Thaipat Institute

GRI Certified Training Partner นับตั้งแต่ปี พ.ศ.2556

รู้จัก    CG   ¦   ESG   ¦   CSR   ¦   CSV   ¦   SD   ¦   SE   ¦   SB

ซีเอสอาร์ อะวอร์ด จุดประกายธุรกิจรับผิดชอบสังคม


ประกาศ ผลไปเรียบร้อยแล้วสำหรับการประกาศรางวัล SET Awards ที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) จัดขึ้นเพื่อประกาศเกียรติคุณ เชิดชูการทำความดี ยกย่องผลการดำเนินงานอันยอดเยี่ยมแก่ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับตลาดทุนไทย ซึ่งนอกจากจะเป็นการมอบรางวัลให้แก่บริษัทในตลาดหลักทรัพย์ฯที่มีความเป็น เลิศในด้านต่าง ๆ แล้ว หนึ่งในนั้นยังมีการมอบรางวัลให้แก่บริษัท จดทะเบียนที่มีความดีเด่นด้าน CSR หรือ CSR Awards ที่จัดขึ้นเป็นปีที่ 5 เพื่อมอบรางวัลให้แก่บริษัทจดทะเบียน ที่มีความโดดเด่นในการดำเนินธุรกิจอย่างรับผิดชอบต่อสังคม และช่วยการส่งเสริมสนับสนุนและเผยแพร่เกียรติคุณของบริษัทจดทะเบียนที่ได้ รับการพิจารณาคัดเลือกเป็นแบบอย่างให้องค์กรธุรกิจอื่น ๆ และส่งเสริมให้เกิดการดำเนินธุรกิจที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมที่ต่อเนื่อง ยิ่งขึ้น

โดยมีการจัดแบ่งเป็น 6 รางวัลตามเกณฑ์มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด เพื่อให้ครอบคลุมการพิจารณาผลงานด้าน CSR ของบริษัทจดทะเบียนที่ไม่จำกัดเฉพาะบริษัทขนาดใหญ่ และเปิดโอกาสให้บริษัทจดทะเบียนซึ่งมีมูลค่าตลาดต่างกันได้รับการพิจารณา อย่างทั่วถึงและเทียบเคียงในระดับขนาดเดียวกัน

จากบริษัทจดทะเบียน ที่ส่งแบบสำรวจเพื่อเข้าร่วมการพิจารณารับรางวัลทั้งหมด 104 บริษัท มีบริษัทที่ผ่านเกณฑ์คัดกรองเบื้องต้น (screening) ซึ่งใช้เกณฑ์เดียวกับรางวัล Top Corporate Governance Report Awards ทั้งสิ้น 74 บริษัท

ผลปรากฏว่าบริษัทที่ได้รับรางวัล CSR Awards ในปี 2554 มีจำนวน 3 บริษัท ได้แก่ บมจ.ปตท. (PTT), บมจ.สมบูรณ์ แอ๊ดวานซ์ เทคโนโลยี (SAT) และ บมจ.ศูนย์บริการเหล็กสยาม (SSSC) และมีบริษัทที่ได้รับรางวัลเกียรติยศแห่งความสำเร็จ (SET Award of Honor) ที่มีความเป็นเลิศในด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ บมจ.บางจากปิโตรเลียม (BPC) และ บมจ.ปูนซิเมนต์ไทย (SCG) ที่ได้รับรางวัล CSR Awards มาแล้ว 4 ปีซ้อน คือตั้งแต่ปี 2551-2554


ส่วน บริษัท 3 กลุ่มหลังที่มีมูลค่า หลักทรัพย์ตามราคาตลาดไม่เกิน 10,000 ล้านบาท กลุ่มที่ 3 และกลุ่มที่ 4 รวมถึงบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เอ็มเอไอ (mai) ไม่มีผู้ได้รับรางวัล

"ศิริชัย สาครรัตนกุล" ประธานคณะกรรมการพิจารณารางวัลบริษัทจดทะเบียนดีเด่นด้าน CSR กล่าวถึงบรรยากาศการเข้าร่วมพิจารณารางวัลของบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ฯว่ามี จำนวนลดลงกว่าปีที่แล้วเป็นจำนวนมาก ซึ่งคาดว่าน่าจะเป็นผลจากหลักเกณฑ์ของคณะกรรมการที่มีความเข้มข้นมากขึ้นทำ ให้บางบริษัทเห็นว่ามีบางส่วนต้องปรับอีกมาก โดยเฉพาะบริษัทที่มีมูลค่าการตลาดต่ำลงมายังไม่มีบริษัทใดเข้าตากรรมการเลย แต่ไม่ได้หมายความว่าบริษัทเหล่านี้ไม่มีซีเอสอาร์ เพียงแต่ยังทำไม่ถึงตามเกณฑ์ที่คณะกรรมการกำหนด

"2 ปีที่ผ่านมาเรามีหลักพิจารณาที่เข้มงวดขึ้น นอกจากจะส่งแบบสอบถามให้แต่ละบริษัทกรอกแล้ว ยังมีการเชิญเข้ามาสัมภาษณ์พร้อมเอกสารข้อมูลประกอบเพื่อให้เห็นว่าเขาทำ จริง พบว่าบางบริษัทมีไอเดียที่ดี แต่ยังเด่นเฉพาะด้าน และยังมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องซีเอสอาร์ที่ไม่ถูกหลัก แต่อย่างน้อยได้เห็นถึงความตั้งใจที่จะทำ อย่างไรก็ตามใน 2-3 ปีให้หลังนี้เห็นว่าบริษัทต่างเข้าใจมากขึ้นว่าซีเอสอาร์ไม่ใช่แค่การบริจาค แต่เป็นการปรับกระบวนการทำงานทั้งภายนอก-ภายในเพื่อให้เกิดความยั่งยืนไป ด้วยกัน"

นอกจากนี้ ศิริชัยยังแสดงวิสัยทัศน์ถึงความเป็นไปได้ในการพัฒนางานด้านความรับผิดชอบ ต่อสังคมของบริษัท จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ถึงความพยายามในการผลักดันให้เกิด Set SI หรือ Set Sustainability Index ซึ่งเป็นการรวบรวมบริษัทที่มีการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน เพื่อให้เกิดเป็น SRI (Sustainable and Responsible Investment) หรือการลงทุนที่รับผิดชอบต่อสังคม เพื่อให้คนมีเงินสามารถเข้ามาลงทุนในบริษัทที่ดีได้

สำหรับหลักเกณฑ์ การพิจารณา เข้มข้นในปีนี้ "ดร.พิพัฒน์ ยอดพฤติการ" ผู้อำนวยการสถาบันไทยพัฒน์ มูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ หนึ่งในคณะกรรมการบอกว่าจะพิจารณาคัดเลือกบริษัท จดทะเบียนดีเด่นด้าน CSR จากนโยบาย วิสัยทัศน์ การมีส่วนร่วมของคณะกรรมการบริษัท

รวมถึงข้อมูลการดำเนินงานด้าน ความรับผิดชอบต่อสังคมของบริษัท จดทะเบียนที่เกี่ยวข้องและเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียกับบริษัท จดทะเบียนทุกฝ่าย ทั้งที่อยู่ในกระบวนการและอยู่นอกเหนือกระบวนการดำเนินธุรกิจหลักของบริษัท ใน 8 ด้านตามแนวทางเข็มทิศธุรกิจเพื่อสังคม ตลอดจนพิจารณาถึงความต่อเนื่องและยั่งยืนของการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบ ต่อสังคม

"ในปีนี้เราคำนึงถึงประเด็น ESG ที่สะท้อนการทำงาน CSR ขององค์กรทั้งในมิติสิ่งแวดล้อม (environment) สังคม (social) และบรรษัทภิบาล (governance) ที่เป็นหลักการสำคัญของการพัฒนาที่ยั่งยืนตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง รวมทั้งการสร้างนวัตกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาชุมชน สังคม และการรักษาสิ่งแวดล้อม ตลอดจนผลของการดำเนินกิจกรรมเพื่อสังคมทั้งที่อยู่และมิได้อยู่ในกระบวนการ ดำเนินธุรกิจหลักของบริษัท มาเป็นตัวชี้วัดที่สำคัญในการพิจารณารางวัลด้วย"

ดร.พิพัฒน์ ยังกล่าวเพิ่มเติมด้วยว่า ที่ผ่านมาบริษัทจดทะเบียนส่วนใหญ่เริ่มเข้าใจการทำซีเอสอาร์ที่มากกว่าการบ ริจาค แต่นำเข้าไปในกระบวนการของธุรกิจมากขึ้น แต่จุดอ่อนที่เห็นได้ชัดคือด้านเครือข่ายที่จะต้องร่วมกันทำงานด้านความรับ ผิดชอบต่อสังคม โดยเฉพาะบริษัทขนาดกลางและขนาดเล็กหรือเอสเอ็มอี

อย่าง ไรก็ตาม ในปี 2555 มีแผนผลักดันให้บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯมีความรู้ความเข้าใจในการ จัดทำรายงานตามมาตรฐานของ Global Reporting Initiative หรือ GRI ซึ่งเป็น สิ่งที่ควรทำเนื่องจากจะช่วยให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่น ๆ สามารถตรวจสอบและประเมินธุรกิจได้อย่างโปร่งใส โดยจะจัดทำคู่มือแนวทางในการจัดทำรายงานให้ ซึ่ง GRI อาจถูกนำมาใช้เป็นหลักเกณฑ์ในการพิจารณาในปีต่อ ๆ ไปหากได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการท่านอื่น

ทั้งหมดจึงเป็นความ เคลื่อนไหวและทิศทางด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลัก ทรัพย์ฯที่นับว่าเป็นหัวขบวนใหญ่ในการขับเคลื่อนซีเอสอาร์และแบบอย่างให้แก่ บริษัทอื่น ๆ ที่น่าติดตามต่อว่าในปีหน้าจะเกิดความเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง


[Original Link]