Thaipat Institute

GRI Certified Training Partner นับตั้งแต่ปี พ.ศ.2556

รู้จัก    CG   ¦   ESG   ¦   CSR   ¦   CSV   ¦   SD   ¦   SE   ¦   SB

จากบรรษัทภิบาล (CG) สู่บรรษัทบริบาล (CSR)


บรรษัทภิบาล มาจากคำว่า บรรษัท + อภิ (แปลว่า เฉพาะ ข้างหน้า ยิ่ง) + บาล (แปลว่า การปกครอง การรักษา) หมายถึง การกำกับดูแลกิจการให้เจริญรุดหน้าอย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยเงื่อนไขของความถูกต้องโปร่งใส การมีจริยธรรมที่ดี โดยมุ่งคำนึงถึงผู้มีส่วนได้เสียในกิจการ รวมทั้งผู้มีส่วนได้เสียอื่นและสังคมโดยรวม ประกอบ

ในประเทศไทย ได้มีการพัฒนาหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีโดยเทียบเคียงกับหลักการกำกับดูแลกิจการ (Principles of Corporate Governance) ของ OECD (The Organisation for Economic Co-Operation and Development) และข้อเสนอแนะของธนาคารโลก โดยได้ปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมเพื่อให้มีความเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของบริษัทจดทะเบียนไทย มีอยู่ด้วยกัน 5 หมวด ได้แก่ สิทธิของผู้ถือหุ้น การปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นอย่างเท่าเทียมกัน บทบาทของผู้มีส่วนได้เสีย การเปิดเผยข้อมูลและความโปร่งใส และความรับผิดชอบของคณะกรรมการ

เรื่องของบรรษัทภิบาล ถือเป็นโครงสร้างและกระบวนการภายในขั้นพื้นฐานที่กิจการต้องจัดให้มีขึ้นสำหรับการกำหนดทิศทางและสอดส่องดูแลผลการปฏิบัติงานของกิจการ ทั้งนี้ เพื่อมิให้เกิดความเสียหายต่อกิจการ พร้อมกันกับความสามารถในการสร้างมูลค่าเพิ่มและส่งเสริมการเติบโตของกิจการอย่างมั่นคง

บรรษัทภิบาลและบรรษัทบริบาลกับผู้มีส่วนได้เสียในระดับต่างๆ

ส่วนบรรษัทบริบาล มาจากคำว่า บรรษัท + บริ (แปลว่า ทั้งหมด ออกไป โดยรอบ) + บาล หมายถึง การดูแลรักษาไม่เฉพาะในส่วนที่เป็นกิจการ แต่ยังแผ่ขยายกว้างออกไปครอบคลุมในส่วนที่เป็นผู้มีส่วนได้เสียทั้งหมดที่อยู่โดยรอบกิจการ ด้วยเงื่อนไขของความสำนึกรับผิดชอบต่อสังคมในฐานะพลเมืองบรรษัท (Corporate Citizen) การมีคุณธรรม โดยคำนึงถึงผู้มีส่วนได้เสียทั้งในและนอกกิจการอย่างเท่าเทียมกัน

เรื่องของบรรษัทบริบาล จึงเป็นกลไกการดำเนินงานและกระบวนการภายนอกขั้นก้าวหน้าที่กิจการจัดให้มีขึ้นภายใต้จุดมุ่งหมายที่ต้องการสร้างประโยชน์แก่กิจการและส่วนรวมบนพื้นฐานของการไม่เบียดเบียนกัน การสงเคราะห์ช่วยเหลือส่วนรวมตามกำลังและความสามารถของกิจการ อันจะนำไปสู่ความยั่งยืนของกิจการในระยะยาว

ในประเทศไทย แนวปฏิบัติที่ดีในเรื่องบรรษัทบริบาลมีอยู่ในสังคมไทยมาช้านานแล้ว และแนวปฏิบัติหลายข้อที่กิจการไทยนำมาใช้ในปัจจุบัน ก็ยังปรากฏอีกว่ามีความก้าวหน้ามากกว่าหลักการซีเอสอาร์ของต่างประเทศอีกด้วย

การแถลงข่าว “6 ทิศทาง ซีเอสอาร์ ปี 2007: จาก บรรษัทภิบาล สู่ บรรษัทบริบาล”