นการดูแลชีวิตอย่างครบรอบด้านตามหลักเกณฑ์ของรางวัล
“ไทยประกันชีวิตเป็นบริษัทประกันชีวิตแห่งแรกและแห่ง เดียวที่ได้รับรางวัลดังกล่าวเนื่องจากเป็นรางวัลที่เชิดชูองค์กรที่ดำเนิน การดูแลสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพและประสบความสำเร็จ” กรรมการ เครือข่าย
ทางด้าน กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไทยประกันชีวิต จำกัด ไชย ไชยวรรณ เปิดเผยว่า ปัจจัยสำคัญที่ได้รับการคัดเลือก เพราะไทยประกันชีวิตดำเนินธุรกิจโดยตระหนักถึงการเติมเต็มคุณค่าในการใช้ ชีวิต (The Value Added of Living) ของคนในสังคมไทย อันเป็นแก่นหลักในการดำเนินธุรกิจ
ดังนั้นการดำเนินธุรกิจจึงมุ่งสร้างความรับผิดชอบต่อสังคมมาอย่างต่อเนื่อง ยาวนานกว่า 30 ปี โดยวางแนวทางการดำเนินการด้าน CSR อย่างเป็นระบบ ตั้งแต่ในกระบวนการดำเนินธุรกิจ (In Process) จนถึง CSR ภายหลังกระบวนการธุรกิจ (After Process) ผ่านการจัดกิจกรรมต่างๆ
เปิดโมเดลยุทธศาสตร์ CSR
ทั้งนี้ เพื่อให้การดำเนินนโยบายด้านความรับผิดชอบต่อสังคมเป็นไปอย่างมีแบบแผน และมีทิศทางที่ชัดเจน บริษัทฯ ยังได้กำหนดแผ่นแม่บทยุทธศาสตร์ด้านความรับผิดชอบต่อสังคม แบ่งเป็น 3 ด้าน ที่เน้นการช่วยชีวิตและการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้กับคนไทย ประกอบด้วย
ยุทธศาสตร์การให้ (Giving) เป็น CSR ภายหลังกระบวนการดำเนินธุรกิจ โดยจัดกิจกรรมภายใต้โครงการหนึ่งคนให้...หลายคนรับ กับไทยประกันชีวิต ซึ่งดำเนินการร่วมกับสภากาชาดไทย รณรงค์รับบริจาคโลหิต อวัยวะ ดวงตา และเสต็มเซลล์ หรือการช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสในสังคม อาทิ โครงการ “หนึ่งคนให้ หลายคนรับ” ตั้งแต่ปี 2541 จนถึงปัจจุบัน เพื่อเป็นการรณรงค์จัดหาผู้บริจาคโลหิต, บริจาคเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิต ให้กับ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติและผู้แสดงความจำนงบริจาคอวัยวะให้กับศูนย์รับ บริจาคอวัยวะ ซึ่งได้โลหิตบริจาครวม 737,100 ซีซี. และได้ผู้แสดงความจำนงบริจาคอวัยวะรวม 3,510 ราย รวมทั้งโครงการ “รักษ์ไทย-ห่วงไทย” กิจกรรมรณรงค์จัดหาผู้บริจาคเซลล์ต้นกำเนิดเม็ด โลหิต และผู้บริจาคลิ้นหัวใจจากผู้เสียชีวิตให้กับสภากาชาดไทย ในโครงการรับบริจาคเซลล์ ต้นกำเนิดเม็ดโลหิตจากผู้บริจาคและลิ้นหัวใจ ในการนี้บริษัทฯ จัดทำแผ่นโปรแกรม คอมพิวเตอร์ “สนุกกับภาษาไทย ก ไก่ ถึง ฮ นกฮูก” เพื่อจำหน่วย โดยนำรายได้ทั้งหมด ทูลเกล้าฯ ถวายสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี เพื่อบำรุงกิจการสภากาชาดไทย ในโครงการดังกล่าว
นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังได้สนับสนุนการออกแบบและจัดพิมพ์แผ่นพับ, โปสเตอร์ เพื่อใช้เป็น สื่อประชาสัมพันธ์ความรู้ความเข้าใจและกิจกรรมของศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ, ศูนย์รับบริจาคอวัยวะ สำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์ พร้อมทั้งสนับสนุนการจัดงานกาชาดประจำปี มาตั้งแต่ปี 2540 จนถึงปัจจุบัน
ยุทธศาสตร์การดูแลชีวิต (Caring) เป็น CSR ภายในกระบวนการดำเนินธุรกิจ โดยเริ่มจากการดูแลบุคลากรภายในองค์กร ด้วยการจัดสรรผลตอบแทนและสวัสดิการที่เป็นธรรม ดำเนินธุรกิจภายใต้หลักธรรมภิบาล และมีการจัดตั้งคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง เพื่อให้การบริหารงานเกิดความมั่นคงสูงสุด ขณะเดียวกันยังได้พัฒนากรมธรรม์ที่ไม่มุ่งแสวงหากำไร อาทิ กรมธรรม์ประกันชีวิตทหาร โดยเป็นบริษัทประกันชีวิตแห่งแรกและแห่งเดียวที่รับประกันชีวิตทหารทั้ง 3 เหล่าทัพ รวมถึงกรมธรรม์ประกันชีวิตผู้พิการ และกรมธรรม์ก้าวแรก ที่เป็นนวัตกรรมสินค้าล่าสุดที่ดูแลลูกตั้งแต่แรกเกิด รวมถึงการดูแลชีวิตผู้เอาประกัน ด้วยการมอบบริการที่มากกว่าการประกันชีวิต ไทยประกันชีวิตฮอตไลน์ ที่สุดแห่งการบริการทางการแพทย์และเคลื่อนย้ายผู้ป่วยฉุกเฉินฟรีตลอด 24 ชั่วโมง ทุกที่ ทั่วโลก ไทยประกันชีวิตแคร์เซ็นเตอร์ ศูนย์ดูแลสิทธิประโยชน์ผู้เอาประกันที่สมบูรณ์ที่สุดในธุรกิจประกันชีวิต ไทยประกันชีวิตอีซี่เพย์ ช่องทางการชำระเบี้ยประกันที่มากถึง 11 ช่องทาง รวมถึงการสร้างสรรค์กิจกรรมที่ตอบสนองชีวิตครบรอบด้านให้แก่ผู้เอาประกัน ผ่านคลับไทยประกันชีวิต ตามด้วยยุทธศาสตร์การเติมเต็มคุณค่าแห่งชีวิต (Fulfilling) ด้วยการเติมเต็มคุณค่าชีวิตให้แก่บุคลากร ขณะเดียวกันยังปลูกฝังจิตวิญญาณของการให้ ผ่านการเป็นพนักงานจิตอาสา ( CSR Volunteer) เพื่อให้บุคลากรของไทยประกันชีวิตสามารถเติมเต็มคุณค่าให้แก่ชีวิตผู้อื่น อันเป็นการสร้างคุณค่าให้แก่ชีวิตตนเอง ปัจจุบันบริษัทฯ มี CSR Volunteer เกือบ 900 คน
“ไทยประกันชีวิตดำเนินธุรกิจโดยมุ่งแสวงหากำไรที่พอ เหมาะ หรือ Optimize Profit เพื่อนำกำไรส่วนหนึ่งคืนกลับแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน ทั้งผู้ถือหุ้น พนักงาน ผู้เอาประกัน พันธมิตรธุรกิจ และสังคม เพื่อให้ทุกส่วนได้รับประโยชน์ร่วมกัน ซึ่งการได้รับรางวัลครั้งนี้ถือเป็นความภาคภูมิใจร่วมกัน เนื่องจากเป็นรางวัลที่มีมาตรฐานในการตัดสินชัดเจน มีคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจากหลากหลายองค์กรร่วมตัดสิน ประกอบกับไทยประกันชีวิตเป็นบริษัทประกันชีวิตแห่งแรกและแห่งเดียวที่ได้รับ รางวัล” นายไชยกล่าว
องค์กรธรรมาภิบาล
ขณะเดียวกันบริษัทฯ ยังดำเนินธุรกิจบนหลักธรรมาภิบาล ซื่อสัตย์ สุจริต โปร่งใส และยึดมั่นต่อการดูแลชีวิตผู้เอาประกัน เห็นได้จากการจ่ายเงินสินไหมและเงินผลประโยชน์แก่ผู้เอาประกันอย่างถูกต้อง เป็นธรรม และรวดเร็ว โดยในปี 2551 ที่ผ่านมา บริษัทฯ ดำเนินการจ่ายสินไหมและเงินผลประโยชน์รวมทั้งสิ้น 11,965.7 ล้านบาท แบ่งเป็นเงินสินไหมกว่า 4,740 ล้านบาท เงินผลประโยชน์ทั้งในส่วนเงินปันผล เงินคืนตามเงื่อนไข และเงินครบกำหนดสัญญา 7,225.7 ล้านบาทและยุทธศาสตร์ด้านการเติมเต็มคุณค่าแห่งชีวิต เป็นการเพิ่มความสุขให้แก่คนรอบข้าง เพื่อให้สังคมอยู่ดีมีสุข
เริ่มจากการเติมเต็มคุณค่าในการดำรงชีวิตของบุคลากรทั้งบุคลากรประจำและ บุคลากรฝ่ายขาย ด้วยการพัฒนาศักยภาพ รวมทั้งทักษะความรู้ ความเป็นมืออาชีพ และจริยธรรม เพื่อให้พร้อมส่งมอบความสุข อันหมายถึงการสร้างหลักประกันที่มั่นคงแก่ลูกค้า ตามเป้าหมายการเพิ่มหน่วยของความสุข คือ จำนวนกรมธรรม์ในปีนี้อีกกว่า 600,000 กรมธรรม์
นายไชยกล่าวเพิ่มเติมว่า ไทยประกันชีวิตมีจุดยืนที่ชัดเจน โดยเฉพาะด้านความรับผิดชอบต่อสังคม ซึ่งเราทำมาอย่างต่อเนื่องและยาวนานไม่ต่ำกว่า 20 ปี รวมถึงรณรงค์ให้บุคลากรของเราเป็นพนักงานจิตอาสา หรือ CSR Agent เพื่อให้ทุกคนเห็นความสำคัญของการสร้างคุณค่าให้กับชีวิตของตนเองและผู้อื่น ไปพร้อมๆ กัน
ยุทธศาสตร์ทั้ง 3 นี้ ดร.พิพัฒน์ ยอดพฤติการ ผู้อำนวยการ สถาบันไทยพัฒน์ มูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ กล่าวว่า สถาบันฯ ได้รับมอบหมายให้ศึกษาและจัดทำแผนแม่บทยุทธศาสตร์ด้านความรับผิดชอบต่อสังคม หรือ Corporate Social Responsibility ( CSR ) ของไทยประกันชีวิต โดยพิจารณาจากวิสัยทัศน์ ค่านิยม วิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็ง โอกาสและอุปสรรคของบริษัทฯ เพื่อให้การดำเนินกิจกรรม CSR ของบริษัทฯ เป็นไปอย่างมีแบบแผนและเกิดประสิทธิผลสูงสุด รวมถึงเพื่อรองรับการประกาศมาตรฐาน ISO20006 ซึ่งเป็นมาตรฐานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมโดยเฉพาะ ที่คาดว่าจะประกาศใช้ได้ราวปี 2553
เทรนด์องค์กรทำแผนซีเอสอาร์
ผู้เชี่ยวชาญในด้านการจัดทำยุทธศาสตร์ CSR ผู้ สถาบัน ไทยพัฒน์ มูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทย คนเดิม บอกว่า ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมามีองค์กรธุรกิจและรัฐวิสาหกิจจำนวนมากกำลังหันมาให้ความสำคัญกับ การจัดทำแผนแม่บทด้านความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร หรือแผนแม่บท CSR เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะในปีนี้ เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันกับปีที่ผ่านมา มีองค์กรที่สนใจจัดทำแผนแม่บท CSR เพิ่มขึ้นราว 20-30%
สาเหตุประการแรก มาจากการปรับเปลี่ยนเกณฑ์ของหน่วยงานที่วัดผลและ ประเมินผลองค์กรธุรกิจและรัฐวิสาหกิจ อาทิ บริษัท ไทยเรทติ้งแอนด์อินฟอร์เมชั่นเซอร์วิส จำกัด หรือทริส (TRIS) สถาบันจัดอันดับเครดิตของบริษัท สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) ฯลฯ ที่ปัจจุบันได้เพิ่มเกณฑ์การให้คะแนนองค์กร โดยให้ความสำคัญกับการจัดทำแผนแม่บท CSR อย่างเป็นรูปธรรม รวมไปถึงการตั้งคณะกรรมการด้านความรับผิดชอบต่อสังคม จากเดิมที่หน่วยงานเหล่านี้ไม่เคยกำหนดเรื่อง CSR อยู่ในการประเมินผลเลย
ประการที่สอง มาจากการพัฒนาการด้านความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรในแต่ละองค์กรเอง ที่มองว่าแผนแม่บท CSR จะเป็นการแก้ไขปัญหาหรือเป็นทางออก สำหรับการดำเนินการด้านความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรได้อย่างมี ประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และมีทิศทางที่ชัดเจนยิ่งขึ้น
ประการที่สาม เกิดจากแรงบีบของคู่ค้าในต่างประเทศที่ทำให้องค์กรธุรกิจที่มีคู่ค้าในต่าง ประเทศจำเป็นต้องกำหนดแผนแม่บท CSR ในการขับเคลื่อนเรื่องนี้ในองค์กร
“หากเรามองข้ามแรงบีบต่างๆ ที่ทำให้องค์กรธุรกิจและรัฐวิสาหกิจหลายแห่งต้องหันมาให้ความสำคัญในเรื่อง แผนแม่บท CSR เราจะเห็นว่าการจัดทำแผนแม่บทมีประโยชน์อย่างยิ่งกับการขับเคลื่อน CSR ในองค์กร เพราะเป็นการจัดหมวดหมู่กิจกรรม CSR ที่องค์กรดำเนินการทั้งภายในกระบวนการและภายนอกกระบวนการ อันสอดคล้องกับความเป็นตัวตนขององค์กร สอดคล้องกับวิสัยทัศน์และพันธกิจ ซึ่งจะทำให้การขับเคลื่อน CSR ในองค์กรมีประสิทธิภาพมากขึ้น ขณะเดียวกันแผนแม่บทยังมีประโยชน์ในแง่ของการเป็นเครื่องมือสื่อสาร ทั้งการสื่อสารภายในองค์กรเพื่อที่จะดำเนินการเรื่องนี้ไปในทิศทางเดียวกัน” ดร.พิพัฒน์กล่าว
SVN : เครือข่าย CSR ระดับโลก
เครือข่ายธุรกิจเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม หรือ SVN กำเนิดขึ้นโดยนักธุรกิจชาวอเมริกัน และขยายเครือข่ายไปยังนักธุรกิจที่มีแนวความคิดคล้ายกันในยุโรปและอเมริกา กว่า 2,000 องค์กร สำหรับในประเทศไทยและภูมิภาคเอเชีย เป็นกลุ่มใหม่ที่จะเชื่อมเครือข่ายธุรกิจเพื่อสังคมแห่งโลก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประโยชน์อันพึงมีของผู้บริโภค ชุมชน และสังคม พร้อมกระตุ้นให้องค์กรดำเนินธุรกิจอย่างยุติธรรม ควบคู่ไปกับการรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
ปัจจุบันได้รับเกียรติจากผู้ทรงคุณวุฒิดำรงตำแหน่งที่ปรึกษา อาทิ ศ.นพ.ประเวศ วะสี ราษฎรอาวุโส นายสุลักษณ์ ศิวรักษ์ นักคิดอาวุโส นายอานันท์ ปันยารชุน นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม นายโสภณ สุภาพงษ์ นายปรีดา เตียสุวรรณ โดยมีนายสุทธิชัย เอี่ยมเจริญยิ่ง เป็นประธานเครือข่ายฯ มีพันธกิจหลัก คือ ส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างจิตสำนึกที่นำไปสู่การเคารพสิ่งแวดล้อม คำนึงถึงสิทธิของชุมชนและสังคม และการดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจที่ยุติธรรมสำหรับทุกฝ่าย โดยตระหนักถึงความแตกต่างทางทรัพยากร โอกาสและศักยภาพที่เป็นจริงของแต่ละองค์กรบุคคล
นอกจากนั้นกลุ่มนักธุรกิจ SVN ยังตระหนักถึงบทบาทอันสำคัญในการที่จะดูแลการอยู่ร่วมกันของผู้ได้เปรียบและ เสียเปรียบทางอำนาจเศรษฐกิจ-สังคม ซึ่งความจริงในปัจจุบันบรรษัทข้ามชาติเพียงไม่กี่แห่ง เป็นผู้ทรงอำนาจที่แท้จริงที่ครอบงำโยงใยไปถึงแนวนโยบายการปกครองในประเทศ ต่างๆ โดยผ่านนักการเมืองหรือผู้นำสำคัญของประเทศนั้นๆ
แม้หน่วยงานระดับโลกที่ตั้งขึ้นเพื่อธำรงไว้ซึ่งความเป็นกลาง เพื่อสันติภาพ ความมั่นคงและความชอบธรรมต่างๆ ก็พิสูจน์แล้วว่าไม่อาจเป็นที่พึ่งพาได้ในความยุติธรรมหรือดำรงความเป็นกลาง ได้อย่างแท้จริงอีกต่อไป องค์กรเหล่านั้นกลับเป็นเพียงเครื่องมือของประเทศมหาอำนาจ ที่ใช้อำนาจช่วงชิงโอกาสและใช้กองกำลังอย่างโหดเหี้ยมกับประเทศที่ อ่อนแอกว่า โดยอ้างว่าเป็นความชอบธรรมเพื่อสันติภาพของโลก การกำหนดนโยบายของประเทศชั้นนำตกอยู่ภายใต้อำนาจของกลุ่มการค้าผู้ผูกขาดที่ กุมอำนาจทางการผลิตภาคเกษตรกรรม ภาคอุตสาหกรรมไม่อาจเพาะพันธุ์ในรุ่นต่อไปเองได้อีกต่อไป
โลกของเราถูกครอบงำด้วยวัฒนธรรมการพึ่งพาแบบผูกขาดที่ดิ้นไม่หลุดเสียแล้ว เราจะทำอย่างไรต่อไป ในเมื่อมนุษย์นั้นมีสัญชาตญาณของความต้องการอิสรภาพอย่างยิ่ง บทบาทของสุนัขเฝ้าบ้าน (Watch dog) จึงเป็นหน้าที่สำคัญประการหนึ่งของกลุ่ม SVN ทั่วโลก
[Original Link]