การขับเคลื่อนซีเอสอาร์
Repositioning CSR • Reinforcing CSR • Reporting CSR
“ผลกระทบ (Impact) เป็นคำตอบสุดท้ายของการขับเคลื่อนภารกิจ CSR” น่าจะเป็นคำกล่าวที่กระชับที่สุด สำหรับการอธิบายว่า เราคาดหวังอะไรจากการทำ CSR
ทุกๆ องค์กรได้มีการรายงานผลการดำเนินงาน CSR อยู่แล้ว เพราะอย่างน้อยที่สุด ผู้ที่รับผิดชอบงาน CSR ขององค์กร ก็ต้องจัดทำรายงานเสนอต่อผู้บริหารหรือเจ้าของกิจการเป็นการภายในต่อผลที่ได้รับจากการดำเนินงาน CSR ในรอบปี
เอกสาร CSR Performance Report หรืออาจเรียกสั้นๆ ว่า CSR Report จึงมิใช่เรื่องใหม่สำหรับคนทำงานด้าน CSR เป็นแต่เพียงผู้ที่จะเห็นรายงานฉบับดังกล่าว อาจจำกัดอยู่แค่ผู้มีส่วนได้เสียในองค์กร (ผู้ถือหุ้นและเจ้าของกิจการ กับผู้บริหารและพนักงาน) เท่านั้น
เหตุผลหลักของการจัดทำรายงาน CSR ก็เพื่อต้องการชี้ให้เห็นถึง “ผลสำเร็จ” ที่องค์กรได้ใช้ทรัพยากรต่างๆ (ซึ่งย่อมมีต้นทุน ค่าใช้จ่าย และค่าเสียโอกาส) ในการดำเนินงาน CSR ต่อผู้บริหารและเจ้าของกิจการ สำหรับการรับรองหรือการยอมรับ (Recognition) ที่จะจัดสรรทรัพยากรในการขับเคลื่อนงาน CSR ในปีต่อไป เพราะผู้มีส่วนได้เสียในองค์กรให้การรับรองหรือยอมรับถึง “ผลสำเร็จ” ดังกล่าว
ในทำนองเดียวกัน การจัดทำรายงาน CSR สำหรับผู้มีส่วนได้เสียภายนอก ก็มีจุดมุ่งหมายหลักเพื่อสร้างให้เกิดการยอมรับและการรับรองจากสังคมต่อ “ผลสำเร็จ” ในภารกิจ CSR ขององค์กร ทำให้สังคมที่ประกอบด้วยกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียต่างๆ อนุญาตให้กิจการสามารถดำเนินงาน (License to Operate) ต่อไปโดยไม่มีคำคัดค้านหรือข้อโต้แย้งที่เป็นเหตุให้ธุรกิจต้องชะงักงันหรือสะดุดหยุดลง
การที่ธุรกิจจะได้รับการรับรองหรือการยอมรับจากผู้มีส่วนได้เสียทั้งภายในและภายนอกนั้น อยู่ที่การตีความหมายของ “ผลสำเร็จ” ในภารกิจ CSR ขององค์กร
บางองค์กรใช้การวัดผลสำเร็จด้วยสัมฤทธิภาพ (Achievement) ของการจัดสรรทรัพยากร (Input) ในโครงการหรือกิจกรรม CSR เช่น เราได้ลงทุนในระบบบำบัดเป็นมูลค่าถึง 500 ล้านบาท หรือบางองค์กรวัดด้วยกระบวนการ (Process) มีส่วนร่วมในกิจกรรม CSR เช่น จำนวนของคนในชุมชนที่เข้าร่วมกิจกรรมเพิ่มขึ้นถึง 45% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว หรือบางองค์กรวัดจากผลผลิต (Output) ของกิจกรรม เช่น ผู้ที่ผ่านการอบรมเป็นอาสาสมัครตรวจวัดคุณภาพน้ำครบ 100% หรือบางองค์กรก็วัดจากผลลัพธ์ (Outcome) ของโครงการ เช่น คุณภาพน้ำในชุมชนรอบโรงงานอยู่ในระดับดี และท้ายที่สุด บางองค์กรเลือกใช้วิธีการวัดผลกระทบ (Impact) ที่คนในชุมชนและโรงงานสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างปกติสุขจากการดำเนินงานที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร
องค์ประกอบสำคัญ 3 ประการที่เกื้อหนุนการรายงาน “ผลสำเร็จ” ในภารกิจ CSR ขององค์กรให้เป็นที่ยอมรับ ได้แก่ บูรณภาพ (Inclusivity) ของการคำนึงถึงผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้เสียในทุกกลุ่มที่เกี่ยวข้องและความครอบคลุมของภารกิจ CSR ในเรื่องหลักและประเด็นสำคัญได้อย่างครบถ้วน สารัตถภาพ (Materiality) ของตัวบ่งชี้สัมฤทธิภาพในกิจกรรม CSR ที่มีนัยสำคัญและเกี่ยวเนื่องกับองค์กรจริงๆ และ ทีฆภาพ (Sustainability) ของกิจกรรม CSR ที่ส่งผลต่อการดำเนินงานทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ภายใต้บริบทของการพัฒนาที่ยั่งยืน
องค์การแห่งความริเริ่มว่าด้วยการรายงานสากล (Global Reporting Initiative: GRI) ได้จัดทำแนวทางการรายงานข้อมูลการดำเนินงานของกิจการ ที่เรียกว่า รายงานความยั่งยืน (Sustainability Report) โดยได้วางหลักการของ “สารัตถภาพ” (Materiality) ไว้เป็นหัวใจของการจัดทำรายงานแห่งความยั่งยืน โดยเน้นให้องค์กรดำเนินงานและเปิดเผยข้อมูลการดำเนินงานในเรื่องที่สำคัญ (What matters) และตรงส่วนงานที่เรื่องนั้นมีความสำคัญ (Where it matters) แม้องค์กรอาจจะมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับประเด็นด้านความยั่งยืนหลายเรื่อง แต่แนวทางของ GRI ยังคงแนะนำให้องค์กรเฝ้าสังเกตและติดตามดำเนินการเฉพาะเรื่องที่มีความสำคัญต่อกิจการและผู้มีส่วนได้เสีย
กระบวนการจัดทำรายงาน CSR ตามแนวทาง GRI นี้ จะเป็นเครื่องมือให้องค์กรสามารถใช้บริหารและวัดผลกระทบ (Manage and Measure Impacts) จากการดำเนินภารกิจ CSR ในบริบทของการพัฒนาที่ยั่งยืนอย่างแท้จริง
(ปรับปรุง: มกราคม 2560)
“ผลกระทบ (Impact) เป็นคำตอบสุดท้ายของการขับเคลื่อนภารกิจ CSR” น่าจะเป็นคำกล่าวที่กระชับที่สุด สำหรับการอธิบายว่า เราคาดหวังอะไรจากการทำ CSR
ทุกๆ องค์กรได้มีการรายงานผลการดำเนินงาน CSR อยู่แล้ว เพราะอย่างน้อยที่สุด ผู้ที่รับผิดชอบงาน CSR ขององค์กร ก็ต้องจัดทำรายงานเสนอต่อผู้บริหารหรือเจ้าของกิจการเป็นการภายในต่อผลที่ได้รับจากการดำเนินงาน CSR ในรอบปี
เอกสาร CSR Performance Report หรืออาจเรียกสั้นๆ ว่า CSR Report จึงมิใช่เรื่องใหม่สำหรับคนทำงานด้าน CSR เป็นแต่เพียงผู้ที่จะเห็นรายงานฉบับดังกล่าว อาจจำกัดอยู่แค่ผู้มีส่วนได้เสียในองค์กร (ผู้ถือหุ้นและเจ้าของกิจการ กับผู้บริหารและพนักงาน) เท่านั้น
เหตุผลหลักของการจัดทำรายงาน CSR ก็เพื่อต้องการชี้ให้เห็นถึง “ผลสำเร็จ” ที่องค์กรได้ใช้ทรัพยากรต่างๆ (ซึ่งย่อมมีต้นทุน ค่าใช้จ่าย และค่าเสียโอกาส) ในการดำเนินงาน CSR ต่อผู้บริหารและเจ้าของกิจการ สำหรับการรับรองหรือการยอมรับ (Recognition) ที่จะจัดสรรทรัพยากรในการขับเคลื่อนงาน CSR ในปีต่อไป เพราะผู้มีส่วนได้เสียในองค์กรให้การรับรองหรือยอมรับถึง “ผลสำเร็จ” ดังกล่าว
ในทำนองเดียวกัน การจัดทำรายงาน CSR สำหรับผู้มีส่วนได้เสียภายนอก ก็มีจุดมุ่งหมายหลักเพื่อสร้างให้เกิดการยอมรับและการรับรองจากสังคมต่อ “ผลสำเร็จ” ในภารกิจ CSR ขององค์กร ทำให้สังคมที่ประกอบด้วยกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียต่างๆ อนุญาตให้กิจการสามารถดำเนินงาน (License to Operate) ต่อไปโดยไม่มีคำคัดค้านหรือข้อโต้แย้งที่เป็นเหตุให้ธุรกิจต้องชะงักงันหรือสะดุดหยุดลง
การที่ธุรกิจจะได้รับการรับรองหรือการยอมรับจากผู้มีส่วนได้เสียทั้งภายในและภายนอกนั้น อยู่ที่การตีความหมายของ “ผลสำเร็จ” ในภารกิจ CSR ขององค์กร
บางองค์กรใช้การวัดผลสำเร็จด้วยสัมฤทธิภาพ (Achievement) ของการจัดสรรทรัพยากร (Input) ในโครงการหรือกิจกรรม CSR เช่น เราได้ลงทุนในระบบบำบัดเป็นมูลค่าถึง 500 ล้านบาท หรือบางองค์กรวัดด้วยกระบวนการ (Process) มีส่วนร่วมในกิจกรรม CSR เช่น จำนวนของคนในชุมชนที่เข้าร่วมกิจกรรมเพิ่มขึ้นถึง 45% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว หรือบางองค์กรวัดจากผลผลิต (Output) ของกิจกรรม เช่น ผู้ที่ผ่านการอบรมเป็นอาสาสมัครตรวจวัดคุณภาพน้ำครบ 100% หรือบางองค์กรก็วัดจากผลลัพธ์ (Outcome) ของโครงการ เช่น คุณภาพน้ำในชุมชนรอบโรงงานอยู่ในระดับดี และท้ายที่สุด บางองค์กรเลือกใช้วิธีการวัดผลกระทบ (Impact) ที่คนในชุมชนและโรงงานสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างปกติสุขจากการดำเนินงานที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร
องค์ประกอบสำคัญ 3 ประการที่เกื้อหนุนการรายงาน “ผลสำเร็จ” ในภารกิจ CSR ขององค์กรให้เป็นที่ยอมรับ ได้แก่ บูรณภาพ (Inclusivity) ของการคำนึงถึงผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้เสียในทุกกลุ่มที่เกี่ยวข้องและความครอบคลุมของภารกิจ CSR ในเรื่องหลักและประเด็นสำคัญได้อย่างครบถ้วน สารัตถภาพ (Materiality) ของตัวบ่งชี้สัมฤทธิภาพในกิจกรรม CSR ที่มีนัยสำคัญและเกี่ยวเนื่องกับองค์กรจริงๆ และ ทีฆภาพ (Sustainability) ของกิจกรรม CSR ที่ส่งผลต่อการดำเนินงานทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ภายใต้บริบทของการพัฒนาที่ยั่งยืน
องค์การแห่งความริเริ่มว่าด้วยการรายงานสากล (Global Reporting Initiative: GRI) ได้จัดทำแนวทางการรายงานข้อมูลการดำเนินงานของกิจการ ที่เรียกว่า รายงานความยั่งยืน (Sustainability Report) โดยได้วางหลักการของ “สารัตถภาพ” (Materiality) ไว้เป็นหัวใจของการจัดทำรายงานแห่งความยั่งยืน โดยเน้นให้องค์กรดำเนินงานและเปิดเผยข้อมูลการดำเนินงานในเรื่องที่สำคัญ (What matters) และตรงส่วนงานที่เรื่องนั้นมีความสำคัญ (Where it matters) แม้องค์กรอาจจะมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับประเด็นด้านความยั่งยืนหลายเรื่อง แต่แนวทางของ GRI ยังคงแนะนำให้องค์กรเฝ้าสังเกตและติดตามดำเนินการเฉพาะเรื่องที่มีความสำคัญต่อกิจการและผู้มีส่วนได้เสีย
กระบวนการจัดทำรายงาน CSR ตามแนวทาง GRI นี้ จะเป็นเครื่องมือให้องค์กรสามารถใช้บริหารและวัดผลกระทบ (Manage and Measure Impacts) จากการดำเนินภารกิจ CSR ในบริบทของการพัฒนาที่ยั่งยืนอย่างแท้จริง
(ปรับปรุง: มกราคม 2560)