มองทิศทาง ซีเอสอาร์ 2558
ESG กุญแจสู่ความยั่งยืน
สถาบันไทยพัฒน์ มูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ร่วมกับศูนย์พัฒนาความรับผิดชอบต่อสังคม (SR Center) ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย แถลงถึงทิศทางการดำเนินงานด้านซีเอสอาร์ ประจำปี 2558 และการสัมมนา ESG : The Factors of Sustainability
ทั้งนั้นเพื่อเป็นการรับฟังการประเมินทิศทางความรับผิดชอบต่อสังคม และแนวโน้มด้านความยั่งยืน ประจำปี 2558 ซึ่งจะเป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อบริษัทจดทะเบียน (บจ.) ที่ใช้ประกอบการกำหนดแนวทางความรับผิดชอบต่อสังคม และความยั่งยืนขององค์กร รวมถึงพัฒนาการและแนวโน้มเรื่องสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล (Environment Social and Governance : ESG) ในประเทศไทย และการเตรียมความพร้อมขององค์กรเพื่อรองรับแนวโน้มที่จะเกิดขึ้น
เบื้องต้น "ดร.พิพัฒน์ ยอดพฤติการ" ผู้อำนวยการสถาบันไทยพัฒน์ กล่าวว่า การขับเคลื่อนความรับผิดชอบต่อสังคม ซีเอสอาร์ หรือคำอื่น ๆ ที่ใช้กันเป็นสิ่งที่ภาคธุรกิจไม่สามารถที่จะละเลยได้ เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยที่จะทำให้การดำเนินธุรกิจเป็นที่ยอมรับของสังคม และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกลุ่มต่าง ๆ ที่องค์กรเข้าไปเกี่ยวข้อง
สำหรับปี 2558 มีการประเมินทิศทางความรับผิดชอบต่อสังคม และแนวโน้มด้านความยั่งยืน ที่จะเป็นเงื่อนไขสำคัญของ การนำองค์กรให้เข้าสู่วิถีกิจการที่ยั่งยืน (Sustainable Enterprise) ออกเป็น 6 ทิศทาง ประกอบด้วย
หนึ่ง ธุรกิจหวังใช้ ESG เป็นปัจจัยนำกิจการมุ่งสู่ความยั่งยืน
ESG ถือเป็นการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมที่มากกว่าการคำนึงถึงการปฏิบัติตามกฎหมาย แต่ยังรวมถึงการดูแลผลกระทบที่มีต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างเป็นธรรม นอกเหนือจากสิทธิที่จะได้รับตามกฎหมาย
องค์กรธุรกิจไม่เพียงต้องการสร้างมูลค่าเพิ่ม และการเติบโตของกิจการเท่านั้น แต่คำนึงถึงการสร้างคุณค่าร่วม และความยั่งยืนของกิจการ ที่จะยกระดับด้วยการทบทวนการกำกับกิจการที่ดี (Corporate Governance : CG) ที่มีอยู่ในองค์กรไปสู่เรื่อง ESG เพื่อให้ครอบคลุมปัจจัยด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม ที่จะมุ่งสู่กิจการที่ยั่งยืน (Sustainable Enterprise) ตามแนวโน้มที่จะเกิดขึ้น
สอง การเกิดดัชนีของสิ่งที่เชื่อมโยงกับเรื่องสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาลในตลาดทุน
ในปี 2558 จะเห็นการเกิดขึ้นของดัชนีที่ให้ข้อมูลด้าน ESG ในประเทศไทยเพิ่มมากขึ้น ในฝั่งบริษัทหลักทรัพย์จะเริ่มมีบทวิเคราะห์ที่ให้ข้อมูลด้าน ESG แก่ผู้ลงทุนเช่นกัน ทำให้อุปสงค์ของรายงานแห่งความยั่งยืน และการเปิดเผยข้อมูลความรับผิดชอบต่อสังคมของบริษัทจดทะเบียนจะมีเพิ่มมากขึ้น
สาม การก่อตัวของความเคลื่อนไหวเรื่องการสร้างคุณค่าร่วม (CSV) ในภาคเอกชน
การดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมที่อยู่ในกระบวนการทำงานหลักของกิจการ (CSR-in-Process) สำหรับองค์กรที่มีมาตรการป้องกัน ดูแล และแก้ไขผลกระทบได้เป็นอย่างดีแล้ว เป็นที่คาดหมายว่าจะยกระดับมาสู่การส่งมอบคุณค่า หรือผลกระทบเชิงบวกจากการดำเนินงานในลักษณะของการสร้างคุณค่าร่วม (Creating Shared Value : CSV) ระหว่างองค์กรและสังคมไปพร้อมกัน
ทั้งนี้ CSV มิได้ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อทดแทนซีเอสอาร์ แต่เป็นพัฒนาการภาคต่อของ CSR-in-Process ซึ่งเลื่อนไหลมาจากการบริการจัดการผลกระทบเชิงลบ มาสู่การส่งมอบผลกระทบเชิงบวก ที่แต่ละองค์กรใช้ประโยชน์จากความถนัด และความเชี่ยวชาญของตนเองอย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดประสิทธิผล ที่คาดว่าจะกลายเป็นกระแสในอนาคตต่อไป
สี่ ธุรกิจจะขับเคลื่อน CSR ด้วยการสร้างข้อผูกพันร่วมกับคู่ค้าในห่วงโซ่อุปทานเพิ่มขึ้น
จากการละเมิดสิทธิมนุษยชนในห่วงโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมอาหารทะเล ที่ก่อให้เกิดมาตรการที่เสนอให้ระงับการสั่งซื้อสินค้าจากบริษัทที่มีส่วนในการสนับสนุนการใช้แรงงานอย่างไม่เป็นธรรม ทำให้เห็นว่าขอบข่ายของซีเอสอาร์ตลอดห่วงโซ่อุปทานไม่สามารถจำกัดอยู่เพียงเฉพาะองค์กรใดองค์กรหนึ่ง แต่ยังยึดโยงกับขีดการดำเนินการความรับผิดชอบต่อสังคมของคู่ค้าในระดับที่ยอมรับได้
จากความเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นในสังคมไทย ประเด็นร่วมที่ถูกหยิบยกขึ้นมาให้ความสำคัญคือการต่อต้านการทุจริต ซึ่งภาคเอกชนจะมีบทบาท หน้าที่ในการกำกับดูแลมิให้กิจการของตนเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องดังกล่าว และคาดหมายว่าจะมีการยกระดับไปยังผู้ที่เกี่ยวข้อง ด้วยการสร้างข้อผูกพันร่วมกับคู่ค้าในห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain Engagement) เพิ่มขึ้น รวมถึงการขับเคลื่อนในประเด็นที่ถูกระบุว่ามีสาระสำคัญในรายสาขาอุตสาหกรรม ที่จะก่อตัวเป็นทิศทางหลักของการดำเนินการความรับผิดชอบต่อสังคมของแต่ละกิจการ
ห้า ธุรกิจจะเพิ่มความสำคัญกับการจัดการของเสียและซากผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้นในห่วงโซ่ธุรกิจ
นับตั้งแต่รัฐบาลมีการหยิบยกปัญหาขยะขึ้นเป็นวาระสำคัญ และได้มีการเห็นชอบแผนยุทธศาสตร์การจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย รวมถึงการเดินหน้าพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล ที่จะส่งผลให้เกิดการเติบโตของเครื่องมือ และอุปกรณ์เทคโนโลยีดิจิทัลอย่างก้าวกระโดด รวมถึงปริมาณกากของเสียอันตราย และขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่เพิ่มขึ้น
จึงทำให้ปีนี้เป็นที่คาดหมายว่าจะมีการผลักดันกฎหมายที่ใช้กำกับดูแลการจัดการซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เป็นการเฉพาะ โดยอาศัยหลักการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ควบคู่กับการขยายบทบาทความรับผิดชอบของผู้ผลิต (Extended Producer Responsibility : EPR) ที่จะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการจัดการซากผลิตภัณฑ์ และสิ่งที่จะเป็นผลตามมาคือ ผู้ประกอบธุรกิจจำเป็นต้องเตรียมการ และดำเนินการปรับปรุงผลิตภัณฑ์ให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมให้มากขึ้น เพื่อให้สอดคล้องกับวิถีการผลิตและการบริโภคอย่างยั่งยืน
หก เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) จะมากับทิศทางการพัฒนาของโลกนับจากนี้ไปอีก 15 ปี
ในปี 2558 นี้ เป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ จะสิ้นสุดลง และสหประชาชาติจะมีการประกาศเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs) ตามกรอบแนวคิดใหม่ที่มองการพัฒนาเป็นมิติ ทั้งมิติเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ให้มีความเชื่อมโยงกันเพื่อลดข้อจำกัดของการส่งเสริมการพัฒนาในแบบแยกส่วน
ทุกองค์กรที่มองเรื่องความยั่งยืน จะสามารถนำเอาองค์ประกอบของกรอบการพัฒนาที่ยั่งยืนฉบับใหม่ใน 17 เรื่อง มาเป็นข้อมูลสำหรับการวางกลยุทธ์ และแนวทางในการดำเนินงานด้านซีเอสอาร์ให้สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาในระดับมหภาค
ถึงตรงนี้ "ดร.พิพัฒน์" กล่าวเพิ่มเติมว่า ในปี 2558 องค์กรธุรกิจไม่เพียงต้องการสร้างมูลค่าเพิ่ม และการเติบโตของกิจการ แต่คำนึงถึงการสร้างคุณค่าร่วม และความยั่งยืนของกิจการ ที่จะยกระดับด้วยการทบทวน CG ที่มีอยู่ในองค์กร ขยายสู่เรื่อง ESG เพื่อให้ครอบคลุมปัจจัยด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม และปรับตัวเข้าสู่วิถีของการพัฒนาความยั่งยืน
ความสำเร็จจากการดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมจึงเป็นกุญแจสำคัญที่จะเปิดทางไปสู่การพัฒนาความยั่งยืน (Sustainability) ให้แก่กิจการและสังคมโดยรวม
[Original Link]
สถาบันไทยพัฒน์ มูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ร่วมกับศูนย์พัฒนาความรับผิดชอบต่อสังคม (SR Center) ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย แถลงถึงทิศทางการดำเนินงานด้านซีเอสอาร์ ประจำปี 2558 และการสัมมนา ESG : The Factors of Sustainability
ทั้งนั้นเพื่อเป็นการรับฟังการประเมินทิศทางความรับผิดชอบต่อสังคม และแนวโน้มด้านความยั่งยืน ประจำปี 2558 ซึ่งจะเป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อบริษัทจดทะเบียน (บจ.) ที่ใช้ประกอบการกำหนดแนวทางความรับผิดชอบต่อสังคม และความยั่งยืนขององค์กร รวมถึงพัฒนาการและแนวโน้มเรื่องสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล (Environment Social and Governance : ESG) ในประเทศไทย และการเตรียมความพร้อมขององค์กรเพื่อรองรับแนวโน้มที่จะเกิดขึ้น
เบื้องต้น "ดร.พิพัฒน์ ยอดพฤติการ" ผู้อำนวยการสถาบันไทยพัฒน์ กล่าวว่า การขับเคลื่อนความรับผิดชอบต่อสังคม ซีเอสอาร์ หรือคำอื่น ๆ ที่ใช้กันเป็นสิ่งที่ภาคธุรกิจไม่สามารถที่จะละเลยได้ เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยที่จะทำให้การดำเนินธุรกิจเป็นที่ยอมรับของสังคม และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกลุ่มต่าง ๆ ที่องค์กรเข้าไปเกี่ยวข้อง
สำหรับปี 2558 มีการประเมินทิศทางความรับผิดชอบต่อสังคม และแนวโน้มด้านความยั่งยืน ที่จะเป็นเงื่อนไขสำคัญของ การนำองค์กรให้เข้าสู่วิถีกิจการที่ยั่งยืน (Sustainable Enterprise) ออกเป็น 6 ทิศทาง ประกอบด้วย
หนึ่ง ธุรกิจหวังใช้ ESG เป็นปัจจัยนำกิจการมุ่งสู่ความยั่งยืน
ESG ถือเป็นการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมที่มากกว่าการคำนึงถึงการปฏิบัติตามกฎหมาย แต่ยังรวมถึงการดูแลผลกระทบที่มีต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างเป็นธรรม นอกเหนือจากสิทธิที่จะได้รับตามกฎหมาย
องค์กรธุรกิจไม่เพียงต้องการสร้างมูลค่าเพิ่ม และการเติบโตของกิจการเท่านั้น แต่คำนึงถึงการสร้างคุณค่าร่วม และความยั่งยืนของกิจการ ที่จะยกระดับด้วยการทบทวนการกำกับกิจการที่ดี (Corporate Governance : CG) ที่มีอยู่ในองค์กรไปสู่เรื่อง ESG เพื่อให้ครอบคลุมปัจจัยด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม ที่จะมุ่งสู่กิจการที่ยั่งยืน (Sustainable Enterprise) ตามแนวโน้มที่จะเกิดขึ้น
สอง การเกิดดัชนีของสิ่งที่เชื่อมโยงกับเรื่องสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาลในตลาดทุน
ในปี 2558 จะเห็นการเกิดขึ้นของดัชนีที่ให้ข้อมูลด้าน ESG ในประเทศไทยเพิ่มมากขึ้น ในฝั่งบริษัทหลักทรัพย์จะเริ่มมีบทวิเคราะห์ที่ให้ข้อมูลด้าน ESG แก่ผู้ลงทุนเช่นกัน ทำให้อุปสงค์ของรายงานแห่งความยั่งยืน และการเปิดเผยข้อมูลความรับผิดชอบต่อสังคมของบริษัทจดทะเบียนจะมีเพิ่มมากขึ้น
สาม การก่อตัวของความเคลื่อนไหวเรื่องการสร้างคุณค่าร่วม (CSV) ในภาคเอกชน
การดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมที่อยู่ในกระบวนการทำงานหลักของกิจการ (CSR-in-Process) สำหรับองค์กรที่มีมาตรการป้องกัน ดูแล และแก้ไขผลกระทบได้เป็นอย่างดีแล้ว เป็นที่คาดหมายว่าจะยกระดับมาสู่การส่งมอบคุณค่า หรือผลกระทบเชิงบวกจากการดำเนินงานในลักษณะของการสร้างคุณค่าร่วม (Creating Shared Value : CSV) ระหว่างองค์กรและสังคมไปพร้อมกัน
ทั้งนี้ CSV มิได้ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อทดแทนซีเอสอาร์ แต่เป็นพัฒนาการภาคต่อของ CSR-in-Process ซึ่งเลื่อนไหลมาจากการบริการจัดการผลกระทบเชิงลบ มาสู่การส่งมอบผลกระทบเชิงบวก ที่แต่ละองค์กรใช้ประโยชน์จากความถนัด และความเชี่ยวชาญของตนเองอย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดประสิทธิผล ที่คาดว่าจะกลายเป็นกระแสในอนาคตต่อไป
สี่ ธุรกิจจะขับเคลื่อน CSR ด้วยการสร้างข้อผูกพันร่วมกับคู่ค้าในห่วงโซ่อุปทานเพิ่มขึ้น
จากการละเมิดสิทธิมนุษยชนในห่วงโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมอาหารทะเล ที่ก่อให้เกิดมาตรการที่เสนอให้ระงับการสั่งซื้อสินค้าจากบริษัทที่มีส่วนในการสนับสนุนการใช้แรงงานอย่างไม่เป็นธรรม ทำให้เห็นว่าขอบข่ายของซีเอสอาร์ตลอดห่วงโซ่อุปทานไม่สามารถจำกัดอยู่เพียงเฉพาะองค์กรใดองค์กรหนึ่ง แต่ยังยึดโยงกับขีดการดำเนินการความรับผิดชอบต่อสังคมของคู่ค้าในระดับที่ยอมรับได้
จากความเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นในสังคมไทย ประเด็นร่วมที่ถูกหยิบยกขึ้นมาให้ความสำคัญคือการต่อต้านการทุจริต ซึ่งภาคเอกชนจะมีบทบาท หน้าที่ในการกำกับดูแลมิให้กิจการของตนเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องดังกล่าว และคาดหมายว่าจะมีการยกระดับไปยังผู้ที่เกี่ยวข้อง ด้วยการสร้างข้อผูกพันร่วมกับคู่ค้าในห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain Engagement) เพิ่มขึ้น รวมถึงการขับเคลื่อนในประเด็นที่ถูกระบุว่ามีสาระสำคัญในรายสาขาอุตสาหกรรม ที่จะก่อตัวเป็นทิศทางหลักของการดำเนินการความรับผิดชอบต่อสังคมของแต่ละกิจการ
ห้า ธุรกิจจะเพิ่มความสำคัญกับการจัดการของเสียและซากผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้นในห่วงโซ่ธุรกิจ
นับตั้งแต่รัฐบาลมีการหยิบยกปัญหาขยะขึ้นเป็นวาระสำคัญ และได้มีการเห็นชอบแผนยุทธศาสตร์การจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย รวมถึงการเดินหน้าพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล ที่จะส่งผลให้เกิดการเติบโตของเครื่องมือ และอุปกรณ์เทคโนโลยีดิจิทัลอย่างก้าวกระโดด รวมถึงปริมาณกากของเสียอันตราย และขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่เพิ่มขึ้น
จึงทำให้ปีนี้เป็นที่คาดหมายว่าจะมีการผลักดันกฎหมายที่ใช้กำกับดูแลการจัดการซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เป็นการเฉพาะ โดยอาศัยหลักการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ควบคู่กับการขยายบทบาทความรับผิดชอบของผู้ผลิต (Extended Producer Responsibility : EPR) ที่จะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการจัดการซากผลิตภัณฑ์ และสิ่งที่จะเป็นผลตามมาคือ ผู้ประกอบธุรกิจจำเป็นต้องเตรียมการ และดำเนินการปรับปรุงผลิตภัณฑ์ให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมให้มากขึ้น เพื่อให้สอดคล้องกับวิถีการผลิตและการบริโภคอย่างยั่งยืน
หก เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) จะมากับทิศทางการพัฒนาของโลกนับจากนี้ไปอีก 15 ปี
ในปี 2558 นี้ เป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ จะสิ้นสุดลง และสหประชาชาติจะมีการประกาศเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs) ตามกรอบแนวคิดใหม่ที่มองการพัฒนาเป็นมิติ ทั้งมิติเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ให้มีความเชื่อมโยงกันเพื่อลดข้อจำกัดของการส่งเสริมการพัฒนาในแบบแยกส่วน
ทุกองค์กรที่มองเรื่องความยั่งยืน จะสามารถนำเอาองค์ประกอบของกรอบการพัฒนาที่ยั่งยืนฉบับใหม่ใน 17 เรื่อง มาเป็นข้อมูลสำหรับการวางกลยุทธ์ และแนวทางในการดำเนินงานด้านซีเอสอาร์ให้สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาในระดับมหภาค
ถึงตรงนี้ "ดร.พิพัฒน์" กล่าวเพิ่มเติมว่า ในปี 2558 องค์กรธุรกิจไม่เพียงต้องการสร้างมูลค่าเพิ่ม และการเติบโตของกิจการ แต่คำนึงถึงการสร้างคุณค่าร่วม และความยั่งยืนของกิจการ ที่จะยกระดับด้วยการทบทวน CG ที่มีอยู่ในองค์กร ขยายสู่เรื่อง ESG เพื่อให้ครอบคลุมปัจจัยด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม และปรับตัวเข้าสู่วิถีของการพัฒนาความยั่งยืน
ความสำเร็จจากการดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมจึงเป็นกุญแจสำคัญที่จะเปิดทางไปสู่การพัฒนาความยั่งยืน (Sustainability) ให้แก่กิจการและสังคมโดยรวม
[Original Link]