สารจากผู้อำนวยการ
"การปรับเปลี่ยนการดำเนินธุรกิจ ให้สอดรับกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง" เป็นแนวคิดพื้นฐานหนึ่งที่สำคัญต่อการบริหารจัดการธุรกิจในปี พ.ศ.2563 ให้สามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืน ท่ามกลางสถานการณ์ที่ท้าทาย เช่น เศรษฐกิจชะลอตัวอันเกิดจากสงครามทางการค้า (Trade War) ปัญหาสภาพแวดล้อมทั้งการแพร่กระจายของฝุ่นขนาดเล็ก (PM2.5) และวิกฤตอันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่รุนแรง อันนำไปสู่ปัญหาภัยแล้ง ตลอดจนสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา (Covid-19) ในประเทศต่าง ๆ
จากสภาพการณ์ที่กล่าวมา ได้นำไปสู่การเติบโตทางเศรษฐกิจที่ชะลอตัว และส่งผลกระทบต่อองค์กรธุรกิจต่าง ๆ อย่างหลีกเลี่ยงมิได้ และยังเป็นความท้าทายต่อความก้าวหน้าในการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนอย่างมีนัยสำคัญ รวมทั้งความคาดหวังจากผู้มีส่วนได้เสียกลุ่มต่าง ๆ ต่อการดำเนินงานของภาคเอกชนก็เพิ่มขึ้นจากเดิม สะท้อนให้เห็นด้วยเหตุการณ์สำคัญ ๆ ในแวดวงธุรกิจกับการพัฒนาสู่ความยั่งยืน เช่น การลงนามของสมาชิกสมาคม Business Roundtable ในสหรัฐอเมริกา ที่มีคำแถลงแห่งความมุ่งประสงค์ของกิจการ จากการปรับเปลี่ยนจุดยืนเพื่อผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้นไปสู่ผู้มีส่วนได้เสีย หรือการออกคำประกาศเจตนาดาโวส 2020: ความมุ่งหมายสากลของบริษัทในยุคแห่งการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่สี่ โดยมุ่งหมายที่จะสานสัมพันธ์ผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม ในอันที่จะสร้างให้เกิดคุณค่าร่วมและยั่งยืน เป็นต้น
ปี 2563 ถือว่าเป็นปีที่บรรดาองค์กรธุรกิจ จำเป็นต้องทบทวนบทบาทการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องต่อผลกระทบในวงผู้มีส่วนได้เสียที่สำคัญ ทั้งภายในองค์กรและในห่วงโซ่คุณค่าของกิจการ อีกทั้งยังเป็นปีที่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ได้เดินทางมาแล้วหนึ่งในสามของระยะเวลาที่จะต้องบรรลุเป้าหมายดังกล่าวในปี ค.ศ.2030 โดยมีระยะเวลาเหลืออีก 10 ปี จึงเป็นเรื่องที่ภาคเอกชนต้องตื่นตัว ทำงานร่วมกับภาคส่วนอื่นๆ ในฐานะหุ้นส่วนการพัฒนาที่ยั่งยืน (Partnership for Sustainable Development) เพื่อส่งมอบคุณค่าแก่กิจการและผู้มีส่วนได้เสีย ในทิศทางที่เอื้อต่อการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนตามกรอบเวลาที่กำหนดร่วมกัน
กระผมหวังว่า หนังสือ 6 ทิศทาง CSR ปี 2563: The Year of Sustainpreneurship ฉบับนี้ จะเป็นข้อมูลนำเข้าที่สำคัญสำหรับเตรียมความพร้อมของกิจการ ในการขับเคลื่อนบทบาทที่มีต่อผู้มีส่วนได้เสียกลุ่มต่าง ๆ และสำหรับกำหนดทิศทางการดำเนินงานขององค์กรให้สอดรับกับสภาพการณ์ที่เปลี่ยนแปลง อันนำไปสู่การพัฒนาขีดความสามารถในการเสริมสร้างภาวะผู้ประกอบความยั่งยืน (Sustainpreneurship) ของกิจการได้ในที่สุด
จากสภาพการณ์ที่กล่าวมา ได้นำไปสู่การเติบโตทางเศรษฐกิจที่ชะลอตัว และส่งผลกระทบต่อองค์กรธุรกิจต่าง ๆ อย่างหลีกเลี่ยงมิได้ และยังเป็นความท้าทายต่อความก้าวหน้าในการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนอย่างมีนัยสำคัญ รวมทั้งความคาดหวังจากผู้มีส่วนได้เสียกลุ่มต่าง ๆ ต่อการดำเนินงานของภาคเอกชนก็เพิ่มขึ้นจากเดิม สะท้อนให้เห็นด้วยเหตุการณ์สำคัญ ๆ ในแวดวงธุรกิจกับการพัฒนาสู่ความยั่งยืน เช่น การลงนามของสมาชิกสมาคม Business Roundtable ในสหรัฐอเมริกา ที่มีคำแถลงแห่งความมุ่งประสงค์ของกิจการ จากการปรับเปลี่ยนจุดยืนเพื่อผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้นไปสู่ผู้มีส่วนได้เสีย หรือการออกคำประกาศเจตนาดาโวส 2020: ความมุ่งหมายสากลของบริษัทในยุคแห่งการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่สี่ โดยมุ่งหมายที่จะสานสัมพันธ์ผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม ในอันที่จะสร้างให้เกิดคุณค่าร่วมและยั่งยืน เป็นต้น
ปี 2563 ถือว่าเป็นปีที่บรรดาองค์กรธุรกิจ จำเป็นต้องทบทวนบทบาทการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องต่อผลกระทบในวงผู้มีส่วนได้เสียที่สำคัญ ทั้งภายในองค์กรและในห่วงโซ่คุณค่าของกิจการ อีกทั้งยังเป็นปีที่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ได้เดินทางมาแล้วหนึ่งในสามของระยะเวลาที่จะต้องบรรลุเป้าหมายดังกล่าวในปี ค.ศ.2030 โดยมีระยะเวลาเหลืออีก 10 ปี จึงเป็นเรื่องที่ภาคเอกชนต้องตื่นตัว ทำงานร่วมกับภาคส่วนอื่นๆ ในฐานะหุ้นส่วนการพัฒนาที่ยั่งยืน (Partnership for Sustainable Development) เพื่อส่งมอบคุณค่าแก่กิจการและผู้มีส่วนได้เสีย ในทิศทางที่เอื้อต่อการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนตามกรอบเวลาที่กำหนดร่วมกัน
กระผมหวังว่า หนังสือ 6 ทิศทาง CSR ปี 2563: The Year of Sustainpreneurship ฉบับนี้ จะเป็นข้อมูลนำเข้าที่สำคัญสำหรับเตรียมความพร้อมของกิจการ ในการขับเคลื่อนบทบาทที่มีต่อผู้มีส่วนได้เสียกลุ่มต่าง ๆ และสำหรับกำหนดทิศทางการดำเนินงานขององค์กรให้สอดรับกับสภาพการณ์ที่เปลี่ยนแปลง อันนำไปสู่การพัฒนาขีดความสามารถในการเสริมสร้างภาวะผู้ประกอบความยั่งยืน (Sustainpreneurship) ของกิจการได้ในที่สุด
(วรณัฐ เพียรธรรม) ผู้อำนวยการสถาบันไทยพัฒน์ 25 กุมภาพันธ์ 2563 |