จุดประกายนักธุรกิจภาคเหนือ
เข้าใจ-เข้าถึง-สร้างภาคีซีเอสอาร์
การผลักดันแนวคิดซีเอสอาร์หรือความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรธุรกิจในประเทศไทยปัจจุบัน นอกจากจะเห็นการบรรยายการสัมมนา เสวนาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ อุปสรรค ปัญหา และหาแนวทางยกระดับงานซีเอสอาร์ในส่วนกลางในใจการเมืองหลวงแล้ว ในส่วนภูมิภาค แนวคิดการดำเนินธรุกิจด้วยการใช้กลยุทธ์ซีเอสอาร์เข้าไปในระดับการบริหารการจัดการธรุกิจ พร้อมกับทำงานพัฒนาสังคม แก้ไขปํญญาสังคมและสิ่งแวดล้อม ก็กำลังเป็นเรื่องที่ภาคธรุกิจในส่วนถูมิภาคให้มีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าธุรกิจที่ดำเนินการอยู่ในกรุงเทพมหานคร
ผลักดันซีเอสอาร์ภาคเหนือ
“ดิเรก เครือจินลิ” ผู้ประสานงานโครงการสิ่งแวดล้อมภาคเหนือ มูลนิธิรักษ์ไทย เล่าว่า จากประสบการ์ณทำงานของมูลนิธิรักษ์ไทยในเขตภาคเหนือในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ทำให้พบว่าองค์กรธรุกิจต่างๆ ในถูมิภาคมีความสนใจเรื่องซีเอสอาร์มาก แต่ยังมีปํญหาว่าหลายแห่งขาดความเข้าใจว่าซีเอสอาร์คืออะไร ซีเอสอาร์ทำอย่างไรแล้วจะเริ่มตรงจุดไหน ซึ่งเป็นคำถามที่พบเยอะมากเมื่อไปร่วมงานกับภาคธุรกิจเอกชน ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจในนิคมอุตสาหกรรมลำพูน หรือบริษัทใหญ่ๆ ในเชียงใหม่
แล้วด้วยอุปสรรคในระดับแนวความคิด และการยังไม่พบหนทางของการเริ่มต้น ทำให้เกิดความร่วมมือของภาคธุรกิจเอกชนในภาคเหนือ สถาบันการศึกษา และองค์กรการพัฒนาเอกชน จำกัดโครงการในหัวข้อ “ความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรภาคธุรกิจกับการพัฒนาชุมชนและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติภายใต้วิกฤตโลกร้อน” คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
“นิภา ชมภูป่า” ผู้จัดการโครงการสุขภาพภาคเหนือ มูลนิธิรักษ์ไทย ระบุว่า การจัดการนี้ไม่ได้ได้เกิดจากความต้องการของมูลนิธิรักษ์ไทยเท่านั้น แต่จะเกิดความต้องการของภาคธุรกิจในพื้นที่ที่เราทำงานด้วย
เพราะทั้งมูลนิธิรักษ์ไทยและภาคธรุกิจต่างก็มีประสบการ์ณด้านซีเอสอาร์และอาจมีบางแห่งที่ยังไม่เข้าใจเรื่องซีเอสอาร์มากนัก ยังมองเป็นเพียงเรื่องประชาสัมพันธ์ จึงเป็นที่มาให้เกิดการคุยกันระหว่างภาคธุรกิจและมูลนิธิรักษ์ไทย และ การนำมาสู่การทำซีเอสอาร์ร่วมกันระหว่างภาคธุรกิจหลายๆแห่งกับมูลนิธิรักษ์ไทย
“ความร่วมมือที่กำลังเกิดขึ่นนี้ มีความแตกต่างจากในอดีต ที่บริษัทต่างๆ ในภาคเหนือต่างทำซีเอสอาร์ของตัวเองหรือร่วมกันระหว่างบริษัทที่เป็นพันธมิตรกัน แต่ไม่เคยมีองค์กรภาคประชาชนหรือชุมชนเข้าไปร่วมด้วย นี่จึงเป็นที่มาของการสัมมนาครั้งนี้ เพื่อให้เกิดเป็นการทำงานเพื่อสร้างความเข้าใจเรื่องซีเอสอาร์พร้อมๆกัน แลกเปลี่ยนประสบการณ์ซึ่งกันและกัน แล้วหาทางออกในปัญหาสังคมด้วยกัน” นิภากล่าว
ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวจึงเกิดขึ้นบนความร่วมมือขององค์กรร่วมจัด 15 แห่ง ในเขตภาคเหนือ พร้อมทั้งจัดให้มีการจับคู่บริษัทกับชุมชนและผู้ทำงานพัฒนาสังคม หรือที่เรียกว่า “CSR Matching”
หาภาคีพัฒนาแนวคิดพัฒนาสังคม
“พร้อมบุญ พานิชภักดิ์” เลขาธิการมูลนิธิรักษ์ไทย เล่าถึงการทำงานร่วมกันระหว่างภาคธุรกิจเอกชนและองค์กรพัฒนาเอกชนว่า ที่มูลนิธิรักษ์ไทยเราทำด้านการเผแพร่ความรู้เรื่องซีเอสอาร์ ผ่านบทความ หรือการเข้าไปคุยกับบริษัทต่างๆ ซึ่งที่ผ่านมาเรายื่นยันตลอดว่าเราไม่ได้ขอรับบริจาคอย่างเดียวแต่ต้องการให้มาเป็นภาคีกัน มาร่วมกันทำโครงการอย่างต่อเนื่อง ชักชวนพนักงานมาร่วมงานกัน
โดยโครงการซีเอสอาร์ที่ทำร่วมกับบริษัทเอกชนนั้นมีหลายเรื่อง หลายปัจจัย เช่น เริ่มจากดูว่าบริษัทเอกชนมองเรื่องซีเอศอาร์อย่างไร อย่างที่ดิเรกทำเป็นเรื่องสิ่งแวดล้อม เรื่องการอนุรักษ์ลุ่มน้ำ เรื่องป่าต้นน้ำ ซึ่งจะเน้นให้ชุมชนดูแล ส่วนของนิภาทำเรื่องเด็กและอนามัยเจริญพันธุ์ เด็กที่ได้รับผลกระทบจากเอชไอวี ซึ่งเป็น 2 งานหลักในภาคเหนือ ดั้งนั้นการทำงานร่วมกับภาคธุรกิจจึงต้องดูว่า บริษัทเอกชนสนใจประเด็นเหล่านี้หรือไม่ และจะทำร่วมกันอย่างไร
นอกจากนี้ การทำซีเอสอาร์ต้องมีพนักงานเข้ามาร่วมในกิจกรรมด้วยส่วนรูปแบบกิจกรรมก็ต้องคุยกันเป็นรายๆ ไป เพราะแต่ละบริษัทมีความพร้อมแตกต่างกัน แต่ต้องคุยกันเป็นรายๆ ไป เพราะแต่ละบริษัทมีความพร้อมแตกต่างกัน แต่ต้องเน้นให้เกิดงานช่วยเหลือสังคมพร้อมกับการพัฒนาพักงานในองค์กรธุรกิจไปด้วย
ขณะที่ “นิภา” กล่าวเสริมว่าใน ฐานะที่มูลนิธิรักษ์ไทยมีชุดประสบการณ์เรื่องชุมชน เราก็จะช่วยดูว่าชุมชนใดที่ขาดโอกาส แล้วให้ภาคธุรกิจซึ่งมีเครือข่ายธุรกิจและมีทรัพยากรอยู่เข้าไปร่วมทำงานให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมายให้สอดคล้อง
กับความต้องการจริงๆ
ไขปัญหาจุดเริ่มต้นงานซีเอสอาร์
อย่างไรก็ตาม ภาคธุรกิจจำนวนมากยังมีคำถามว่า จะทำซีเอสอาร์นั้ยต้องเริ่มจากอะไร จะทำซีเอสอาร็ภายในบริษัทก่อนแล้วค่อยทำกิจกรรมกับชุมชนหรือจะทำร่วมกับองค์กรพัฒนาเอกชนเลย มีข้อดี ข้อเสีย ผลลัพธ์อย่างไร ในเรื่องนี้ “ดร.พรชัย ศรีประไพ” รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทอิมพีเรียล เวิลดิ์ จำกัด ให้ข้อคิดไว้ว่าการเริ่มซีเอสอาร์ควรจะทำควบคู่กัน ไประหว่างการทำซีเอสอาร์ควรจะทำควบคู่กันไประหว่างการทำซีเอสอาร์ภายในบริษัทกับการทำร่วมกับองค์กรภาคประชากับการทำร่วมกับองค์กรภาคประชาสังคม
แต่โดยส่วนตัวอยากเน้นที่การทำซีเอสอาร์ภายในบริษัทเป็นสำคัญ เพราะจะเป็นการปลูกจิตสำนึกและสร้างความรู้จักรับผิดชอบของคนภายในองค์กรเป็นการสร้างความรับผิดชอบให้กับคนซึ่งถ้าคนในองค์กรไม่แนวคิดด้านนี้ ถ้าออกไปทำซีเอสอาร์ภายนอกหรือทำร่วมกับคนอื่น มันก็ไม่ได้ผลเท่าที่ควร
ส่วนการไปทำร่วมกับภาคสังคม ผลการทำงานจะได้มากกว่าการไปทำด้วยตัวเอง อย่างที่มูลนิธิรักษ์ไทยสามารถสร้างเครือข่ายให้คนในท้องถิ่นเข้ามาร่วมพลังช่วยกันไม่ใช่ แค่เอกชนไปช่วยท้องถิ่น แต่เป็นการสร้างคนให้ช่วยตัวเอง แล้วองค์กรธุรกิจที่ออกไปทำงานด้านนี้ก็ได้เรียนรู้และพัฒนาตัวเองด้วยซ้ำ เป็นการสร้างจิตสำนึกของคนแต่ละคนให้มันดีขึ้นด้วย
ขณะที่ “ดร. พิพัฒน์ ยอดพฤติการ” ผู้อำนวยการสถาบันไทยพัฒน์ ย้ำถึงกาครทำซีเอสอาร์นอกการดำเนินธุรกิจให้ชุมชนหรือสังคมสามารถยืนอยู่ได้ด้วยขาของตัวเอง
“การทำซีเอสอาร์อย่างยั่งยืนนั้น เป็นเรื่องที่จำเป็นเรืองที่จำเป็นทั้งขององค์กรและสังคมเพื่อให้ชุมชนใดชุมชนหนึ่งสามารถพัฒนา และยกระดับตนเองและชุมชนให้สามารถยื่นอยู่บนขาของตัวเองได้ในที่สุด แม้เมื่อบริษัทออกมาจากพื้นที่แล้วก็ตาม”
“ส่วนการให้ที่มีเจตนาดี แต่ไม่สามารถทำให้ชุมชนยืนบนขาตัวเองได้ อันนี้ก็ต้องตั้งคำถามแล้วว่า เป็นซีเอสอาร์ที่ยังยืนหรือ แล้วอาจจะกลายเป็นเจตนาดีแต่ส่งผลร้ายต่อผู้รับ และไม่ใช่ปรัชญาของซีเอสอาร์”
อีกทั้งให้ข้อคิดกับธรุกิจเอกชนที่กำลังเน้นการทำกิจกรรมที่สังคมและมองเรื่องซีเอสอาร์ในมิตินอกการบริหารจัดการธุรกิจด้วยว่า ภารกิจหลักของธุรกิจคือการทำธรุกิจ การทำซีเอสอาร์นอกงานองค์กรวันนึงต้องมีการสิ้นสุดดังนั้นบริษัทต้องพิจารณาว่าโครงการต่างๆนั้นทำให้ชุมชนอยู่ได้ด้วยตัวเองต่อไปหรือไม่
“ความยั่งยืนของซีเอสอาร์ในมุมมองขององค์กรธุรกิจ คือต้องโยงเข้ามากับความยั่งยืนของธุรกิจ การเติบโตของธุรกิจผ่านซีเอสอาร์ในกระบวนการดำเนินธรุกิจ เพราะทำให้ซีเอสอาร์อยู่ในกระบวนการทำธรุกิจทำให้ต่อเนื่องและสัมฤทธิผล”
พร้อมทั้งท้ายว่า การมองความยั่งยืนเพราะความต่อเนื่องของการให้ไม่ได้ส่งผลถึงความยั่งยืนในตัวมันเอง
“การให้เพียงครั้งเดียว แต่ผู้รับสามารถไปทำประโยชน์ต่อ เกิดดอกออกผลด้วยตนเองได้ อันนี้ก็ถือเป็นความยั่งยืนเช่นกัน เหมือนกับการธรุกิจที่มีเงินทุนเงินทุนจดทะเบียนก่อนแรก 1-2 ล้านบาท แล้วใช้เงินจำนวนนี้จนเกิดดอกออกผลแล้วอยู่ได้ด้วยเงินทุนเท่านี้ นี่คือความยั่งยืน แต่ถ้าต้องเอาเงินก้อนอื่นลงไปเรื่อยๆแล้วไม่ได้ดอกผลคืนมา ถือว่าไม่มีความยั่งยืน” ดร.พิพัฒน์กล่าว
[ประชาชาติธุรกิจ]
การผลักดันแนวคิดซีเอสอาร์หรือความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรธุรกิจในประเทศไทยปัจจุบัน นอกจากจะเห็นการบรรยายการสัมมนา เสวนาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ อุปสรรค ปัญหา และหาแนวทางยกระดับงานซีเอสอาร์ในส่วนกลางในใจการเมืองหลวงแล้ว ในส่วนภูมิภาค แนวคิดการดำเนินธรุกิจด้วยการใช้กลยุทธ์ซีเอสอาร์เข้าไปในระดับการบริหารการจัดการธรุกิจ พร้อมกับทำงานพัฒนาสังคม แก้ไขปํญญาสังคมและสิ่งแวดล้อม ก็กำลังเป็นเรื่องที่ภาคธรุกิจในส่วนถูมิภาคให้มีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าธุรกิจที่ดำเนินการอยู่ในกรุงเทพมหานคร
ผลักดันซีเอสอาร์ภาคเหนือ
“ดิเรก เครือจินลิ” ผู้ประสานงานโครงการสิ่งแวดล้อมภาคเหนือ มูลนิธิรักษ์ไทย เล่าว่า จากประสบการ์ณทำงานของมูลนิธิรักษ์ไทยในเขตภาคเหนือในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ทำให้พบว่าองค์กรธรุกิจต่างๆ ในถูมิภาคมีความสนใจเรื่องซีเอสอาร์มาก แต่ยังมีปํญหาว่าหลายแห่งขาดความเข้าใจว่าซีเอสอาร์คืออะไร ซีเอสอาร์ทำอย่างไรแล้วจะเริ่มตรงจุดไหน ซึ่งเป็นคำถามที่พบเยอะมากเมื่อไปร่วมงานกับภาคธุรกิจเอกชน ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจในนิคมอุตสาหกรรมลำพูน หรือบริษัทใหญ่ๆ ในเชียงใหม่
แล้วด้วยอุปสรรคในระดับแนวความคิด และการยังไม่พบหนทางของการเริ่มต้น ทำให้เกิดความร่วมมือของภาคธุรกิจเอกชนในภาคเหนือ สถาบันการศึกษา และองค์กรการพัฒนาเอกชน จำกัดโครงการในหัวข้อ “ความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรภาคธุรกิจกับการพัฒนาชุมชนและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติภายใต้วิกฤตโลกร้อน” คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
“นิภา ชมภูป่า” ผู้จัดการโครงการสุขภาพภาคเหนือ มูลนิธิรักษ์ไทย ระบุว่า การจัดการนี้ไม่ได้ได้เกิดจากความต้องการของมูลนิธิรักษ์ไทยเท่านั้น แต่จะเกิดความต้องการของภาคธุรกิจในพื้นที่ที่เราทำงานด้วย
เพราะทั้งมูลนิธิรักษ์ไทยและภาคธรุกิจต่างก็มีประสบการ์ณด้านซีเอสอาร์และอาจมีบางแห่งที่ยังไม่เข้าใจเรื่องซีเอสอาร์มากนัก ยังมองเป็นเพียงเรื่องประชาสัมพันธ์ จึงเป็นที่มาให้เกิดการคุยกันระหว่างภาคธุรกิจและมูลนิธิรักษ์ไทย และ การนำมาสู่การทำซีเอสอาร์ร่วมกันระหว่างภาคธุรกิจหลายๆแห่งกับมูลนิธิรักษ์ไทย
“ความร่วมมือที่กำลังเกิดขึ่นนี้ มีความแตกต่างจากในอดีต ที่บริษัทต่างๆ ในภาคเหนือต่างทำซีเอสอาร์ของตัวเองหรือร่วมกันระหว่างบริษัทที่เป็นพันธมิตรกัน แต่ไม่เคยมีองค์กรภาคประชาชนหรือชุมชนเข้าไปร่วมด้วย นี่จึงเป็นที่มาของการสัมมนาครั้งนี้ เพื่อให้เกิดเป็นการทำงานเพื่อสร้างความเข้าใจเรื่องซีเอสอาร์พร้อมๆกัน แลกเปลี่ยนประสบการณ์ซึ่งกันและกัน แล้วหาทางออกในปัญหาสังคมด้วยกัน” นิภากล่าว
ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวจึงเกิดขึ้นบนความร่วมมือขององค์กรร่วมจัด 15 แห่ง ในเขตภาคเหนือ พร้อมทั้งจัดให้มีการจับคู่บริษัทกับชุมชนและผู้ทำงานพัฒนาสังคม หรือที่เรียกว่า “CSR Matching”
หาภาคีพัฒนาแนวคิดพัฒนาสังคม
“พร้อมบุญ พานิชภักดิ์” เลขาธิการมูลนิธิรักษ์ไทย เล่าถึงการทำงานร่วมกันระหว่างภาคธุรกิจเอกชนและองค์กรพัฒนาเอกชนว่า ที่มูลนิธิรักษ์ไทยเราทำด้านการเผแพร่ความรู้เรื่องซีเอสอาร์ ผ่านบทความ หรือการเข้าไปคุยกับบริษัทต่างๆ ซึ่งที่ผ่านมาเรายื่นยันตลอดว่าเราไม่ได้ขอรับบริจาคอย่างเดียวแต่ต้องการให้มาเป็นภาคีกัน มาร่วมกันทำโครงการอย่างต่อเนื่อง ชักชวนพนักงานมาร่วมงานกัน
โดยโครงการซีเอสอาร์ที่ทำร่วมกับบริษัทเอกชนนั้นมีหลายเรื่อง หลายปัจจัย เช่น เริ่มจากดูว่าบริษัทเอกชนมองเรื่องซีเอศอาร์อย่างไร อย่างที่ดิเรกทำเป็นเรื่องสิ่งแวดล้อม เรื่องการอนุรักษ์ลุ่มน้ำ เรื่องป่าต้นน้ำ ซึ่งจะเน้นให้ชุมชนดูแล ส่วนของนิภาทำเรื่องเด็กและอนามัยเจริญพันธุ์ เด็กที่ได้รับผลกระทบจากเอชไอวี ซึ่งเป็น 2 งานหลักในภาคเหนือ ดั้งนั้นการทำงานร่วมกับภาคธุรกิจจึงต้องดูว่า บริษัทเอกชนสนใจประเด็นเหล่านี้หรือไม่ และจะทำร่วมกันอย่างไร
นอกจากนี้ การทำซีเอสอาร์ต้องมีพนักงานเข้ามาร่วมในกิจกรรมด้วยส่วนรูปแบบกิจกรรมก็ต้องคุยกันเป็นรายๆ ไป เพราะแต่ละบริษัทมีความพร้อมแตกต่างกัน แต่ต้องคุยกันเป็นรายๆ ไป เพราะแต่ละบริษัทมีความพร้อมแตกต่างกัน แต่ต้องเน้นให้เกิดงานช่วยเหลือสังคมพร้อมกับการพัฒนาพักงานในองค์กรธุรกิจไปด้วย
ขณะที่ “นิภา” กล่าวเสริมว่าใน ฐานะที่มูลนิธิรักษ์ไทยมีชุดประสบการณ์เรื่องชุมชน เราก็จะช่วยดูว่าชุมชนใดที่ขาดโอกาส แล้วให้ภาคธุรกิจซึ่งมีเครือข่ายธุรกิจและมีทรัพยากรอยู่เข้าไปร่วมทำงานให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมายให้สอดคล้อง
กับความต้องการจริงๆ
ไขปัญหาจุดเริ่มต้นงานซีเอสอาร์
อย่างไรก็ตาม ภาคธุรกิจจำนวนมากยังมีคำถามว่า จะทำซีเอสอาร์นั้ยต้องเริ่มจากอะไร จะทำซีเอสอาร็ภายในบริษัทก่อนแล้วค่อยทำกิจกรรมกับชุมชนหรือจะทำร่วมกับองค์กรพัฒนาเอกชนเลย มีข้อดี ข้อเสีย ผลลัพธ์อย่างไร ในเรื่องนี้ “ดร.พรชัย ศรีประไพ” รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทอิมพีเรียล เวิลดิ์ จำกัด ให้ข้อคิดไว้ว่าการเริ่มซีเอสอาร์ควรจะทำควบคู่กัน ไประหว่างการทำซีเอสอาร์ควรจะทำควบคู่กันไประหว่างการทำซีเอสอาร์ภายในบริษัทกับการทำร่วมกับองค์กรภาคประชากับการทำร่วมกับองค์กรภาคประชาสังคม
แต่โดยส่วนตัวอยากเน้นที่การทำซีเอสอาร์ภายในบริษัทเป็นสำคัญ เพราะจะเป็นการปลูกจิตสำนึกและสร้างความรู้จักรับผิดชอบของคนภายในองค์กรเป็นการสร้างความรับผิดชอบให้กับคนซึ่งถ้าคนในองค์กรไม่แนวคิดด้านนี้ ถ้าออกไปทำซีเอสอาร์ภายนอกหรือทำร่วมกับคนอื่น มันก็ไม่ได้ผลเท่าที่ควร
ส่วนการไปทำร่วมกับภาคสังคม ผลการทำงานจะได้มากกว่าการไปทำด้วยตัวเอง อย่างที่มูลนิธิรักษ์ไทยสามารถสร้างเครือข่ายให้คนในท้องถิ่นเข้ามาร่วมพลังช่วยกันไม่ใช่ แค่เอกชนไปช่วยท้องถิ่น แต่เป็นการสร้างคนให้ช่วยตัวเอง แล้วองค์กรธุรกิจที่ออกไปทำงานด้านนี้ก็ได้เรียนรู้และพัฒนาตัวเองด้วยซ้ำ เป็นการสร้างจิตสำนึกของคนแต่ละคนให้มันดีขึ้นด้วย
ขณะที่ “ดร. พิพัฒน์ ยอดพฤติการ” ผู้อำนวยการสถาบันไทยพัฒน์ ย้ำถึงกาครทำซีเอสอาร์นอกการดำเนินธุรกิจให้ชุมชนหรือสังคมสามารถยืนอยู่ได้ด้วยขาของตัวเอง
“การทำซีเอสอาร์อย่างยั่งยืนนั้น เป็นเรื่องที่จำเป็นเรืองที่จำเป็นทั้งขององค์กรและสังคมเพื่อให้ชุมชนใดชุมชนหนึ่งสามารถพัฒนา และยกระดับตนเองและชุมชนให้สามารถยื่นอยู่บนขาของตัวเองได้ในที่สุด แม้เมื่อบริษัทออกมาจากพื้นที่แล้วก็ตาม”
“ส่วนการให้ที่มีเจตนาดี แต่ไม่สามารถทำให้ชุมชนยืนบนขาตัวเองได้ อันนี้ก็ต้องตั้งคำถามแล้วว่า เป็นซีเอสอาร์ที่ยังยืนหรือ แล้วอาจจะกลายเป็นเจตนาดีแต่ส่งผลร้ายต่อผู้รับ และไม่ใช่ปรัชญาของซีเอสอาร์”
อีกทั้งให้ข้อคิดกับธรุกิจเอกชนที่กำลังเน้นการทำกิจกรรมที่สังคมและมองเรื่องซีเอสอาร์ในมิตินอกการบริหารจัดการธุรกิจด้วยว่า ภารกิจหลักของธุรกิจคือการทำธรุกิจ การทำซีเอสอาร์นอกงานองค์กรวันนึงต้องมีการสิ้นสุดดังนั้นบริษัทต้องพิจารณาว่าโครงการต่างๆนั้นทำให้ชุมชนอยู่ได้ด้วยตัวเองต่อไปหรือไม่
“ความยั่งยืนของซีเอสอาร์ในมุมมองขององค์กรธุรกิจ คือต้องโยงเข้ามากับความยั่งยืนของธุรกิจ การเติบโตของธุรกิจผ่านซีเอสอาร์ในกระบวนการดำเนินธรุกิจ เพราะทำให้ซีเอสอาร์อยู่ในกระบวนการทำธรุกิจทำให้ต่อเนื่องและสัมฤทธิผล”
พร้อมทั้งท้ายว่า การมองความยั่งยืนเพราะความต่อเนื่องของการให้ไม่ได้ส่งผลถึงความยั่งยืนในตัวมันเอง
“การให้เพียงครั้งเดียว แต่ผู้รับสามารถไปทำประโยชน์ต่อ เกิดดอกออกผลด้วยตนเองได้ อันนี้ก็ถือเป็นความยั่งยืนเช่นกัน เหมือนกับการธรุกิจที่มีเงินทุนเงินทุนจดทะเบียนก่อนแรก 1-2 ล้านบาท แล้วใช้เงินจำนวนนี้จนเกิดดอกออกผลแล้วอยู่ได้ด้วยเงินทุนเท่านี้ นี่คือความยั่งยืน แต่ถ้าต้องเอาเงินก้อนอื่นลงไปเรื่อยๆแล้วไม่ได้ดอกผลคืนมา ถือว่าไม่มีความยั่งยืน” ดร.พิพัฒน์กล่าว
เอกชนภาคเหนือตั้ง “Northern CSR Club” ความสนใจในเรื่องซีเอสอาร์ ของนักธุรกิจภาคเหนือ มีเสียงสะท้อนจากการเชิญชวนของนักธุรกิจในท้องถิ่น ประกอบกับความร่วมมือของ 3 ประสานคือ ธุรกิจ สถานบันการศึกษา และองค์กรพัฒนาชุมชน ซึ่งกำลังอยู่ระหว่างการจัดตั้ง “ชมรมนักธุรกิจเพื่อสังคมภาคเหนือ หรือ Northern CSR Club “ดิเรก เครือจินลิ” ผู้ประสานงาน โครงการสิ่งแวดล้อมภาคเหนือ มูลนิธิรักษ์ไทย ระบุว่า ขณะนี้ กำลังมีการรวมตัวของนักธุรกิจภาคเหนือตั้งเป็นชมรมนักธุรกิจเพื่อสังคมภาคเหนือ หรือซีเอสอาร์คลับ เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลและทำงานร่วมกัน และมีคณะบริหารธุรกิจมหาวิทยาลัยเชียงใหม่มาร่วมวางแผนระยะยาว ขณะที่ “รศ. บุญสวาท พฤกษิกานนท์” คณบดีคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ระบุว่า ที่คณะเพิ่งมีการกำหนด การสร้างความสามารถหลัก ( CORECOMPETENCY) ด้วยการแทรกเรื่องซีเอสอาร์และกิจการเพื่อสังคม เข้าไปในวิชาต่างๆ เช่น ในระดับปริญาตรีมีภาควิชาการจัดการ สอนเรื่องผู้ประกอบการต้องคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมและการให้ประโยชน์คืนกลับสู่สังคม เพราะในตำราแต่เดิมก็พูดถึง เรื่องนี้ว่าป็น Maximize wealth และ “ความมั่นคง” หรือ Wealth นั้นก็คือเป็นซีเอสอาร์นั่นเอง “ดร. ธนศักดิ์ วหาวิศาล” กรรมการการบริหาร บริษัท น้ำมัน อพอลโลไทย จำกัด กล่าวว่า ในแง่ ของธุรกิจ คุณต้องวิ่งแข่ง แข่งขันตลอดเวลา แข่งไม่รู้จบ แล้วถามว่าการแข่งขันของภาคธุรกิจในเวลาที่ คนบนโลกนี้ ยังอดยากอยู่มากมายการแข่งขันของนักธุรกิจมันดีแล้วหรือทั้งที่ธุรกิจอาจส่งผลกับสิ่งแวดล้อม และการทำธุรกิจหนึ่งเพียงแห่งเดียวย่อมไม่เพียงพอ ดั้งนั้นจึงต้องการใพ้เพื่อนนักธุรกิจช่วยกันคิดช่วยกันทำ และคิดว่าโลกจะน่าอยู่มากขึ้น |
[ประชาชาติธุรกิจ]