“การตลาดทางสังคม” มาแรง
ดันมูลค่าโฆษณา CSR พุ่งหมื่นล้าน
สถาบันไทยพัฒน์ ในฐานะหน่วยงานที่ติดตามความเคลื่อนไหวและศึกษาเพื่อสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง CSR หรือ ความรับผิดชอบต่อสังคม (Corporate Social Responsibility) ในประเทศไทย ทุกปีก็จะมีการประมวลข้อมูลและสรุปเป็นรายงานสะท้อนให้เห็นทิศทางของพัฒนาการด้าน CSR ในวงการธุรกิจบ้านเรา
ล่าสุด ดร.พิพัฒน์ ยอดพฤติการ ผู้อำนวยการสถาบันไทยพัฒน์ได้ระบุในรายงานว่า ปี 2555 แนวโน้มการใช้กลยุทธ์ที่เรียกว่า “การตลาดทางสังคม” (Societal Marketing) มาแรง ! ซึ่งมีประเด็นที่น่าสนใจผมจึงขอเรียบเรียงข้อมูลดังกล่าวมาเสนอต่อท่านผู้อ่าน
จากผลพวงจากสถานการณ์น้ำท่วมใหญ่ปลายปีที่ผ่านมา ได้ส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของประชาชนใน 65 จังหวัด หรือคิดเป็น 84% ของประเทศ และปัจจุบันก็ยังคงมีพื้นที่ประสบอุทกภัยเหลืออยู่ในบางจังหวัดที่ต้องดำเนินการช่วยเหลือ ฟื้นฟู และเยียวยากันพักใหญ่จนกว่าเราได้เห็นกลับเข้าสู่ภาวะปกติ
บทบาทของภาคธุรกิจที่สามารถระดมทรัพยากรเพื่อใช้ในการช่วยเหลือ บรรเทาทุกข์ และฟื้นฟูหลังการเกิดอุทกภัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีการมอบเงินบริจาค อาหาร สิ่งของอุปโภคบริโภค และวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ที่มีมูลค่ารวมกันเป็นหลักพันล้านบาทในชั่วระยะเวลาสั้นๆ อีกทั้งมีพนักงานจิตอาสาจากองค์กรธุรกิจต่างๆ ที่เข้าช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบทั้งในระหว่างและหลังประสบภัยน้ำท่วม ร่วมกับภาครัฐและภาคประชาสังคม รวมทั้งทหารจากทุกเหล่าทัพ ตลอดห้าเดือนที่ผ่านมา
โดยเฉพาะหลังน้ำลดภาคธุรกิจจะมีบทบาทสำคัญเพิ่มมากขึ้นในช่วงฟื้นฟู (Recovery) นับจากนี้ไปอีก 1-3 ปี นั่นหมายความว่า ในปี 2555 จะมีกิจกรรมทางธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการฟื้นฟูในลักษณะต่างๆให้ได้เห็นอย่างกว้างขวาง
ในรายงานของ World Economic Forum (Disaster Resource Partnership: A New Private-Public Partnership Model for Disaster Response, November 2010) ได้ประมวลลักษณะการมีส่วนร่วมของภาคเอกชนผ่านกิจกรรมทางธุรกิจทั้งในแบบที่ไม่คิดมูลค่า (Pro Bono) หรือคิดเท่าทุน (At Cost) หรือแสวงหากำไร (For Profit) ในแต่ละระยะหลังภัยพิบัติ ไว้ดังนี้
การเผยแพร่สื่อสาร CSR
ในช่วงต้นปีใหม่หลังจากที่องค์กรธุรกิจหลายแห่งได้เสร็จสิ้นภารกิจในการเข้าร่วมช่วยเหลือและบรรเทาทุกข์ผู้ประสบภัย จะมีการประมวลภาพความช่วยเหลือและกิจกรรมเพื่อสังคมในรูปแบบต่างๆ ลักษณะการร่วมทุกข์ร่วมสุข การให้กำลังใจผู้ประสบภัย การแสดงความขอบคุณ และการสื่อว่าองค์กรพร้อมร่วมเดินเคียงข้างในภาวะวิกฤต โดยมีความมุ่งหมายที่จะสร้างความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับสังคมกลุ่มเป้าหมาย และเสริมสร้างภาพลักษณ์ขององค์กรหรือตราสินค้าให้เป็นที่ยอมรับของสังคมเพิ่มขึ้น
การเผยแพร่ภาพความรับผิดชอบต่อสังคม หรือการโฆษณากิจกรรมเพื่อสังคมเหล่านี้ จัดเป็นเครื่องมือในการสื่อสารชนิดหนึ่งขององค์กรที่สามารถใช้สร้างความผูกพัน (Engagement) กับผู้มีส่วนได้เสียและสังคมในวงกว้าง ที่หลายองค์กรเหมารวมว่าเป็นซีเอสอาร์ หรือจัดให้อยู่ในงบประมาณหรือค่าใช้จ่ายของการทำซีเอสอาร์ด้วย
แต่ความเป็นจริง ต้องถือว่าเป็นการสื่อสารเพื่อองค์กร หรือควรจัดเป็นงบค่าใช้จ่ายในการโฆษณาเชิงประชาสัมพันธ์เพื่อองค์กร เพียงแต่นำเสนอภาพการทำกิจกรรมซีเอสอาร์ หรือใช้กิจกรรมซีเอสอาร์เป็นตัวเดินเรื่อง แทนการนำเสนอสินค้าหรือบริการตามปกติ
เม็ดเงินในธุรกิจโฆษณาของไทยโดยรวมในปี 54 ประมาณ 1 แสนล้านบาท (ร้อยละ 58.2 เป็นโฆษณาทางโทรทัศน์) หากนำอัตราการเติบโตที่ประมาณการสำหรับปี 55 ทั่วโลก ของ ZenithOptimedia ที่ร้อยละ 3.1-4.7 และของ GroupM ที่ร้อยละ 5-6.4 รวมทั้งตัวเลขการเติบโตจริงของไทยในไตรมาสสาม ปี 54 เทียบกับปีก่อนหน้าซึ่งเผยแพร่โดย Nielsen ที่ร้อยละ 6 กับตัวเลขการเติบโตเฉลี่ยของตลาดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ร้อยละ 15 ของปี 54 มาพิจารณารวมกับปัจจัยการฟื้นตัวของตลาดหลังจากสถานการณ์อุทกภัย ก็น่าเชื่อได้ว่า ตลาดโฆษณาในปี 55 จะมีความคึกคักเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 6-13 หรือมากกว่า หากไม่มีวิกฤติอื่นซ้ำเติม
ดังนั้น หากประมาณการสัดส่วนโฆษณาที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับความรับผิดชอบต่อสังคมและการฟื้นฟูหลังอุทกภัยไว้ขั้นต่ำที่ร้อยละ 10 ของตลาด การโฆษณาซีเอสอาร์ก็จะมีมูลค่ารวมกันไม่ต่ำกว่าหลักหมื่นล้านบาทในปี 55
CSR ช่วยฟื้นฟู
ในปีนี้สถานการณ์หลังอุทกภัยที่ได้สร้างความเสียหายทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม คิดเป็นมูลค่านับแสนล้านบาท จะนำไปสู่กระบวนการฟื้นฟูอย่างขนานใหญ่ ความคาดหวังของสังคมที่มีต่อภาคเอกชน จะผลักดันให้องค์กรธุรกิจทุกขนาดเข้าร่วมในกระบวนการฟื้นฟูตามแต่คุณลักษณะ ถิ่นที่ตั้ง และความเกี่ยวเนื่องของธุรกิจนั้นๆ
สิ่งท้าทายสำคัญของกลยุทธ์การฟื้นฟูในการที่จะคงสภาพการดำรงอยู่ของครัวเรือน การประกอบการขององค์กรธุรกิจ และการจ้างงานในโรงงานให้ดำเนินต่อไปได้ คือ การเชื่อมโยงให้เกิดการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และนำไปสู่การช่วยเหลือตนเองได้ในระยะยาว
สำหรับกลยุทธ์การฟื้นฟูของภาคธุรกิจที่จะเห็นในปี 55 นี้ จะมีความสอดคล้องกับรูปแบบที่เป็นสากล โดยจำแนกได้เป็น 3 รูปแบบด้วยกัน คือ รูปแบบของการดำเนินงานฟื้นฟูผ่านกระบวนงานหลักทางธุรกิจ (Core Business Activities) รูปแบบของการให้และกิจกรรมเพื่อสังคมในชุมชนที่ได้รับผลกระทบ (Social and Philanthropic Activities) และรูปแบบของการเข้าร่วมหารือและผลักดันนโยบายสาธารณะต่างๆ ร่วมกับภาคีที่เกี่ยวข้อง (Policy Dialogue and Advocacy Activities)
Societal Marketing over CSR
หลังสถานการณ์ภัยพิบัติ การพัฒนารูปแบบทางการตลาดที่คำนึงถึงอารมณ์และความเป็นอยู่ของผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับผลกระทบจะมีเพิ่มมากขึ้นนับจากนี้ไป ตามระยะของการฟื้นฟูและบูรณะจะกินเวลาตั้งแต่ 1-3 ปี
กลยุทธ์การตลาดที่หลายองค์กรจะนำมาใช้ในช่วงเวลานี้ คือ ‘การตลาดทางสังคม’ หรือ Societal Marketing ที่จะถูกนำมาใช้เติมเต็มเป้าประสงค์ทางธุรกิจ ซึ่งมีความแตกต่างจากการตลาดเพื่อสังคม หรือ Social Marketing ที่มุ่งใช้กลยุทธ์ทางการตลาดมาเป็นเครื่องมือรณรงค์ที่มุ่งแก้ปัญหาสังคม
ขณะที่ การตลาดทางสังคม เป็นการใช้ประเด็นทางสังคม หรือความรับผิดชอบต่อสังคม มาออกแบบกลยุทธ์การตลาดที่หวังให้เกิดประโยชน์ทางธุรกิจโดยตรงต่อองค์กร พร้อมกันกับการคำนึงถึงประโยชน์ที่มีต่อลูกค้ากลุ่มเป้าหมายให้ได้รับความพึงพอใจ (ในสินค้าและบริการ) และคุณภาพชีวิตของผู้บริโภค (ในระยะยาว)
ตัวอย่างของการตลาดทางสังคมที่จะเกิดขึ้นในปีนี้ คือ การจัดหาสินค้าและบริการมาจำหน่ายตามกำลังซื้อของลูกค้าที่ได้รับผลกระทบ (เช่น การให้ส่วนลดพิเศษ หรือจำหน่ายในราคาทุน) การเปลี่ยนแปลงรูปแบบบรรจุภัณฑ์ให้เหมาะสมกับความต้องการในช่วงเวลาของการฟื้นตัว สถาบันการเงินออกผลิตภัณฑ์เป็นการเฉพาะสำหรับลูกค้าที่ได้รับผลกระทบ บริษัทฝึกอบรมจัดโปรแกรมอบรมสัมมนาที่เกี่ยวข้องกับภัยพิบัติ ฯลฯ
ตั้งแต่ต้นปี เราจะได้เห็นกลยุทธ์การตลาดทางสังคม ตลอดจนสินค้าและบริการที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อตอบสนองหรือเตรียมพร้อมรับมือกับความไม่แน่นอนของภัยธรรมชาติที่อาจจะเกิดขึ้นอีกตามปรากฎการณ์ลานีญาในแบบวิทยาศาสตร์ หรือตามคำทำนายทางพยากรณ์ศาสตร์ !!
[Original Link]
สถาบันไทยพัฒน์ ในฐานะหน่วยงานที่ติดตามความเคลื่อนไหวและศึกษาเพื่อสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง CSR หรือ ความรับผิดชอบต่อสังคม (Corporate Social Responsibility) ในประเทศไทย ทุกปีก็จะมีการประมวลข้อมูลและสรุปเป็นรายงานสะท้อนให้เห็นทิศทางของพัฒนาการด้าน CSR ในวงการธุรกิจบ้านเรา
ล่าสุด ดร.พิพัฒน์ ยอดพฤติการ ผู้อำนวยการสถาบันไทยพัฒน์ได้ระบุในรายงานว่า ปี 2555 แนวโน้มการใช้กลยุทธ์ที่เรียกว่า “การตลาดทางสังคม” (Societal Marketing) มาแรง ! ซึ่งมีประเด็นที่น่าสนใจผมจึงขอเรียบเรียงข้อมูลดังกล่าวมาเสนอต่อท่านผู้อ่าน
จากผลพวงจากสถานการณ์น้ำท่วมใหญ่ปลายปีที่ผ่านมา ได้ส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของประชาชนใน 65 จังหวัด หรือคิดเป็น 84% ของประเทศ และปัจจุบันก็ยังคงมีพื้นที่ประสบอุทกภัยเหลืออยู่ในบางจังหวัดที่ต้องดำเนินการช่วยเหลือ ฟื้นฟู และเยียวยากันพักใหญ่จนกว่าเราได้เห็นกลับเข้าสู่ภาวะปกติ
บทบาทของภาคธุรกิจที่สามารถระดมทรัพยากรเพื่อใช้ในการช่วยเหลือ บรรเทาทุกข์ และฟื้นฟูหลังการเกิดอุทกภัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีการมอบเงินบริจาค อาหาร สิ่งของอุปโภคบริโภค และวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ที่มีมูลค่ารวมกันเป็นหลักพันล้านบาทในชั่วระยะเวลาสั้นๆ อีกทั้งมีพนักงานจิตอาสาจากองค์กรธุรกิจต่างๆ ที่เข้าช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบทั้งในระหว่างและหลังประสบภัยน้ำท่วม ร่วมกับภาครัฐและภาคประชาสังคม รวมทั้งทหารจากทุกเหล่าทัพ ตลอดห้าเดือนที่ผ่านมา
โดยเฉพาะหลังน้ำลดภาคธุรกิจจะมีบทบาทสำคัญเพิ่มมากขึ้นในช่วงฟื้นฟู (Recovery) นับจากนี้ไปอีก 1-3 ปี นั่นหมายความว่า ในปี 2555 จะมีกิจกรรมทางธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการฟื้นฟูในลักษณะต่างๆให้ได้เห็นอย่างกว้างขวาง
ในรายงานของ World Economic Forum (Disaster Resource Partnership: A New Private-Public Partnership Model for Disaster Response, November 2010) ได้ประมวลลักษณะการมีส่วนร่วมของภาคเอกชนผ่านกิจกรรมทางธุรกิจทั้งในแบบที่ไม่คิดมูลค่า (Pro Bono) หรือคิดเท่าทุน (At Cost) หรือแสวงหากำไร (For Profit) ในแต่ละระยะหลังภัยพิบัติ ไว้ดังนี้
การเผยแพร่สื่อสาร CSR
ในช่วงต้นปีใหม่หลังจากที่องค์กรธุรกิจหลายแห่งได้เสร็จสิ้นภารกิจในการเข้าร่วมช่วยเหลือและบรรเทาทุกข์ผู้ประสบภัย จะมีการประมวลภาพความช่วยเหลือและกิจกรรมเพื่อสังคมในรูปแบบต่างๆ ลักษณะการร่วมทุกข์ร่วมสุข การให้กำลังใจผู้ประสบภัย การแสดงความขอบคุณ และการสื่อว่าองค์กรพร้อมร่วมเดินเคียงข้างในภาวะวิกฤต โดยมีความมุ่งหมายที่จะสร้างความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับสังคมกลุ่มเป้าหมาย และเสริมสร้างภาพลักษณ์ขององค์กรหรือตราสินค้าให้เป็นที่ยอมรับของสังคมเพิ่มขึ้น
การเผยแพร่ภาพความรับผิดชอบต่อสังคม หรือการโฆษณากิจกรรมเพื่อสังคมเหล่านี้ จัดเป็นเครื่องมือในการสื่อสารชนิดหนึ่งขององค์กรที่สามารถใช้สร้างความผูกพัน (Engagement) กับผู้มีส่วนได้เสียและสังคมในวงกว้าง ที่หลายองค์กรเหมารวมว่าเป็นซีเอสอาร์ หรือจัดให้อยู่ในงบประมาณหรือค่าใช้จ่ายของการทำซีเอสอาร์ด้วย
แต่ความเป็นจริง ต้องถือว่าเป็นการสื่อสารเพื่อองค์กร หรือควรจัดเป็นงบค่าใช้จ่ายในการโฆษณาเชิงประชาสัมพันธ์เพื่อองค์กร เพียงแต่นำเสนอภาพการทำกิจกรรมซีเอสอาร์ หรือใช้กิจกรรมซีเอสอาร์เป็นตัวเดินเรื่อง แทนการนำเสนอสินค้าหรือบริการตามปกติ
เม็ดเงินในธุรกิจโฆษณาของไทยโดยรวมในปี 54 ประมาณ 1 แสนล้านบาท (ร้อยละ 58.2 เป็นโฆษณาทางโทรทัศน์) หากนำอัตราการเติบโตที่ประมาณการสำหรับปี 55 ทั่วโลก ของ ZenithOptimedia ที่ร้อยละ 3.1-4.7 และของ GroupM ที่ร้อยละ 5-6.4 รวมทั้งตัวเลขการเติบโตจริงของไทยในไตรมาสสาม ปี 54 เทียบกับปีก่อนหน้าซึ่งเผยแพร่โดย Nielsen ที่ร้อยละ 6 กับตัวเลขการเติบโตเฉลี่ยของตลาดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ร้อยละ 15 ของปี 54 มาพิจารณารวมกับปัจจัยการฟื้นตัวของตลาดหลังจากสถานการณ์อุทกภัย ก็น่าเชื่อได้ว่า ตลาดโฆษณาในปี 55 จะมีความคึกคักเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 6-13 หรือมากกว่า หากไม่มีวิกฤติอื่นซ้ำเติม
ดังนั้น หากประมาณการสัดส่วนโฆษณาที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับความรับผิดชอบต่อสังคมและการฟื้นฟูหลังอุทกภัยไว้ขั้นต่ำที่ร้อยละ 10 ของตลาด การโฆษณาซีเอสอาร์ก็จะมีมูลค่ารวมกันไม่ต่ำกว่าหลักหมื่นล้านบาทในปี 55
CSR ช่วยฟื้นฟู
ในปีนี้สถานการณ์หลังอุทกภัยที่ได้สร้างความเสียหายทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม คิดเป็นมูลค่านับแสนล้านบาท จะนำไปสู่กระบวนการฟื้นฟูอย่างขนานใหญ่ ความคาดหวังของสังคมที่มีต่อภาคเอกชน จะผลักดันให้องค์กรธุรกิจทุกขนาดเข้าร่วมในกระบวนการฟื้นฟูตามแต่คุณลักษณะ ถิ่นที่ตั้ง และความเกี่ยวเนื่องของธุรกิจนั้นๆ
สิ่งท้าทายสำคัญของกลยุทธ์การฟื้นฟูในการที่จะคงสภาพการดำรงอยู่ของครัวเรือน การประกอบการขององค์กรธุรกิจ และการจ้างงานในโรงงานให้ดำเนินต่อไปได้ คือ การเชื่อมโยงให้เกิดการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และนำไปสู่การช่วยเหลือตนเองได้ในระยะยาว
สำหรับกลยุทธ์การฟื้นฟูของภาคธุรกิจที่จะเห็นในปี 55 นี้ จะมีความสอดคล้องกับรูปแบบที่เป็นสากล โดยจำแนกได้เป็น 3 รูปแบบด้วยกัน คือ รูปแบบของการดำเนินงานฟื้นฟูผ่านกระบวนงานหลักทางธุรกิจ (Core Business Activities) รูปแบบของการให้และกิจกรรมเพื่อสังคมในชุมชนที่ได้รับผลกระทบ (Social and Philanthropic Activities) และรูปแบบของการเข้าร่วมหารือและผลักดันนโยบายสาธารณะต่างๆ ร่วมกับภาคีที่เกี่ยวข้อง (Policy Dialogue and Advocacy Activities)
Societal Marketing over CSR
หลังสถานการณ์ภัยพิบัติ การพัฒนารูปแบบทางการตลาดที่คำนึงถึงอารมณ์และความเป็นอยู่ของผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับผลกระทบจะมีเพิ่มมากขึ้นนับจากนี้ไป ตามระยะของการฟื้นฟูและบูรณะจะกินเวลาตั้งแต่ 1-3 ปี
กลยุทธ์การตลาดที่หลายองค์กรจะนำมาใช้ในช่วงเวลานี้ คือ ‘การตลาดทางสังคม’ หรือ Societal Marketing ที่จะถูกนำมาใช้เติมเต็มเป้าประสงค์ทางธุรกิจ ซึ่งมีความแตกต่างจากการตลาดเพื่อสังคม หรือ Social Marketing ที่มุ่งใช้กลยุทธ์ทางการตลาดมาเป็นเครื่องมือรณรงค์ที่มุ่งแก้ปัญหาสังคม
ขณะที่ การตลาดทางสังคม เป็นการใช้ประเด็นทางสังคม หรือความรับผิดชอบต่อสังคม มาออกแบบกลยุทธ์การตลาดที่หวังให้เกิดประโยชน์ทางธุรกิจโดยตรงต่อองค์กร พร้อมกันกับการคำนึงถึงประโยชน์ที่มีต่อลูกค้ากลุ่มเป้าหมายให้ได้รับความพึงพอใจ (ในสินค้าและบริการ) และคุณภาพชีวิตของผู้บริโภค (ในระยะยาว)
ตัวอย่างของการตลาดทางสังคมที่จะเกิดขึ้นในปีนี้ คือ การจัดหาสินค้าและบริการมาจำหน่ายตามกำลังซื้อของลูกค้าที่ได้รับผลกระทบ (เช่น การให้ส่วนลดพิเศษ หรือจำหน่ายในราคาทุน) การเปลี่ยนแปลงรูปแบบบรรจุภัณฑ์ให้เหมาะสมกับความต้องการในช่วงเวลาของการฟื้นตัว สถาบันการเงินออกผลิตภัณฑ์เป็นการเฉพาะสำหรับลูกค้าที่ได้รับผลกระทบ บริษัทฝึกอบรมจัดโปรแกรมอบรมสัมมนาที่เกี่ยวข้องกับภัยพิบัติ ฯลฯ
ตั้งแต่ต้นปี เราจะได้เห็นกลยุทธ์การตลาดทางสังคม ตลอดจนสินค้าและบริการที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อตอบสนองหรือเตรียมพร้อมรับมือกับความไม่แน่นอนของภัยธรรมชาติที่อาจจะเกิดขึ้นอีกตามปรากฎการณ์ลานีญาในแบบวิทยาศาสตร์ หรือตามคำทำนายทางพยากรณ์ศาสตร์ !!
[Original Link]