Thaipat Institute

GRI Certified Training Partner นับตั้งแต่ปี พ.ศ.2556

รู้จัก    CG   ¦   ESG   ¦   CSR   ¦   CSV   ¦   SD   ¦   SE   ¦   SB

The State of Corporate Sustainability in 2020

รายงานสถานภาพความยั่งยืนของกิจการ    


สถาบันไทยพัฒน์ เปิดผลสำรวจสถานภาพความยั่งยืนของ 115 กิจการ ในงาน “The State of Corporate Sustainability in 2020” พร้อมแนะนำเครื่องมือวัดเทียบสมรรถนะการดำเนินงานองค์กรในด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล “ESG Benchmark” ตามชุดตัวชี้วัดที่สมาพันธ์ตลาดหลักทรัพย์โลก (WFE) แนะนำ เป็นครั้งแรกในประเทศไทย (อ่านต่อ)

ข่าวประชาสัมพันธ์
กำหนดการ
เอกสารนำเสนอในช่วงเสวนา (เฉพาะองค์กรสมาชิก SDC)

 


สถาบันไทยพัฒน์ ในฐานะหน่วยงานที่มุ่งเน้นงานส่งเสริมความยั่งยืนของกิจการ และขับเคลื่อนเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมของกิจการร่วมกับภาคเอกชนมาอย่างต่อเนื่อง ได้ทำการประมวลและจัดทำรายงานสถานภาพความยั่งยืนของกิจการ ปี 2563 หรือ “The State of Corporate Sustainability in 2020” จำแนกตามกลุ่มอุตสาหกรรม ด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลความยั่งยืนที่เปิดเผยโดยองค์กรสมาชิกประชาคมการเปิดเผยข้อมูลความยั่งยืน (Sustainability Disclosure Community: SDC) จำนวน 115 แห่ง เพื่อให้ทั้งองค์กรสมาชิก SDC และองค์กรที่สนใจทั่วไป สามารถนำข้อมูลดังกล่าวไปใช้ศึกษา เปรียบเทียบสถานะ และกำหนดทิศทางการพัฒนาองค์กรสู่ความยั่งยืนตามบรรทัดฐานในอุตสาหกรรม

เนื้อหาในรายงาน แบ่งออกเป็น 5 ส่วน ประกอบด้วย
ส่วนที่หนึ่ง: CSR กับการพัฒนาสู่ความยั่งยืน

เป็นการให้ภาพของพัฒนาการความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) สู่การพัฒนาความยั่งยืน ผ่านทางเครื่องมือรายงานแห่งความยั่งยืน หรือ Sustainability Report สถิติของการรายงานความยั่งยืนในระดับสากล ในภูมิภาคอาเซียน และในประเทศไทย รวมถึงแนวโน้มความต้องการในการใช้ประโยชน์ข้อมูลจากรายงานความยั่งยืน


ส่วนที่สอง: การวิเคราะห์ประเด็นความยั่งยืนในมุมมอง GRI

เป็นการวิเคราะห์สถานภาพการพัฒนาความยั่งยืนของกิจการใน 8 กลุ่มอุตสาหกรรม ตามประเด็นความยั่งยืนที่มีการเปิดเผยมากสุดในมิติเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ซึ่งอ้างอิงมาตรฐานการรายงานสากลของ GRI (Global Reporting Standards)


ส่วนที่สาม: การวิเคราะห์ประเด็น ESG ในมุมมอง WFE

เป็นการแสดงสถานะการดำเนินงานด้านความยั่งยืนในประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (Environmental, Social and Governance: ESG) ของแต่ละกลุ่มอุตสาหกรรม พร้อมข้อแนะนำที่กิจการในแต่ละอุตสาหกรรมควรพิจารณานำไปดำเนินการ ตามประเด็นด้าน ESG ที่แนะนำโดยสมาพันธ์ตลาดหลักทรัพย์โลก (World Federation of Exchanges: WFE)


ส่วนที่สี่: การวิเคราะห์ประเด็น SDG ในมุมมอง GCI

เป็นการแสดงภาพรวมการดำเนินงานด้านความยั่งยืนของกิจการในแต่ละกลุ่มอุตสาหกรรม ที่มีการตอบสนองต่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) ผ่านกระบวนการทางธุรกิจ หรือ SDG-in-process ตามแนวทาง GCI (Guidance on Core Indicators) ที่จัดทำโดยคณะทำงานผู้ทรงคุณวุฒิระหว่างรัฐบาลด้านมาตรฐานระหว่างประเทศว่าด้วยการบัญชีและการรายงาน (International Standards of Accounting and Reporting: ISAR)


ส่วนที่ห้า: COVID-19 กับการพัฒนาสู่ความยั่งยืน

เป็นการแสดงภาพรวมการดำเนินงานด้านความยั่งยืนของกิจการที่ชี้ให้เห็นถึงแนวโน้มของการปฏิบัติของภาคธุรกิจด้านสุขภาพที่มีต่อสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่เชื่อมโยงกับประเด็นความยั่งยืน ผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 ที่มีต่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ตลอดจนทิศทางของการพัฒนาที่ยั่งยืนในภาคธุรกิจหลังสถานการณ์โควิด-19



องค์กรที่สนใจศึกษาข้อมูลในรายงานสถานภาพความยั่งยืนของกิจการ ปี 2563 สามารถดาวน์โหลดเอกสาร: “The State of Corporate Sustainability in 2020” (ความหนา 98 หน้า) ได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

 


ข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อ สถาบันไทยพัฒน์
คุณจินตนา จันสน โทรศัพท์: 02-930-5227