ก้าวสู่ยุคแห่งความยั่งยืน
วรณัฐ เพียรธรรม
เรื่องที่คณะกรรมการบริษัทต้องให้ความสำคัญเรื่องหนึ่ง เมื่อต้องทำหน้าที่กำกับดูแลกิจการ คือ การให้ความเห็นชอบในกลยุทธ์ทางธุรกิจที่ฝ่ายบริหารจะต้องนำไปใช้ขับเคลื่อนองค์กร เพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามที่ได้วางไว้
ในวันนี้ การใช้กลยุทธ์มุ่งการเติบโต (Growth Strategy) ไม่สามารถรับประกันได้ว่า เพียงพอต่อการนำองค์กรไปสู่ความสำเร็จ เพราะในความเป็นจริง องค์กรไม่สามารถจะรักษาอัตราการเติบโตหรือการขยายตัวของกิจการได้ตลอด โดยเป็นไปตามวัฏจักรชีวิตที่มีรูปร่างเป็น S-Curve (ก่อตั้ง-เติบโต-อิ่มตัว-เสื่อมถอย)
แม้กิจการจะพยายามสร้าง S-Curve ใหม่ขึ้นทดแทน แต่ก็ไม่จีรังอยู่ได้ตลอดรอดฝั่ง ในโลกธุรกิจ จึงเห็นการแปรเปลี่ยนทั้งการควบรวมกิจการ การขายกิจการ และการยุบหรือเลิกกิจการ
กลยุทธ์มุ่งความยั่งยืน (Sustainability Strategy) จึงกลายเป็นทางเลือกหนึ่งที่ได้รับความสนใจเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ด้วยแนวคิดที่ไม่ได้เน้นการสร้าง S-Curve ใหม่ แต่ใช้วิธีการที่ทำให้ S-Curve ที่มีอยู่ขยายยืดออกไปให้ยาวที่สุด โดยเฉพาะในช่วงท้ายของการเติบโตและในช่วงอิ่มตัว (ซึ่งเป็นคนละเรื่องกับผู้ที่พยายามจะจับเอาความยั่งยืนมาใส่ในกลยุทธ์การเติบโต กลายเป็น กลยุทธ์การเติบโตอย่างยั่งยืน หรือ Sustainable Growth ซึ่งฟังแล้วดูดี แต่อยู่เหนือวิสัยในทางปฏิบัติ เพราะขัดกับหลักธรรมชาติ)
สิ่งที่ธุรกิจต้องทำความเข้าใจต่อไปคือ ปัจจัยแห่งการเติบโต ซึ่งหมายถึง ทรัพยากรที่ใส่เข้ามาเพื่อสนับสนุนกลยุทธ์การเติบโต จะมีความแตกต่างจาก ทรัพยากรที่ใช้เพื่อสนับสนุนกลยุทธ์ความยั่งยืน หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า ปัจจัยแห่งความยั่งยืน อาจไม่ใช่ทรัพยากรประเภทเดียวกันกับที่ใช้ในการสร้างกิจการให้เติบโต
MIT Slone ได้ร่วมกับ Boston Consulting Group เปิดเผยรายงานการวิจัยที่มีชื่อว่า The Innovation Bottom Line: How companies that see sustainability as both necessity and an opportunity, and change their business models in response, are finding success. (Winter 2013) โดยข้อสรุปหนึ่งในรายงานชี้ให้เห็นถึงปัจจัยที่องค์กรพิจารณาว่าเป็นส่วนหนึ่งของความยั่งยืน คือ ความยั่งยืนทางเศรษฐกิจ (ร้อยละ 63) ประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม (ร้อยละ 62) และความรับผิดชอบต่อสังคม (ร้อยละ 61) รวมถึงมุมมองในระยะยาว คุณภาพชีวิตและสุขภาพของพนักงาน และของผู้บริโภค ตลอดจนประเด็นด้านความปลอดภัย ดังแสดงในแผนภาพ
โดยผู้ตอบแบบสำรวจจำนวน 2,600 คนในกลุ่มตัวอย่าง เกือบครึ่งหนึ่ง (ร้อยละ 48) สะท้อนให้เห็นว่า ประเด็นเรื่องความยั่งยืนได้ส่งผลให้องค์กรจำต้องมีการปรับเปลี่ยนโมเดลทางธุรกิจ ในขณะที่ร้อยละ 42 บอกว่า ไม่มีผล และอีกร้อยละ 10 ยังไม่แน่ใจ
ปัจจุบัน มีหลายองค์กรธุรกิจที่ได้นำปัจจัยแห่งความยั่งยืน มาออกแบบและปรับแต่งโมเดลทางธุรกิจ วางกลยุทธ์มุ่งความยั่งยืน พร้อมกับพัฒนาแนวทางในการสื่อสารเรื่องความยั่งยืน เพื่อให้ผู้มีส่วนได้เสียทั้งภายในและภายนอกองค์กรได้รับทราบถึงทิศทางขององค์กร และตอบสนองต่อความจำกัดของกลยุทธ์มุ่งการเติบโตที่ไม่อาจใช้เป็นกลยุทธ์หลักเดียวของธุรกิจได้อีกต่อไป
การกำกับดูแลกิจการที่คณะกรรมการบริษัทคุ้นเคยกับการให้ความเห็นชอบในกลยุทธ์มุ่งการเติบโตของหลายกิจการ ในห้วงเวลาที่ผ่านมา กำลังเปลี่ยนจุดโฟกัสมาสู่การให้ความเห็นชอบในกลยุทธ์มุ่งความยั่งยืน ทั้งนี้ เพื่อรักษาเสถียรภาพของกิจการและความมั่งคั่งให้แก่ผู้ถือหุ้น โดยคำนึงถึงความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสียกลุ่มต่างๆ ที่มีส่วนสร้างทั้งแรงหนุนและแรงต้านแก่องค์กร
ในสัปดาห์นี้ มีงานสัมมนาที่น่าสนใจ ในหัวข้อ Sustainability Reporting : "An Effective Tool for Corporate Communication in Sustainability Era" จัดโดยสถาบันธุรกิจเพื่อสังคม (CSRI) ณ หอประชุม ศ.สังเวียน อินทรวิชัย ชั้น 3 ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในวันที่ 22 มีนาคม 2556 เวลา 8.30 – 12.00 น. (ไม่มีค่าใช้จ่าย) ซึ่งในงานนี้ได้มีการเชิญ Ms.Nikki McKean-Wood ผู้จัดการอาวุโสด้านเครือข่ายสัมพันธ์ ของ Global Reporting Initiative (GRI) มาเป็นวิทยากรหลักเพื่อแนะนำเครื่องมือการสื่อสารขององค์กรในยุคแห่งความยั่งยืน โดยท่านที่สนใจสามารถดูรายละเอียดงานสัมมนาเพิ่มเติมได้ที่ www.csri.or.th หรือสอบถามเพิ่มเติมโทร 02-229-2222
[ประชาชาติธุรกิจ]
เรื่องที่คณะกรรมการบริษัทต้องให้ความสำคัญเรื่องหนึ่ง เมื่อต้องทำหน้าที่กำกับดูแลกิจการ คือ การให้ความเห็นชอบในกลยุทธ์ทางธุรกิจที่ฝ่ายบริหารจะต้องนำไปใช้ขับเคลื่อนองค์กร เพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามที่ได้วางไว้
ในวันนี้ การใช้กลยุทธ์มุ่งการเติบโต (Growth Strategy) ไม่สามารถรับประกันได้ว่า เพียงพอต่อการนำองค์กรไปสู่ความสำเร็จ เพราะในความเป็นจริง องค์กรไม่สามารถจะรักษาอัตราการเติบโตหรือการขยายตัวของกิจการได้ตลอด โดยเป็นไปตามวัฏจักรชีวิตที่มีรูปร่างเป็น S-Curve (ก่อตั้ง-เติบโต-อิ่มตัว-เสื่อมถอย)
แม้กิจการจะพยายามสร้าง S-Curve ใหม่ขึ้นทดแทน แต่ก็ไม่จีรังอยู่ได้ตลอดรอดฝั่ง ในโลกธุรกิจ จึงเห็นการแปรเปลี่ยนทั้งการควบรวมกิจการ การขายกิจการ และการยุบหรือเลิกกิจการ
กลยุทธ์มุ่งความยั่งยืน (Sustainability Strategy) จึงกลายเป็นทางเลือกหนึ่งที่ได้รับความสนใจเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ด้วยแนวคิดที่ไม่ได้เน้นการสร้าง S-Curve ใหม่ แต่ใช้วิธีการที่ทำให้ S-Curve ที่มีอยู่ขยายยืดออกไปให้ยาวที่สุด โดยเฉพาะในช่วงท้ายของการเติบโตและในช่วงอิ่มตัว (ซึ่งเป็นคนละเรื่องกับผู้ที่พยายามจะจับเอาความยั่งยืนมาใส่ในกลยุทธ์การเติบโต กลายเป็น กลยุทธ์การเติบโตอย่างยั่งยืน หรือ Sustainable Growth ซึ่งฟังแล้วดูดี แต่อยู่เหนือวิสัยในทางปฏิบัติ เพราะขัดกับหลักธรรมชาติ)
สิ่งที่ธุรกิจต้องทำความเข้าใจต่อไปคือ ปัจจัยแห่งการเติบโต ซึ่งหมายถึง ทรัพยากรที่ใส่เข้ามาเพื่อสนับสนุนกลยุทธ์การเติบโต จะมีความแตกต่างจาก ทรัพยากรที่ใช้เพื่อสนับสนุนกลยุทธ์ความยั่งยืน หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า ปัจจัยแห่งความยั่งยืน อาจไม่ใช่ทรัพยากรประเภทเดียวกันกับที่ใช้ในการสร้างกิจการให้เติบโต
MIT Slone ได้ร่วมกับ Boston Consulting Group เปิดเผยรายงานการวิจัยที่มีชื่อว่า The Innovation Bottom Line: How companies that see sustainability as both necessity and an opportunity, and change their business models in response, are finding success. (Winter 2013) โดยข้อสรุปหนึ่งในรายงานชี้ให้เห็นถึงปัจจัยที่องค์กรพิจารณาว่าเป็นส่วนหนึ่งของความยั่งยืน คือ ความยั่งยืนทางเศรษฐกิจ (ร้อยละ 63) ประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม (ร้อยละ 62) และความรับผิดชอบต่อสังคม (ร้อยละ 61) รวมถึงมุมมองในระยะยาว คุณภาพชีวิตและสุขภาพของพนักงาน และของผู้บริโภค ตลอดจนประเด็นด้านความปลอดภัย ดังแสดงในแผนภาพ
โดยผู้ตอบแบบสำรวจจำนวน 2,600 คนในกลุ่มตัวอย่าง เกือบครึ่งหนึ่ง (ร้อยละ 48) สะท้อนให้เห็นว่า ประเด็นเรื่องความยั่งยืนได้ส่งผลให้องค์กรจำต้องมีการปรับเปลี่ยนโมเดลทางธุรกิจ ในขณะที่ร้อยละ 42 บอกว่า ไม่มีผล และอีกร้อยละ 10 ยังไม่แน่ใจ
ปัจจุบัน มีหลายองค์กรธุรกิจที่ได้นำปัจจัยแห่งความยั่งยืน มาออกแบบและปรับแต่งโมเดลทางธุรกิจ วางกลยุทธ์มุ่งความยั่งยืน พร้อมกับพัฒนาแนวทางในการสื่อสารเรื่องความยั่งยืน เพื่อให้ผู้มีส่วนได้เสียทั้งภายในและภายนอกองค์กรได้รับทราบถึงทิศทางขององค์กร และตอบสนองต่อความจำกัดของกลยุทธ์มุ่งการเติบโตที่ไม่อาจใช้เป็นกลยุทธ์หลักเดียวของธุรกิจได้อีกต่อไป
การกำกับดูแลกิจการที่คณะกรรมการบริษัทคุ้นเคยกับการให้ความเห็นชอบในกลยุทธ์มุ่งการเติบโตของหลายกิจการ ในห้วงเวลาที่ผ่านมา กำลังเปลี่ยนจุดโฟกัสมาสู่การให้ความเห็นชอบในกลยุทธ์มุ่งความยั่งยืน ทั้งนี้ เพื่อรักษาเสถียรภาพของกิจการและความมั่งคั่งให้แก่ผู้ถือหุ้น โดยคำนึงถึงความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสียกลุ่มต่างๆ ที่มีส่วนสร้างทั้งแรงหนุนและแรงต้านแก่องค์กร
ในสัปดาห์นี้ มีงานสัมมนาที่น่าสนใจ ในหัวข้อ Sustainability Reporting : "An Effective Tool for Corporate Communication in Sustainability Era" จัดโดยสถาบันธุรกิจเพื่อสังคม (CSRI) ณ หอประชุม ศ.สังเวียน อินทรวิชัย ชั้น 3 ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในวันที่ 22 มีนาคม 2556 เวลา 8.30 – 12.00 น. (ไม่มีค่าใช้จ่าย) ซึ่งในงานนี้ได้มีการเชิญ Ms.Nikki McKean-Wood ผู้จัดการอาวุโสด้านเครือข่ายสัมพันธ์ ของ Global Reporting Initiative (GRI) มาเป็นวิทยากรหลักเพื่อแนะนำเครื่องมือการสื่อสารขององค์กรในยุคแห่งความยั่งยืน โดยท่านที่สนใจสามารถดูรายละเอียดงานสัมมนาเพิ่มเติมได้ที่ www.csri.or.th หรือสอบถามเพิ่มเติมโทร 02-229-2222
[ประชาชาติธุรกิจ]