ESG Credit
แนวคิดของ ESG Credit มาจากการขยายกรอบแนวคิดเรื่อง Carbon Credit ที่เจาะจงในเรื่องสิ่งแวดล้อม (E) ให้ครอบคลุมไปถึงเรื่องสังคม (S) และธรรมาภิบาล (G) ที่เปิดโอกาสให้องค์กรซึ่งคำนึงถึงเรื่อง ESG อยู่แล้ว สามารถได้รับ ‘เครดิต’ จากการดำเนินงานในด้านสังคมและธรรมาภิบาล นอกเหนือจากด้านสิ่งแวดล้อมด้านเดียว
แนะนำ ESG Credit
สถาบันไทยพัฒน์ ในฐานะหน่วยงานที่ริเริ่มงานด้านส่งเสริมความยั่งยืนของกิจการ และขับเคลื่อนร่วมกับภาคเอกชนมาอย่างต่อเนื่องกว่า 20 ปี นับตั้งแต่ก่อตั้งเป็นสถาบัน เมื่อปี พ.ศ.2544 ได้ทำการออกแบบกลไกที่เอื้อให้กิจการดำเนินการพัฒนาโครงการและความริเริ่มที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม พร้อมกับการได้รับ ‘เครดิต’ จากการดำเนินการ ตามขนาดของโครงการและความริเริ่มดังกล่าว ควบคู่ไปพร้อมกัน
ESG Credit ที่กิจการได้รับ จะเทียบเท่ากับมูลค่าโครงการที่เป็นตัวเงินโดยตรง ซึ่งแตกต่างจาก Carbon Credit ที่การคำนวณเป็นมูลค่าต้องอาศัยตัวแทนค่า (Proxies) ซึ่งอาจได้มูลค่าที่ไม่เหมือนกันตามระเบียบวิธีที่ใช้และดุลพินิจของผู้ประเมิน
รู้จัก ESG Credit
โดยหากโครงการดังกล่าว เป็นที่ยอมรับของสังคม กิจการสามารถพิจารณาที่จะยกระดับจากโครงการ ซึ่งมีจุดเริ่มต้น/สิ้นสุดโครงการ ไปสู่การเป็นส่วนขยายธุรกิจเพื่อสังคม (Social Business Extension) ภายใต้ความดูแลของกิจการ ในฐานะหน่วยดำเนินงานทางธุรกิจที่ยืนอยู่ได้ด้วยตัวเอง
สถาบันไทยพัฒน์ ได้เข้าเป็นสมาชิกภาคองค์กร ประเภทที่ปรึกษา ของ IEMA (Institute of Environmental Management and Assessment) เมื่อปี พ.ศ.2560 องค์กรซึ่งมีสมาชิกที่เป็นนักวิชาชีพด้านความยั่งยืนและสิ่งแวดล้อมจากทั่วโลก จำนวนกว่า 18,000 คน ใน 113 ประเทศ มีบทบาทในการสนับสนุนการกำหนด การรับรอง และการนำมาตรฐานและข้อปฏิบัติไปใช้เพื่อการแปรเปลี่ยนโลกสู่ความยั่งยืน
แนะนำ ESG Credit
สถาบันไทยพัฒน์ ในฐานะหน่วยงานที่ริเริ่มงานด้านส่งเสริมความยั่งยืนของกิจการ และขับเคลื่อนร่วมกับภาคเอกชนมาอย่างต่อเนื่องกว่า 20 ปี นับตั้งแต่ก่อตั้งเป็นสถาบัน เมื่อปี พ.ศ.2544 ได้ทำการออกแบบกลไกที่เอื้อให้กิจการดำเนินการพัฒนาโครงการและความริเริ่มที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม พร้อมกับการได้รับ ‘เครดิต’ จากการดำเนินการ ตามขนาดของโครงการและความริเริ่มดังกล่าว ควบคู่ไปพร้อมกัน
ESG Credit ที่กิจการได้รับ จะเทียบเท่ากับมูลค่าโครงการที่เป็นตัวเงินโดยตรง ซึ่งแตกต่างจาก Carbon Credit ที่การคำนวณเป็นมูลค่าต้องอาศัยตัวแทนค่า (Proxies) ซึ่งอาจได้มูลค่าที่ไม่เหมือนกันตามระเบียบวิธีที่ใช้และดุลพินิจของผู้ประเมิน
รู้จัก ESG Credit
โดยหากโครงการดังกล่าว เป็นที่ยอมรับของสังคม กิจการสามารถพิจารณาที่จะยกระดับจากโครงการ ซึ่งมีจุดเริ่มต้น/สิ้นสุดโครงการ ไปสู่การเป็นส่วนขยายธุรกิจเพื่อสังคม (Social Business Extension) ภายใต้ความดูแลของกิจการ ในฐานะหน่วยดำเนินงานทางธุรกิจที่ยืนอยู่ได้ด้วยตัวเอง
สถาบันไทยพัฒน์ ได้เข้าเป็นสมาชิกภาคองค์กร ประเภทที่ปรึกษา ของ IEMA (Institute of Environmental Management and Assessment) เมื่อปี พ.ศ.2560 องค์กรซึ่งมีสมาชิกที่เป็นนักวิชาชีพด้านความยั่งยืนและสิ่งแวดล้อมจากทั่วโลก จำนวนกว่า 18,000 คน ใน 113 ประเทศ มีบทบาทในการสนับสนุนการกำหนด การรับรอง และการนำมาตรฐานและข้อปฏิบัติไปใช้เพื่อการแปรเปลี่ยนโลกสู่ความยั่งยืน