สัมภาษณ์พิเศษ ดร. พิพัฒน์ ยอดพฤติการ
ประเทศไทยจะเป็นต้นแบบ CSR ในภูมิภาคได้หรือไม่
ในแวดวง CSR เมืองไทย เมื่อเอ่ยชื่อ ดร. พิพัฒน์ ยอดพฤติการ ผู้อำนวยการสถาบันไทยพัฒน์ คงไม่มีใครไม่รู้จัก ด้วยเพราะเขาเป็นผู้บุกเบิก CSR ในยุคที่คำนี้ยังไม่เป็นที่แพร่หลายมากนัก ตั้งแต่เริ่มงานวิจัยทาง CSR ชิ้นแรกเมื่อปี 2548 มาวันนี้ เขาได้ขับเคลื่อนงาน CSR ภายใต้สถาบันที่เขาดูแลอยู่ ไปทั่วทุกจังหวัดในประเทศไทย
โครงการส่งเสริมความรู้ CSR สู่ภูมิภาค หรือ CSR Campus ที่ได้ดำเนินการต่อเนื่องมาเป็นปีที่ 3 แล้ว ถือได้ว่าเป็นโครงการแรกและโครงการเดียวในขณะนี้ที่มีพื้นที่ดำเนินการครอบคลุมทั้ง 76 จังหวัดทั่วประเทศไทย ด้วยจำนวนของผู้เข้าร่วมกว่า 2 หมื่นคนแล้ว
ขณะที่โครงการ CSR Day ของสถาบันฯ ที่ร่วมดำเนินงานกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ก็ เป็นอีกโครงการที่ทำต่อเนื่องมาในขวบปีที่ 3 แล้วเช่นกัน โครงการนี้มุ่งเจาะบริษัทจดทะเบียนเพื่อสร้างความรู้และการมีส่วนร่วมเรื่อง CSR กับพนักงาน โดยนับจนถึงขณะนี้มีบริษัทที่เข้าร่วมแล้วกว่า 250 แห่ง และมีพนักงานที่ผ่านกิจกรรมนี้ก็ร่วมๆ หมื่นคน
เรียกได้ว่า ลำพังแค่สองโครงการนี้ ในบรรดาคนไทยทุกๆ 2,000 คน จะต้องมีอย่างน้อย 1 คนที่ได้ผ่านการเข้าร่วมกิจกรรมกับสถาบันไทยพัฒน์มาแล้วไม่งานใดก็งานหนึ่ง
บทบาทของ ดร.พิพัฒน์ ในช่วงสองปีที่ผ่านมา เริ่มขยับขยายสู่อินเตอร์ นับตั้งแต่ OECD มอบให้ทำการศึกษาเรื่อง “การดำเนินธุรกิจอย่างรับผิดชอบในประเทศไทย” (Responsible Business Conduct in Thailand) เมื่อปี 2552 และในปีถัดมา GRI ก็ได้เข้ามาจัดอบรมเรื่องรายงาน CSR และได้ทำงานกับสถาบันฯ ในการพัฒนาหลักสูตรอบรมการจัดทำรายงานความยั่งยืน (Sustainability Reporting) ในประเทศไทย
ล่าสุดได้รับการเสนอชื่อให้เป็นผู้ประสานงานในระดับชาติ (National Focal Person) ทำงานร่วมกับคณะวิจัยในระดับภูมิภาค ภายใต้คณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (AICHR) ในการศึกษาเรื่องความรับผิดชอบทางสังคมของภาคธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน (CSR and Human Rights) ในอาเซียน
CSR WORLD ฉบับนี้ * จึงขอถ่ายทอดบทสัมภาษณ์ ดร.พิพัฒน์ ในเรื่องการขับเคลื่อน CSR ระดับอาเซียน และบทบาทของประเทศไทยกับเรื่อง CSR ในอาเซียน
• ช่วยเล่าที่มาของ CSR ในอาเซียน
เกิดจากการประชุมยกร่าง Blueprint สำหรับประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASCC) ที่มีการรับรองกันในปี 52 โดยระบุเรื่อง CSR เอาไว้ในแผนงาน โดยมีเป้าหมายหลักสองข้อ คือ หนึ่ง-ต้องการผลักดันให้ภาคธุรกิจผนวกเอาเรื่อง CSR ไว้ในวาระการดำเนินงานขององค์กร และ สอง-สนับสนุนให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนในเชิงเศรษฐกิจ-สังคม
หมายความว่า จากนี้ไป ภาคธุรกิจใน 10 ประเทศสมาชิก จะมีแนวปฏิบัติ CSR เดียวกันภายใต้ประชาคมอาเซียน คล้ายๆ กับที่ประเทศในกลุ่มสมาชิก OECD มีแนวปฏิบัติสำหรับบรรษัทข้ามชาติ หรือ OECD Guidelines for Multi-National Enterprises ที่เขาได้จัดทำมาตั้งแต่ปี 2519
-----------------------------------------------------
* CSR WORLD, ฉบับพิเศษ กรุงเทพธุรกิจ ปีที่ 3, มิถุนายน 2554.
ในแวดวง CSR เมืองไทย เมื่อเอ่ยชื่อ ดร. พิพัฒน์ ยอดพฤติการ ผู้อำนวยการสถาบันไทยพัฒน์ คงไม่มีใครไม่รู้จัก ด้วยเพราะเขาเป็นผู้บุกเบิก CSR ในยุคที่คำนี้ยังไม่เป็นที่แพร่หลายมากนัก ตั้งแต่เริ่มงานวิจัยทาง CSR ชิ้นแรกเมื่อปี 2548 มาวันนี้ เขาได้ขับเคลื่อนงาน CSR ภายใต้สถาบันที่เขาดูแลอยู่ ไปทั่วทุกจังหวัดในประเทศไทย
โครงการส่งเสริมความรู้ CSR สู่ภูมิภาค หรือ CSR Campus ที่ได้ดำเนินการต่อเนื่องมาเป็นปีที่ 3 แล้ว ถือได้ว่าเป็นโครงการแรกและโครงการเดียวในขณะนี้ที่มีพื้นที่ดำเนินการครอบคลุมทั้ง 76 จังหวัดทั่วประเทศไทย ด้วยจำนวนของผู้เข้าร่วมกว่า 2 หมื่นคนแล้ว
ขณะที่โครงการ CSR Day ของสถาบันฯ ที่ร่วมดำเนินงานกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ก็ เป็นอีกโครงการที่ทำต่อเนื่องมาในขวบปีที่ 3 แล้วเช่นกัน โครงการนี้มุ่งเจาะบริษัทจดทะเบียนเพื่อสร้างความรู้และการมีส่วนร่วมเรื่อง CSR กับพนักงาน โดยนับจนถึงขณะนี้มีบริษัทที่เข้าร่วมแล้วกว่า 250 แห่ง และมีพนักงานที่ผ่านกิจกรรมนี้ก็ร่วมๆ หมื่นคน
เรียกได้ว่า ลำพังแค่สองโครงการนี้ ในบรรดาคนไทยทุกๆ 2,000 คน จะต้องมีอย่างน้อย 1 คนที่ได้ผ่านการเข้าร่วมกิจกรรมกับสถาบันไทยพัฒน์มาแล้วไม่งานใดก็งานหนึ่ง
บทบาทของ ดร.พิพัฒน์ ในช่วงสองปีที่ผ่านมา เริ่มขยับขยายสู่อินเตอร์ นับตั้งแต่ OECD มอบให้ทำการศึกษาเรื่อง “การดำเนินธุรกิจอย่างรับผิดชอบในประเทศไทย” (Responsible Business Conduct in Thailand) เมื่อปี 2552 และในปีถัดมา GRI ก็ได้เข้ามาจัดอบรมเรื่องรายงาน CSR และได้ทำงานกับสถาบันฯ ในการพัฒนาหลักสูตรอบรมการจัดทำรายงานความยั่งยืน (Sustainability Reporting) ในประเทศไทย
ล่าสุดได้รับการเสนอชื่อให้เป็นผู้ประสานงานในระดับชาติ (National Focal Person) ทำงานร่วมกับคณะวิจัยในระดับภูมิภาค ภายใต้คณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (AICHR) ในการศึกษาเรื่องความรับผิดชอบทางสังคมของภาคธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน (CSR and Human Rights) ในอาเซียน
CSR WORLD ฉบับนี้ * จึงขอถ่ายทอดบทสัมภาษณ์ ดร.พิพัฒน์ ในเรื่องการขับเคลื่อน CSR ระดับอาเซียน และบทบาทของประเทศไทยกับเรื่อง CSR ในอาเซียน
• ช่วยเล่าที่มาของ CSR ในอาเซียน
เกิดจากการประชุมยกร่าง Blueprint สำหรับประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASCC) ที่มีการรับรองกันในปี 52 โดยระบุเรื่อง CSR เอาไว้ในแผนงาน โดยมีเป้าหมายหลักสองข้อ คือ หนึ่ง-ต้องการผลักดันให้ภาคธุรกิจผนวกเอาเรื่อง CSR ไว้ในวาระการดำเนินงานขององค์กร และ สอง-สนับสนุนให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนในเชิงเศรษฐกิจ-สังคม
หมายความว่า จากนี้ไป ภาคธุรกิจใน 10 ประเทศสมาชิก จะมีแนวปฏิบัติ CSR เดียวกันภายใต้ประชาคมอาเซียน คล้ายๆ กับที่ประเทศในกลุ่มสมาชิก OECD มีแนวปฏิบัติสำหรับบรรษัทข้ามชาติ หรือ OECD Guidelines for Multi-National Enterprises ที่เขาได้จัดทำมาตั้งแต่ปี 2519
-----------------------------------------------------
* CSR WORLD, ฉบับพิเศษ กรุงเทพธุรกิจ ปีที่ 3, มิถุนายน 2554.