ยกระดับต้านคอร์รัปชั่น
วีรญา ปรียาพันธ์
ในวันนี้หลายภาคส่วนออกมาเคลื่อนไหวเรื่องการต่อต้านคอร์รัปชั่น มีความพยายามที่จะผลักดันให้เกิดเป็นรูปธรรมของการกำกับดูแล และการปฏิบัติอย่างจริงจัง นอกเหนือจากการประกาศเป็นนโยบายและเจตนารมณ์ในการต่อต้านคอร์รัปชั่น
ในส่วนของตลาดทุนมีความเคลื่อนไหวอย่างแข็งขัน โดยสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) จัดทำโรดแมปการพัฒนาความยั่งยืนของบริษัทจดทะเบียน ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2557-2561) โดยหนึ่งในแผนงานหลักคือ การให้ความสำคัญกับการต่อต้านคอร์รัปชั่นอย่างจริงจัง
เครื่องมือที่สำนักงาน ก.ล.ต.นำมาใช้ในการขับเคลื่อนประกอบด้วย
แนวคิดในการประเมินการพัฒนาความยั่งยืนของบริษัทจดทะเบียนในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการต่อต้านคอร์รัปชั่นจึงเกิดขึ้น เพื่อให้ได้ข้อมูลที่บริษัทจดทะเบียนสามารถนำไปใช้สำหรับการวางแผน ปรับปรุง และพัฒนาแนวทางการต่อต้านคอร์รัปชั่นในองค์กร รวมถึงมาตรการที่มีประสิทธิภาพและเป็นที่ยอมรับในระดับสากล ตลอดจนเสริมสร้างให้เกิดบริษัทต้นแบบที่สามารถผลักดันการต่อต้านคอร์รัปชั่นไปยังคู่ค้าในห่วงโซ่ธุรกิจต่อไป
โดยระดับของการประเมินสามารถแบ่งออกได้เป็น 5 ระดับ แสดงในลักษณะ Progress Indicator ที่เน้นการสะท้อนความคืบหน้าของการดำเนินงานในเชิงที่เอื้อให้เกิดการปรับปรุงพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ภายในองค์กรของตนเอง
ระดับแรก - กิจการสามารถแสดงให้เห็นถึงคำมั่นจากผู้บริหารสูงสุด และขององค์กรโดยมติ และนโยบายของคณะกรรมการในเรื่องการดำเนินธุรกิจที่จะไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการคอร์รัปชั่น และขอบเขตการดำเนินการ หรือมติคณะกรรมการถึงการรับทราบหน้าที่ ดูแลให้บริษัทปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมาย (รวมถึงกฎหมายเกี่ยวกับการห้ามจ่ายสินบน หรือการสนับสนุนการคอร์รัปชั่น)
ระดับที่สอง - กิจการสามารถแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นขององค์กรโดยการประกาศเจตนารมณ์เข้าเป็นแนวร่วมปฏิบัติ (Collective Action Coalition) ของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านคอร์รัปชั่น หรือเข้าร่วมโครงการต่อต้านคอร์รัปชั่น ที่กำหนดให้องค์กรต้องมีกระบวนการในทำนองเดียวกันที่แสดงให้เห็นว่า คณะกรรมการบริษัทมีเจตนารมณ์ที่จะดำเนินการเพื่อต่อต้านการคอร์รัปชั่นในสังคม
ระดับที่สาม - กิจการสามารถแสดงให้เห็นถึงระดับของนโยบายที่บริษัทกำหนดเพื่อดำเนินการ (ไม่จ่ายให้เจ้าหน้าที่รัฐ, ไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง, ไม่เกี่ยวข้องและต่อต้านผู้เกี่ยวข้อง) การประเมินความเสี่ยงของธุรกิจเพื่อระบุการดำเนินงานของบริษัท หรือบริษัทย่อยที่มีความเสี่ยงว่าอาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับการคอร์รัปชั่น การสื่อสารและฝึกอบรมแก่พนักงาน เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับนโยบายและแนวปฏิบัติในการต่อต้านคอร์รัปชั่น รวมทั้งการดูแลให้มีการดำเนินการตามนโยบาย และมีการทบทวนความเหมาะสมของนโยบายโดยคณะกรรมการบริษัทอย่างน้อยทุกปี
ระดับที่สี่ - กิจการสามารถแสดงให้เห็นถึงการนำไปปฏิบัติ โดยมีการสอบทานความครบถ้วนเพียงพอของกระบวนการทั้งหมดจากคณะกรรมการตรวจสอบ หรือผู้สอบบัญชีที่สำนักงานให้ความเห็นชอบ การได้รับการรับรองเป็นสมาชิกแนวร่วมปฏิบัติของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านคอร์รัปชั่น หรือได้ผ่านการตรวจสอบเพื่อให้ความเชื่อมั่นอย่างเป็นอิสระจากหน่วยงานภายนอก (Independent External Assurance) ต่อการดำเนินการตามนโยบายการต่อต้านคอร์รัปชั่น
ระดับที่ห้า - กิจการสามารถแสดงให้เห็นถึงนโยบายที่ครอบคลุมถึงหุ้นส่วนทางธุรกิจ ที่ปรึกษา ตัวกลาง หรือตัวแทนในการดำเนินธุรกิจที่จะไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการคอร์รัปชั่นในทุกรูปแบบ การดำเนินการผลักดันให้คู่ค้าในห่วงโซ่ธุรกิจดำเนินนโยบายและแนวปฏิบัติที่จะไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการคอร์รัปชั่น ไม่ว่าด้วยการเรียก รับ และจ่ายสินบน รวมถึงการเปิดเผยข้อเท็จจริงเกี่ยวกับกรณีที่บริษัทและบริษัทย่อยถูกตรวจสอบ หรืออยู่ระหว่างถูกตรวจสอบโดยหน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่ว่ามีการฝ่าฝืนกฎหมายในเรื่องเกี่ยวกับการคอร์รัปชั่น
การเปิดเผยผลการประเมินตามระดับข้างต้น ในลักษณะดัชนีชี้วัดความก้าวหน้าของการพัฒนาความยั่งยืนในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการต่อต้านคอร์รัปชั่นที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้
ไม่เพียงจะช่วยให้ผู้ลงทุนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของบริษัทจดทะเบียนได้รับข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจลงทุน เพิ่มความโปร่งใสในการตรวจสอบการดำเนินงานของบริษัท ยังจะช่วยเสริมสร้างให้เกิดเป็นวัฒนธรรมแห่งการปลอดคอร์รัปชั่นให้ภาคธุรกิจไทย
[Original Link]
ในวันนี้หลายภาคส่วนออกมาเคลื่อนไหวเรื่องการต่อต้านคอร์รัปชั่น มีความพยายามที่จะผลักดันให้เกิดเป็นรูปธรรมของการกำกับดูแล และการปฏิบัติอย่างจริงจัง นอกเหนือจากการประกาศเป็นนโยบายและเจตนารมณ์ในการต่อต้านคอร์รัปชั่น
ในส่วนของตลาดทุนมีความเคลื่อนไหวอย่างแข็งขัน โดยสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) จัดทำโรดแมปการพัฒนาความยั่งยืนของบริษัทจดทะเบียน ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2557-2561) โดยหนึ่งในแผนงานหลักคือ การให้ความสำคัญกับการต่อต้านคอร์รัปชั่นอย่างจริงจัง
เครื่องมือที่สำนักงาน ก.ล.ต.นำมาใช้ในการขับเคลื่อนประกอบด้วย
(1) | Regulatory Discipline การออกกฎเกณฑ์ที่จำเป็นเพื่อกระตุ้นให้เกิดการปฏิบัติ |
(2) | Market Discipline การสร้างแรงผลักดันทางสังคม |
(3) | Self Discipline การริเริ่มดำเนินการด้วยตนเอง เพราะเห็นว่าเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจของตน |
แนวคิดในการประเมินการพัฒนาความยั่งยืนของบริษัทจดทะเบียนในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการต่อต้านคอร์รัปชั่นจึงเกิดขึ้น เพื่อให้ได้ข้อมูลที่บริษัทจดทะเบียนสามารถนำไปใช้สำหรับการวางแผน ปรับปรุง และพัฒนาแนวทางการต่อต้านคอร์รัปชั่นในองค์กร รวมถึงมาตรการที่มีประสิทธิภาพและเป็นที่ยอมรับในระดับสากล ตลอดจนเสริมสร้างให้เกิดบริษัทต้นแบบที่สามารถผลักดันการต่อต้านคอร์รัปชั่นไปยังคู่ค้าในห่วงโซ่ธุรกิจต่อไป
โดยระดับของการประเมินสามารถแบ่งออกได้เป็น 5 ระดับ แสดงในลักษณะ Progress Indicator ที่เน้นการสะท้อนความคืบหน้าของการดำเนินงานในเชิงที่เอื้อให้เกิดการปรับปรุงพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ภายในองค์กรของตนเอง
ระดับแรก - กิจการสามารถแสดงให้เห็นถึงคำมั่นจากผู้บริหารสูงสุด และขององค์กรโดยมติ และนโยบายของคณะกรรมการในเรื่องการดำเนินธุรกิจที่จะไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการคอร์รัปชั่น และขอบเขตการดำเนินการ หรือมติคณะกรรมการถึงการรับทราบหน้าที่ ดูแลให้บริษัทปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมาย (รวมถึงกฎหมายเกี่ยวกับการห้ามจ่ายสินบน หรือการสนับสนุนการคอร์รัปชั่น)
ระดับที่สอง - กิจการสามารถแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นขององค์กรโดยการประกาศเจตนารมณ์เข้าเป็นแนวร่วมปฏิบัติ (Collective Action Coalition) ของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านคอร์รัปชั่น หรือเข้าร่วมโครงการต่อต้านคอร์รัปชั่น ที่กำหนดให้องค์กรต้องมีกระบวนการในทำนองเดียวกันที่แสดงให้เห็นว่า คณะกรรมการบริษัทมีเจตนารมณ์ที่จะดำเนินการเพื่อต่อต้านการคอร์รัปชั่นในสังคม
ระดับที่สาม - กิจการสามารถแสดงให้เห็นถึงระดับของนโยบายที่บริษัทกำหนดเพื่อดำเนินการ (ไม่จ่ายให้เจ้าหน้าที่รัฐ, ไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง, ไม่เกี่ยวข้องและต่อต้านผู้เกี่ยวข้อง) การประเมินความเสี่ยงของธุรกิจเพื่อระบุการดำเนินงานของบริษัท หรือบริษัทย่อยที่มีความเสี่ยงว่าอาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับการคอร์รัปชั่น การสื่อสารและฝึกอบรมแก่พนักงาน เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับนโยบายและแนวปฏิบัติในการต่อต้านคอร์รัปชั่น รวมทั้งการดูแลให้มีการดำเนินการตามนโยบาย และมีการทบทวนความเหมาะสมของนโยบายโดยคณะกรรมการบริษัทอย่างน้อยทุกปี
ระดับที่สี่ - กิจการสามารถแสดงให้เห็นถึงการนำไปปฏิบัติ โดยมีการสอบทานความครบถ้วนเพียงพอของกระบวนการทั้งหมดจากคณะกรรมการตรวจสอบ หรือผู้สอบบัญชีที่สำนักงานให้ความเห็นชอบ การได้รับการรับรองเป็นสมาชิกแนวร่วมปฏิบัติของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านคอร์รัปชั่น หรือได้ผ่านการตรวจสอบเพื่อให้ความเชื่อมั่นอย่างเป็นอิสระจากหน่วยงานภายนอก (Independent External Assurance) ต่อการดำเนินการตามนโยบายการต่อต้านคอร์รัปชั่น
ระดับที่ห้า - กิจการสามารถแสดงให้เห็นถึงนโยบายที่ครอบคลุมถึงหุ้นส่วนทางธุรกิจ ที่ปรึกษา ตัวกลาง หรือตัวแทนในการดำเนินธุรกิจที่จะไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการคอร์รัปชั่นในทุกรูปแบบ การดำเนินการผลักดันให้คู่ค้าในห่วงโซ่ธุรกิจดำเนินนโยบายและแนวปฏิบัติที่จะไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการคอร์รัปชั่น ไม่ว่าด้วยการเรียก รับ และจ่ายสินบน รวมถึงการเปิดเผยข้อเท็จจริงเกี่ยวกับกรณีที่บริษัทและบริษัทย่อยถูกตรวจสอบ หรืออยู่ระหว่างถูกตรวจสอบโดยหน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่ว่ามีการฝ่าฝืนกฎหมายในเรื่องเกี่ยวกับการคอร์รัปชั่น
การเปิดเผยผลการประเมินตามระดับข้างต้น ในลักษณะดัชนีชี้วัดความก้าวหน้าของการพัฒนาความยั่งยืนในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการต่อต้านคอร์รัปชั่นที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้
ไม่เพียงจะช่วยให้ผู้ลงทุนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของบริษัทจดทะเบียนได้รับข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจลงทุน เพิ่มความโปร่งใสในการตรวจสอบการดำเนินงานของบริษัท ยังจะช่วยเสริมสร้างให้เกิดเป็นวัฒนธรรมแห่งการปลอดคอร์รัปชั่นให้ภาคธุรกิจไทย
[Original Link]