ทิศทาง CSR ปี 2559
ปี 2559 เป็นปีที่รายงาน “6 ทิศทาง CSR” เดินทางมาถึงขวบปีที่ 10 นับตั้งแต่ที่สถาบันไทยพัฒน์ได้ริเริ่มการประเมินแนวโน้มความรับผิดชอบต่อสังคมของกิจการ (CSR) ที่เกิดขึ้นในประเทศไทย เป็นครั้งแรกในปี 2550 และได้ใช้เป็นกิจกรรมสำหรับการรายงานแนวโน้ม CSR ประจำทุกปี เป็นต้นมา
ในรอบปี 2558 ที่ผ่านมา มีเหตุการณ์สำคัญๆในบริบทของความรับผิดชอบต่อสังคมและการพัฒนาที่ยั่งยืน ที่ควรหยิบยกมากล่าวถึงอยู่ 3 เหตุการณ์ เริ่มจากเรื่องที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบยุทธศาสตร์การส่งเสริมความรับผิดชอบต่อสังคมของภาคธุรกิจ พ.ศ. 2558 – 2560 เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2558 ถือเป็นยุทธศาสตร์ด้าน CSR ฉบับแรกของประเทศ โดยสาระสำคัญของยุทธศาสตร์ ประกอบด้วย ด้านการสร้างวัฒนธรรมความรับผิดชอบต่อสังคมของภาคธุรกิจ ด้านการสร้างเอกภาพในการบริหารยุทธศาสตร์การส่งเสริมความรับผิดชอบต่อสังคมของภาคธุรกิจ ด้านการส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืนของภาคธุรกิจ ด้านการรวมพลังเพื่อพัฒนาสังคม สิ่งแวดล้อมและสร้างความมั่นคงของมนุษย์ และด้านการส่งเสริมความรับผิดชอบต่อสังคมของภาคธุรกิจระหว่างประเทศ
เหตุการณ์ต่อมา คือ การประกาศใช้เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) 17 ข้อ ที่ผ่านการรับรองจาก 193 ประเทศสมาชิกองค์การสหประชาชาติ เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2558 เพื่อใช้เป็นทิศทางการพัฒนาที่นานาประเทศ รวมทั้งไทย จะใช้อ้างอิงนับจากนี้ไป จวบจนปี ค.ศ.2030 ครอบคลุมระยะเวลา 15 ปีข้างหน้า
เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนทั้ง 17 ข้อ ประกอบด้วย การพัฒนาหรือการแก้ไขปัญหาในเรื่อง (1) ความยากจน (2) ความหิวโหย (3) สุขภาวะ (4) การศึกษา (5) ความเท่าเทียมทางเพศ (6) น้ำและการสุขาภิบาล (7) พลังงาน (8) เศรษฐกิจและการจ้างงาน (9) โครงสร้างพื้นฐานและการปรับให้เป็นอุตสาหกรรม (10) ความเหลื่อมล้ำ (11) เมืองและการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ (12) แบบแผนการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน (13) การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและผลกระทบ (14) ทรัพยากรทางทะเล (15) ระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพ (16) สังคมและความยุติธรรม (17) หุ้นส่วนความร่วมมือและการปฏิบัติให้เกิดผล
อีกเหตุการณ์หนึ่ง ที่มีผลหลังจากปี 2558 ผ่านพ้นไป คือ การเข้าสู่ความเป็นประชาคมอาเซียน หรือ ASEAN Community (AC) ของ 10 ประเทศสมาชิกสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งประกอบด้วย ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (APSC) ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) และประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASCC) ซึ่งเรื่อง CSR จะมีบทบาทสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาเชิงเศรษฐกิจ-สังคมที่ยั่งยืนในหมู่ประเทศสมาชิกอาเซียน ด้วยการผลักดันให้ภาคธุรกิจผนวกเอาเรื่อง CSR ไว้ในวาระการดำเนินงานขององค์กร
สถาบันไทยพัฒน์ ได้ทำการประเมินทิศทางความรับผิดชอบต่อสังคม ภายใต้รายงานที่มีชื่อว่า “6 ทิศทาง CSR ปี 2559: New SD Paradigm” เผยแพร่ให้แก่องค์กรธุรกิจและหน่วยงานต่างๆ สำหรับเป็นแนวทางในการปรับโจทย์เพื่อรองรับกระบวนทัศน์การพัฒนาที่ยั่งยืนใหม่ ที่เคลื่อนตัวไปตามการเปลี่ยนแปลงในระดับสากล โดยยังสามารถตอบสนองต่อความคาดหวังของกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียขององค์กรได้อย่างตรงจุด และเกิดเป็นผลลัพธ์ที่เอื้อต่อการสร้างคุณค่าให้แก่กิจการและสังคมโดยรวม
ในรอบปี 2558 ที่ผ่านมา มีเหตุการณ์สำคัญๆในบริบทของความรับผิดชอบต่อสังคมและการพัฒนาที่ยั่งยืน ที่ควรหยิบยกมากล่าวถึงอยู่ 3 เหตุการณ์ เริ่มจากเรื่องที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบยุทธศาสตร์การส่งเสริมความรับผิดชอบต่อสังคมของภาคธุรกิจ พ.ศ. 2558 – 2560 เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2558 ถือเป็นยุทธศาสตร์ด้าน CSR ฉบับแรกของประเทศ โดยสาระสำคัญของยุทธศาสตร์ ประกอบด้วย ด้านการสร้างวัฒนธรรมความรับผิดชอบต่อสังคมของภาคธุรกิจ ด้านการสร้างเอกภาพในการบริหารยุทธศาสตร์การส่งเสริมความรับผิดชอบต่อสังคมของภาคธุรกิจ ด้านการส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืนของภาคธุรกิจ ด้านการรวมพลังเพื่อพัฒนาสังคม สิ่งแวดล้อมและสร้างความมั่นคงของมนุษย์ และด้านการส่งเสริมความรับผิดชอบต่อสังคมของภาคธุรกิจระหว่างประเทศ
เหตุการณ์ต่อมา คือ การประกาศใช้เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) 17 ข้อ ที่ผ่านการรับรองจาก 193 ประเทศสมาชิกองค์การสหประชาชาติ เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2558 เพื่อใช้เป็นทิศทางการพัฒนาที่นานาประเทศ รวมทั้งไทย จะใช้อ้างอิงนับจากนี้ไป จวบจนปี ค.ศ.2030 ครอบคลุมระยะเวลา 15 ปีข้างหน้า
เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนทั้ง 17 ข้อ ประกอบด้วย การพัฒนาหรือการแก้ไขปัญหาในเรื่อง (1) ความยากจน (2) ความหิวโหย (3) สุขภาวะ (4) การศึกษา (5) ความเท่าเทียมทางเพศ (6) น้ำและการสุขาภิบาล (7) พลังงาน (8) เศรษฐกิจและการจ้างงาน (9) โครงสร้างพื้นฐานและการปรับให้เป็นอุตสาหกรรม (10) ความเหลื่อมล้ำ (11) เมืองและการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ (12) แบบแผนการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน (13) การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและผลกระทบ (14) ทรัพยากรทางทะเล (15) ระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพ (16) สังคมและความยุติธรรม (17) หุ้นส่วนความร่วมมือและการปฏิบัติให้เกิดผล
อีกเหตุการณ์หนึ่ง ที่มีผลหลังจากปี 2558 ผ่านพ้นไป คือ การเข้าสู่ความเป็นประชาคมอาเซียน หรือ ASEAN Community (AC) ของ 10 ประเทศสมาชิกสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งประกอบด้วย ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (APSC) ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) และประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASCC) ซึ่งเรื่อง CSR จะมีบทบาทสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาเชิงเศรษฐกิจ-สังคมที่ยั่งยืนในหมู่ประเทศสมาชิกอาเซียน ด้วยการผลักดันให้ภาคธุรกิจผนวกเอาเรื่อง CSR ไว้ในวาระการดำเนินงานขององค์กร
สถาบันไทยพัฒน์ ได้ทำการประเมินทิศทางความรับผิดชอบต่อสังคม ภายใต้รายงานที่มีชื่อว่า “6 ทิศทาง CSR ปี 2559: New SD Paradigm” เผยแพร่ให้แก่องค์กรธุรกิจและหน่วยงานต่างๆ สำหรับเป็นแนวทางในการปรับโจทย์เพื่อรองรับกระบวนทัศน์การพัฒนาที่ยั่งยืนใหม่ ที่เคลื่อนตัวไปตามการเปลี่ยนแปลงในระดับสากล โดยยังสามารถตอบสนองต่อความคาดหวังของกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียขององค์กรได้อย่างตรงจุด และเกิดเป็นผลลัพธ์ที่เอื้อต่อการสร้างคุณค่าให้แก่กิจการและสังคมโดยรวม
(พิพัฒน์ ยอดพฤติการ) ผู้อำนวยการสถาบันไทยพัฒน์ 10 มีนาคม 2559 |