เด็กเป็นเรื่องของทุกธุรกิจ
สุธิชา เจริญงาม
การขับเคลื่อนเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) ที่ทาง สถาบันไทยพัฒน์ พยายามผลักดันเป็นเวลากว่าทศวรรษ นับจากที่สถาบันเริ่มจับงานทางด้านนี้อย่างจริงจัง คือ การให้ความสำคัญกับความรับผิดชอบต่อสังคมในกระบวนการธุรกิจ (CSR-in-Process) ที่เมื่อธุรกิจเข้าใจและสามารถผนวกเรื่องดังกล่าวเข้าในกระบวนการดำเนินธุรกิจได้ ก็จะพบว่าสามารถก่อให้เกิดความยั่งยืนได้มากกว่าการช่วยเหลือรับผิดชอบผ่านทางกิจกรรมเพื่อสังคมเป็นรายครั้งหรือเป็นรายโครงการที่แยกต่างหากจากกระบวนการธุรกิจปกติ(CSR-after-Process)ที่วันใดวันหนึ่งข้างหน้าจะต้องมีเวลาสิ้นสุด หรือยุติโครงการ
เมื่อพิจารณาถึงเรื่องหรือประเด็นที่ธุรกิจหยิบยกมาดำเนินการ ดังตัวอย่างเรื่อง "สิทธิมนุษยชนของเด็ก" หรือ "สิทธิเด็ก" นอกจากความพยายามในการผลักดันให้ธุรกิจเข้าใจและสามารถผนวกเรื่องสิทธิเด็ก เข้าไว้กับการดำเนินธุรกิจในแบบ CSR-in-Process ที่มิใช่เพียงการให้ความช่วยเหลือในเชิงสงเคราะห์แก่เด็กหรือเยาวชนกลุ่มเป้าหมาย ในแบบ CSR-after-Process เท่านั้นแล้ว ยังมีความท้าทายเพิ่มขึ้นอีกประการหนึ่ง คือ มุมมองของธุรกิจที่คิดว่ากิจการของตนไม่มีการดำเนินงานเกี่ยวข้องกับการละเมิดสิทธิเด็ก ด้วยเหตุผลที่ว่าในสถานประกอบการมิได้ใช้หรือมีแรงงานเด็กไว้ทำงาน
การมีหรือไม่มีแรงงานเด็กไว้ทำงานมิได้เป็นเงื่อนไขเดียวที่แสดงว่ากิจการไม่ได้เกี่ยวข้องกับเรื่องสิทธิเด็ก เพราะเรื่องสิทธิเด็กและหลักปฏิบัติทางธุรกิจ(Children"s Rights and Business Principles-CRBP) ตามหลักสากล ครอบคลุมกิจกรรมทางธุรกิจที่ไม่จำกัดเพียงในสถานประกอบการ (Workplace) แต่ยังรวมถึงกิจกรรมทางธุรกิจ หรือบทบาทในตลาด (Marketplace) ซึ่งเกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์และบริการของธุรกิจ และการใช้สื่อโฆษณาและการตลาดในทางที่เคารพและส่งเสริมสิทธิเด็ก ตลอดจนกิจกรรมทางธุรกิจ หรือบทบาทในชุมชน และที่เกี่ยวเนื่องกับสิ่งแวดล้อม (Community and Environment) อีกด้วย
ในประเด็นผลิตภัณฑ์และบริการของธุรกิจ สิทธิเด็กและหลักปฏิบัติทางธุรกิจ มิได้หมายความถึงเฉพาะสินค้าและบริการที่เกี่ยวกับเด็ก หรือจำกัดอยู่ในวงของธุรกิจที่ผลิตสินค้าและบริการสำหรับเด็กเท่านั้น แต่ครอบคลุมถึงสินค้าและบริการทั่วไป ตั้งแต่ขั้นตอนการวิจัยและทดสอบผลิตภัณฑ์ก่อนวางจำหน่าย ที่ต้องนำเด็กเข้าร่วมหรือเข้ามาเกี่ยวข้อง (เช่น การออกแบบรถยนต์ที่คำนึงถึงการส่งเสริมความปลอดภัยของเด็ก เพราะเด็กมักจะนั่งโดยสารในแถวหลัง จึงต้องคำนึงถึงการจัดวางอุปกรณ์นิรภัยให้เหมาะสมสำหรับเด็ก) ขั้นตอนการขายและการตลาด โดยมีเด็กเป็นส่วนหนึ่งของการประชาสัมพันธ์ตราสินค้า ขั้นตอนการใช้ผลิตภัณฑ์ที่อาจเป็นอันตรายต่อเด็ก หรืออาจถูกเด็กนำไปใช้ผิดวิธีจนเกิดอันตราย ขั้นตอนการประเมินและติดตามผลการใช้สินค้าและบริการของผู้บริโภคเพื่อให้ทราบว่ามีเด็กได้รับอันตรายจากสินค้าและบริการเหล่านั้นหรือไม่หรือถูกนำไปใช้กระทำละเมิดแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบหรือทำร้ายเด็กหรือไม่ รวมถึงขั้นตอนการจัดทำช่องทางแจ้งเหตุอันตรายหรือความเสี่ยงต่อเด็ก ตลอดจนกลไกการรับเรื่องร้องทุกข์หรือร้องเรียนที่เกี่ยวเนื่องจากสินค้าและบริการอันส่งผลกระทบต่อเด็ก เป็นต้น
การตลาดและโฆษณาที่มุ่งเจาะกลุ่มผู้บริโภคที่เป็นเด็กนั้น ได้สร้างความวิตกในหลายด้าน เนื่องเพราะเด็กยังขาดกระบวนการคิดเชิงวิเคราะห์ จึงมักเชื่อว่าข้อความโฆษณาเหล่านั้นเป็นเรื่องจริงทั้งหมด ส่งผลให้เด็กมองโลกผิดเพี้ยนไป โดยอาจถึงขั้นเป็นอันตรายต่อสุขภาพและพัฒนาการของเด็ก อีกทั้งอาจชักนำให้ต้องเผชิญกับสถานการณ์ที่เสี่ยงอันตราย
การโฆษณาที่ไม่เหมาะสม สามารถส่งอิทธิพลเชิงลบต่อพฤติกรรมและความเคารพตนเองของเด็ก การสื่อสารการตลาดกับเด็กโดยไม่คำนึงถึงการไตร่ตรองอย่างรอบคอบ สามารถเปลี่ยนทัศนคติเด็กไปในทางที่ไม่เหมาะสม บั่นทอนพัฒนาการทางจิตใจและสังคมของเด็ก เช่น การยอมรับว่าความรุนแรงเป็นเรื่องปกติ ความสนใจเรื่องเพศก่อนวัยอันควร ความหมกมุ่นกับความงามทางร่างกายจนเกินพอดี การถูกครอบงำด้วยวิถีบริโภคนิยมที่บ่มเพาะนิสัยใช้จ่ายเกินตัวตั้งแต่เยาว์วัย ฯลฯ
โดยเฉพาะในยุคปัจจุบันที่เด็กสามารถเข้าถึงสื่อสมัยใหม่ได้โดยไม่มีผู้ใหญ่คอยดูแล สื่อเหล่านี้ยังติดตามตรวจสอบได้ยากกว่าสื่อวิทยุหรือโทรทัศน์มาก การทำตลาดกับเด็กได้ขยายไปสู่ช่องทางสื่อสารในรูปแบบใหม่ ๆ ที่ยิ่งกำกับดูแลได้ยาก เช่น การส่งเสริมการขายโดยใช้โรงเรียนเป็นสถานที่ขายสินค้า การใช้วัสดุทางการศึกษาเพื่อสร้างความนิยมต่อตราสินค้า การใช้กิจกรรมทางการตลาดผ่านชมรมเด็ก การจัดงานฉลองหรืองานบันเทิง การใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ รายการโทรทัศน์ ภาพยนตร์ เกมวิดีโอ การส่งข้อความทางสื่อดิจิทัล ที่ทำให้เด็กตกอยู่ในสภาพแวดล้อมของการโฆษณาและการตลาดวันละหลายชั่วโมง สร้างแรงกดดันให้เด็กต้องเลียนแบบเพื่อน และใช้มิตรภาพเพื่อประโยชน์ทางการค้าในที่สุด
กิจกรรมทางธุรกิจหรือบทบาทในตลาด (Marketplace) ได้ชี้ให้เห็นถึงความมีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องสิทธิเด็กและหลักปฏิบัติทางธุรกิจ โดยไม่จำกัดประเภทและขนาดของกิจการ ความเข้าใจในเรื่องดังกล่าวอย่างถูกต้อง จะเปิดทางให้กิจการได้ตระหนักว่า "เด็กเป็นเรื่องของทุกธุรกิจ" และทุกกิจการสามารถมีส่วนในการดูแลเด็ก ผ่านทางความรับผิดชอบต่อสังคมในกระบวนการธุรกิจของตนในแบบ CSR-in-Process โดยก่อให้เกิดเป็นความยั่งยืนได้จริง
[Original Link]
เมื่อพิจารณาถึงเรื่องหรือประเด็นที่ธุรกิจหยิบยกมาดำเนินการ ดังตัวอย่างเรื่อง "สิทธิมนุษยชนของเด็ก" หรือ "สิทธิเด็ก" นอกจากความพยายามในการผลักดันให้ธุรกิจเข้าใจและสามารถผนวกเรื่องสิทธิเด็ก เข้าไว้กับการดำเนินธุรกิจในแบบ CSR-in-Process ที่มิใช่เพียงการให้ความช่วยเหลือในเชิงสงเคราะห์แก่เด็กหรือเยาวชนกลุ่มเป้าหมาย ในแบบ CSR-after-Process เท่านั้นแล้ว ยังมีความท้าทายเพิ่มขึ้นอีกประการหนึ่ง คือ มุมมองของธุรกิจที่คิดว่ากิจการของตนไม่มีการดำเนินงานเกี่ยวข้องกับการละเมิดสิทธิเด็ก ด้วยเหตุผลที่ว่าในสถานประกอบการมิได้ใช้หรือมีแรงงานเด็กไว้ทำงาน
การมีหรือไม่มีแรงงานเด็กไว้ทำงานมิได้เป็นเงื่อนไขเดียวที่แสดงว่ากิจการไม่ได้เกี่ยวข้องกับเรื่องสิทธิเด็ก เพราะเรื่องสิทธิเด็กและหลักปฏิบัติทางธุรกิจ(Children"s Rights and Business Principles-CRBP) ตามหลักสากล ครอบคลุมกิจกรรมทางธุรกิจที่ไม่จำกัดเพียงในสถานประกอบการ (Workplace) แต่ยังรวมถึงกิจกรรมทางธุรกิจ หรือบทบาทในตลาด (Marketplace) ซึ่งเกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์และบริการของธุรกิจ และการใช้สื่อโฆษณาและการตลาดในทางที่เคารพและส่งเสริมสิทธิเด็ก ตลอดจนกิจกรรมทางธุรกิจ หรือบทบาทในชุมชน และที่เกี่ยวเนื่องกับสิ่งแวดล้อม (Community and Environment) อีกด้วย
ในประเด็นผลิตภัณฑ์และบริการของธุรกิจ สิทธิเด็กและหลักปฏิบัติทางธุรกิจ มิได้หมายความถึงเฉพาะสินค้าและบริการที่เกี่ยวกับเด็ก หรือจำกัดอยู่ในวงของธุรกิจที่ผลิตสินค้าและบริการสำหรับเด็กเท่านั้น แต่ครอบคลุมถึงสินค้าและบริการทั่วไป ตั้งแต่ขั้นตอนการวิจัยและทดสอบผลิตภัณฑ์ก่อนวางจำหน่าย ที่ต้องนำเด็กเข้าร่วมหรือเข้ามาเกี่ยวข้อง (เช่น การออกแบบรถยนต์ที่คำนึงถึงการส่งเสริมความปลอดภัยของเด็ก เพราะเด็กมักจะนั่งโดยสารในแถวหลัง จึงต้องคำนึงถึงการจัดวางอุปกรณ์นิรภัยให้เหมาะสมสำหรับเด็ก) ขั้นตอนการขายและการตลาด โดยมีเด็กเป็นส่วนหนึ่งของการประชาสัมพันธ์ตราสินค้า ขั้นตอนการใช้ผลิตภัณฑ์ที่อาจเป็นอันตรายต่อเด็ก หรืออาจถูกเด็กนำไปใช้ผิดวิธีจนเกิดอันตราย ขั้นตอนการประเมินและติดตามผลการใช้สินค้าและบริการของผู้บริโภคเพื่อให้ทราบว่ามีเด็กได้รับอันตรายจากสินค้าและบริการเหล่านั้นหรือไม่หรือถูกนำไปใช้กระทำละเมิดแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบหรือทำร้ายเด็กหรือไม่ รวมถึงขั้นตอนการจัดทำช่องทางแจ้งเหตุอันตรายหรือความเสี่ยงต่อเด็ก ตลอดจนกลไกการรับเรื่องร้องทุกข์หรือร้องเรียนที่เกี่ยวเนื่องจากสินค้าและบริการอันส่งผลกระทบต่อเด็ก เป็นต้น
การตลาดและโฆษณาที่มุ่งเจาะกลุ่มผู้บริโภคที่เป็นเด็กนั้น ได้สร้างความวิตกในหลายด้าน เนื่องเพราะเด็กยังขาดกระบวนการคิดเชิงวิเคราะห์ จึงมักเชื่อว่าข้อความโฆษณาเหล่านั้นเป็นเรื่องจริงทั้งหมด ส่งผลให้เด็กมองโลกผิดเพี้ยนไป โดยอาจถึงขั้นเป็นอันตรายต่อสุขภาพและพัฒนาการของเด็ก อีกทั้งอาจชักนำให้ต้องเผชิญกับสถานการณ์ที่เสี่ยงอันตราย
การโฆษณาที่ไม่เหมาะสม สามารถส่งอิทธิพลเชิงลบต่อพฤติกรรมและความเคารพตนเองของเด็ก การสื่อสารการตลาดกับเด็กโดยไม่คำนึงถึงการไตร่ตรองอย่างรอบคอบ สามารถเปลี่ยนทัศนคติเด็กไปในทางที่ไม่เหมาะสม บั่นทอนพัฒนาการทางจิตใจและสังคมของเด็ก เช่น การยอมรับว่าความรุนแรงเป็นเรื่องปกติ ความสนใจเรื่องเพศก่อนวัยอันควร ความหมกมุ่นกับความงามทางร่างกายจนเกินพอดี การถูกครอบงำด้วยวิถีบริโภคนิยมที่บ่มเพาะนิสัยใช้จ่ายเกินตัวตั้งแต่เยาว์วัย ฯลฯ
โดยเฉพาะในยุคปัจจุบันที่เด็กสามารถเข้าถึงสื่อสมัยใหม่ได้โดยไม่มีผู้ใหญ่คอยดูแล สื่อเหล่านี้ยังติดตามตรวจสอบได้ยากกว่าสื่อวิทยุหรือโทรทัศน์มาก การทำตลาดกับเด็กได้ขยายไปสู่ช่องทางสื่อสารในรูปแบบใหม่ ๆ ที่ยิ่งกำกับดูแลได้ยาก เช่น การส่งเสริมการขายโดยใช้โรงเรียนเป็นสถานที่ขายสินค้า การใช้วัสดุทางการศึกษาเพื่อสร้างความนิยมต่อตราสินค้า การใช้กิจกรรมทางการตลาดผ่านชมรมเด็ก การจัดงานฉลองหรืองานบันเทิง การใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ รายการโทรทัศน์ ภาพยนตร์ เกมวิดีโอ การส่งข้อความทางสื่อดิจิทัล ที่ทำให้เด็กตกอยู่ในสภาพแวดล้อมของการโฆษณาและการตลาดวันละหลายชั่วโมง สร้างแรงกดดันให้เด็กต้องเลียนแบบเพื่อน และใช้มิตรภาพเพื่อประโยชน์ทางการค้าในที่สุด
กิจกรรมทางธุรกิจหรือบทบาทในตลาด (Marketplace) ได้ชี้ให้เห็นถึงความมีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องสิทธิเด็กและหลักปฏิบัติทางธุรกิจ โดยไม่จำกัดประเภทและขนาดของกิจการ ความเข้าใจในเรื่องดังกล่าวอย่างถูกต้อง จะเปิดทางให้กิจการได้ตระหนักว่า "เด็กเป็นเรื่องของทุกธุรกิจ" และทุกกิจการสามารถมีส่วนในการดูแลเด็ก ผ่านทางความรับผิดชอบต่อสังคมในกระบวนการธุรกิจของตนในแบบ CSR-in-Process โดยก่อให้เกิดเป็นความยั่งยืนได้จริง
[Original Link]