ทิศทาง CSR ปี 2557
9 ใน 10 ขององค์กร เมื่อถูกถามเรื่อง CSR จะมีคำตอบว่า “เราทำอยู่แล้ว” และมากกว่าครึ่งจะขยายความต่อว่า เราทำเรื่องนี้นับตั้งแต่ก่อตั้งองค์กร ดำเนินมาตลอดต่อเนื่อง มีโครงการต่างๆ ที่ถูกพัฒนาขึ้นมากมาย ตามด้วยการแจกแจงรายละเอียดของโครงการและกิจกรรมให้ฟังกันแบบ non-stop หากไม่มีคำถามขัดจังหวะเกิดขึ้นระหว่างการสนทนา
สถานการณ์ของ CSR ในวันนี้ องค์กรธุรกิจที่มีความรู้ความเข้าใจตามควรเกี่ยวกับเรื่อง CSR ต่างมีความสามารถในการอธิบายและแจกแจงเรื่องราว CSR ที่ตนดำเนินการเป็นอย่างดี มีการเปิดเผยข้อมูลในรูปแบบของรายงาน CSR เพิ่มมากขึ้น นอกเหนือจากการเผยแพร่ข้อมูลในรูปแบบของข่าวประชาสัมพันธ์ปกติ
สำหรับองค์กรธุรกิจที่พยายามผลักดันตัวเองให้เข้าถึงการขับเคลื่อน CSR ในระดับที่สูงขึ้นไป จะมีคำถามต่อว่า “แล้วที่ทำมา มันได้ผลขนาดไหน”
การค้นหาคำตอบในข้อนี้จะช่วยกระตุ้นให้เกิดการสำรวจและทบทวนตนเอง อันนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการในเรื่อง CSR ที่มุ่งเน้นเรื่องและประเด็นที่มีสารัตถภาพ หรือ Materiality สำหรับการดำเนินการเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์สูงสุดบนเงื่อนไขของทรัพยากรที่มีอยู่จำกัด
การขับเคลื่อน CSR ในทิศทางดังกล่าว จะทำให้เกิดการกำหนดบทบาทขององค์กรและขอบเขตของสิ่งที่จะดำเนินการ ซึ่งไม่อาจจำกัดอยู่เพียงภายในองค์กร แต่ยังครอบคลุมไปถึงกิจกรรมในห่วงโซ่ธุรกิจที่ส่งผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีความเกี่ยวโยงกับกลยุทธ์ทางธุรกิจขององค์กรอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
สถาบันไทยพัฒน์ ได้ทำการประเมินทิศทางความรับผิดชอบต่อสังคมและแนวโน้มด้านความยั่งยืน ภายใต้รายงานที่มีชื่อว่า “6 ทิศทาง CSR ปี 2557: Corporate Citizenship” เผยแพร่ให้แก่องค์กรธุรกิจและหน่วยงานต่างๆ ที่สนใจในการใช้เป็นข้อมูลประกอบการกำหนดแนวทางความรับผิดชอบต่อสังคมและความยั่งยืนของกิจการ ท่ามกลางสภาวการณ์ที่ประเทศไทยกำลังเผชิญกับกระแสแห่งการปฏิรูปในทุกด้าน และปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่นที่ยังคงมีความรุนแรงในระดับชาติ
สถานการณ์ของ CSR ในวันนี้ องค์กรธุรกิจที่มีความรู้ความเข้าใจตามควรเกี่ยวกับเรื่อง CSR ต่างมีความสามารถในการอธิบายและแจกแจงเรื่องราว CSR ที่ตนดำเนินการเป็นอย่างดี มีการเปิดเผยข้อมูลในรูปแบบของรายงาน CSR เพิ่มมากขึ้น นอกเหนือจากการเผยแพร่ข้อมูลในรูปแบบของข่าวประชาสัมพันธ์ปกติ
สำหรับองค์กรธุรกิจที่พยายามผลักดันตัวเองให้เข้าถึงการขับเคลื่อน CSR ในระดับที่สูงขึ้นไป จะมีคำถามต่อว่า “แล้วที่ทำมา มันได้ผลขนาดไหน”
การค้นหาคำตอบในข้อนี้จะช่วยกระตุ้นให้เกิดการสำรวจและทบทวนตนเอง อันนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการในเรื่อง CSR ที่มุ่งเน้นเรื่องและประเด็นที่มีสารัตถภาพ หรือ Materiality สำหรับการดำเนินการเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์สูงสุดบนเงื่อนไขของทรัพยากรที่มีอยู่จำกัด
การขับเคลื่อน CSR ในทิศทางดังกล่าว จะทำให้เกิดการกำหนดบทบาทขององค์กรและขอบเขตของสิ่งที่จะดำเนินการ ซึ่งไม่อาจจำกัดอยู่เพียงภายในองค์กร แต่ยังครอบคลุมไปถึงกิจกรรมในห่วงโซ่ธุรกิจที่ส่งผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีความเกี่ยวโยงกับกลยุทธ์ทางธุรกิจขององค์กรอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
สถาบันไทยพัฒน์ ได้ทำการประเมินทิศทางความรับผิดชอบต่อสังคมและแนวโน้มด้านความยั่งยืน ภายใต้รายงานที่มีชื่อว่า “6 ทิศทาง CSR ปี 2557: Corporate Citizenship” เผยแพร่ให้แก่องค์กรธุรกิจและหน่วยงานต่างๆ ที่สนใจในการใช้เป็นข้อมูลประกอบการกำหนดแนวทางความรับผิดชอบต่อสังคมและความยั่งยืนของกิจการ ท่ามกลางสภาวการณ์ที่ประเทศไทยกำลังเผชิญกับกระแสแห่งการปฏิรูปในทุกด้าน และปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่นที่ยังคงมีความรุนแรงในระดับชาติ
(พิพัฒน์ ยอดพฤติการ) ผู้อำนวยการสถาบันไทยพัฒน์ 25 กุมภาพันธ์ 2557 |