GCI: Underlying Principles
Rational | Principles | Core Indicators | Resources |
ตัวชี้วัดหลักสำหรับตอบสนอง SDG ที่จัดทำขึ้น มีวัตถุประสงค์ที่ต้องการให้ข้อมูลที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ ในแง่ของการใช้เป็นเครื่องมือสนับสนุนรัฐบาล เพื่อใช้วัดการดำเนินงานในระดับกิจการ ให้ได้ข้อมูลที่มีความคล้องจองกับข้อมูลในระดับประเทศที่ใช้แสดงถึงการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
และในแง่ของการใช้เป็นเครื่องมือสนับสนุนกิจการ เพื่อนำเสนอข้อมูลการดำเนินงานด้านความยั่งยืนให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องซึ่งมีความต้องการร่วมในวาระ SDG พร้อมกันกับการตอบโจทย์ตัวชี้วัด SDG ที่ 12.6.1 (จำนวนบริษัทที่มีการเผยแพร่รายงานแห่งความยั่งยืน ภายใต้เป้าหมายที่ 12.6 ที่ระบุให้มีการผลักดันกิจการ โดยเฉพาะบริษัทข้ามชาติและบริษัทขนาดใหญ่ รับข้อปฏิบัติที่ยั่งยืนไปดำเนินการ และผนวกข้อมูลด้านความยั่งยืนเข้าไว้ในรอบการรายงานประจำปีของบริษัท)
ระเบียบวิธีที่ใช้ในการคัดเลือกตัวชี้วัด
เกณฑ์ที่ใช้ในการคัดเลือกตัวชี้วัด
แม้การพิจารณาคัดเลือกตัวชี้วัดที่แนะนำให้กิจการรายงาน จะได้คำนึงถึงความเป็นสากล คือ ใช้ได้กับทุกกิจการ อย่างไรก็ดี จะมีบางตัวชี้วัดที่อาจไม่สามารถใช้ได้กับบางกิจการ อาทิ ตัวชี้วัดด้านธรรมาภิบาล กับกิจการ SMEs
อนึ่ง ตัวชี้วัดหลักที่คัดเลือก อาจมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงในระยะต่อไป โดยพิจารณาจากความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ของตัวชี้วัดที่นำมารายงาน รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงตามตัวชี้วัด SDG ที่อาจมีการปรับปรุงในอนาคต
และในแง่ของการใช้เป็นเครื่องมือสนับสนุนกิจการ เพื่อนำเสนอข้อมูลการดำเนินงานด้านความยั่งยืนให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องซึ่งมีความต้องการร่วมในวาระ SDG พร้อมกันกับการตอบโจทย์ตัวชี้วัด SDG ที่ 12.6.1 (จำนวนบริษัทที่มีการเผยแพร่รายงานแห่งความยั่งยืน ภายใต้เป้าหมายที่ 12.6 ที่ระบุให้มีการผลักดันกิจการ โดยเฉพาะบริษัทข้ามชาติและบริษัทขนาดใหญ่ รับข้อปฏิบัติที่ยั่งยืนไปดำเนินการ และผนวกข้อมูลด้านความยั่งยืนเข้าไว้ในรอบการรายงานประจำปีของบริษัท)
ระเบียบวิธีที่ใช้ในการคัดเลือกตัวชี้วัด
• | ความเรียบง่าย (Simplicity) องค์กรทั้งในภาครัฐและภาคเอกชน สามารถใช้เป็นเครื่องมือที่สะดวกต่อการรวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำรายงาน ทั้งรายงานระดับกิจการและในรูปของรายงานรวม (Consolidated) ให้แก่ผู้ใช้รายงานกลุ่มต่างๆ ได้ทำความเข้าใจในผลการดำเนินงานและผลกระทบของกิจการ ตามตัวชี้วัดหลักได้ครบถ้วน |
• | การมุ่งกำหนดแนวข้อมูลฐาน (Baseline approach) ตัวชี้วัดหลักที่ถูกคัดเลือก สามารถใช้ได้ร่วมกันในทุกธุรกิจ โดยเป็นการคำนึงถึงเรื่องที่ธุรกิจทั่วไปมีการดำเนินการอยู่ การใช้ทรัพยากรอย่างสมเหตุสมผล (อาทิ น้ำ พลังงาน อากาศ และการลดของเสีย) ประเด็นทางสังคมที่เกี่ยวกับการพัฒนาทุนด้านมนุษย์และความเสมอภาคระหว่างหญิงชาย รวมทั้งธรรมาภิบาลและความโปร่งใส เป็นต้น แนวทางที่พัฒนาขึ้นฉบับนี้ ยังคำนึงถึงข้อเท็จจริงที่แต่ละกิจการมีระดับการดำเนินการและอยู่ในเส้นทางการรายงานแห่งความยั่งยืนในระยะที่แตกต่างกัน โดยมิได้สร้างตัวชี้วัดที่เป็นบรรทัดฐานใหม่ขึ้น แต่ใช้วิธีเลือกตัวชี้วัดความยั่งยืนร่วม ซึ่งปรากฏอยู่ในกรอบการรายงานและแนวทางการเปิดเผยข้อมูลที่กิจการนิยมใช้อยู่ในปัจจุบัน (อาทิ IFRS, GRI, UNGC) โดยที่แต่ละกิจการซึ่งมีบริบทการดำเนินงานที่ต่างกัน สามารถเริ่มจากตัวชี้วัดมูลฐานดังกล่าว แล้วจึงค่อยขยายขอบเขตของการให้ข้อมูลที่ต้องการตอบสนองต่อผู้ใช้รายงานเฉพาะกลุ่มหรือที่ต้องการข้อมูลเฉพาะด้านเพิ่มเติม เช่น ผู้ลงทุนหรือผู้จัดหาทุน ที่มีความต้องการข้อมูลในประเด็น ESG ในมุมมองเฉพาะด้าน สำหรับประกอบการตัดสินใจลงทุน |
• | การเน้นตัวชี้วัดเชิงปริมาณ (Emphasis on quantitative indicators) แม้ว่าการเปิดเผยข้อมูลเชิงคุณภาพและการบอกเล่าเรื่องราวจะมีความสำคัญ รวมทั้งเข้าใจถึงบริบทเฉพาะที่อาจมีอยู่ในตัวชี้วัดที่นำมาใช้ แต่แนวทางที่พัฒนาขึ้นฉบับนี้ มิได้ให้ข้อแนะนำต่อการเปิดเผยข้อมูลแบบพรรณนา คงมุ่งเน้นที่ตัวชี้วัดเชิงปริมาณ |
• | การปรับแนวให้ลงตัวระหว่างตัวชี้วัดระดับมหภาคและจุลภาค (Alignment between the micro- and macro-level indicators) ในแต่ละตัวชี้วัดที่แนะนำให้กิจการรายงาน (ระดับจุลภาค) จะอ้างอิงถึงตัวชี้วัด SDG (ระดับมหภาค) ซึ่งมีความเกี่ยวเนื่องที่สุด รวมทั้งคำอธิบายองค์ประกอบข้อมูล (Metadata) ของตัวชี้วัดนั้น ในบางกรณี ตัวชี้วัด SDG มีความครอบคลุม มากกว่าตัวชี้วัดที่กิจการรายงาน และยังมีกรณีที่ตัวชี้วัดที่แนะนำให้กิจการรายงาน มิได้มีความสัมพันธ์โดยตรงกับตัวชี้วัด SDG แต่เพราะมีความใกล้เคียงที่สุดกับตัวชี้วัดนั้น และได้คำนึงถึงความเป็นประโยชน์ของการรายงานตามตัวชี้วัดดังกล่าว โดยอาจมีการปรับปรุงตามความเหมาะสมต่อไป |
เกณฑ์ที่ใช้ในการคัดเลือกตัวชี้วัด
• | เกี่ยวเนื่องกับตัวชี้วัด SDG อย่างน้อยหนึ่งตัวชี้วัด |
• | อิงกับความริเริ่มหลักที่ดำเนินการอยู่ หรืออยู่ในกรอบการรายงาน และ/หรือควรพบอยู่ในรายงานของกิจการที่เปิดเผยอยู่แล้ว |
• | มีความเป็นสากล (ใช้ได้กับทุกกิจการ) |
• | เปรียบเทียบกันได้ในทุกอุตสาหกรรม |
• | เป็นประเด็นซึ่งอยู่ในวิสัยที่กิจการสามารถควบคุมดูแลและเก็บรวบรวมข้อมูลเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ได้ (Incremental Approach) |
• | เอื้อต่อการขมวดรวม (Convergence) หลักการรายงานทางการเงินและรายงานที่มิใช่ตัวเลขทางการเงิน และสมรรถนะของข้อมูลที่มีความคงเส้นคงวาในการวัด |
• | เหมาะสำหรับทั้งการจัดทำแบบรายงานรวม (Consolidated) และรายงานระดับกิจการ |
แม้การพิจารณาคัดเลือกตัวชี้วัดที่แนะนำให้กิจการรายงาน จะได้คำนึงถึงความเป็นสากล คือ ใช้ได้กับทุกกิจการ อย่างไรก็ดี จะมีบางตัวชี้วัดที่อาจไม่สามารถใช้ได้กับบางกิจการ อาทิ ตัวชี้วัดด้านธรรมาภิบาล กับกิจการ SMEs
อนึ่ง ตัวชี้วัดหลักที่คัดเลือก อาจมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงในระยะต่อไป โดยพิจารณาจากความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ของตัวชี้วัดที่นำมารายงาน รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงตามตัวชี้วัด SDG ที่อาจมีการปรับปรุงในอนาคต