โครงการประเมินการดำเนินการเพื่อความยั่งยืนของกิจการ
สถาบันไทยพัฒน์ ในฐานะหน่วยงานด้านวิชาการ ซึ่งทำหน้าที่ช่วยเหลือสนับสนุนการขับเคลื่อนความรับผิดชอบต่อสังคมของภาคธุรกิจ ได้จัดทำแนวทางการประเมินระดับการรายงานแห่งความยั่งยืนของกิจการเมื่อปี 2556 และได้พัฒนาเป็นโครงการประกาศรางวัลรายงานแห่งความยั่งยืน (Sustainability Report Award) ซึ่งเป็นกิจกรรมหนึ่งในงานสัมมนา CSR Thailand ประจำปี เพื่อส่งเสริมการจัดทำรายงานแห่งความยั่งยืนของบริษัทจดทะเบียนและบริษัททั่วไป
ในปี 2557 สถาบันไทยพัฒน์มีแนวคิดในการจัดทำโครงการประเมินการดำเนินการเพื่อความยั่งยืนของบริษัทจดทะเบียนไทย (“โครงการประเมินความยั่งยืนของ บจ.”) ซึ่งให้ความสำคัญกับการปฏิบัติ โดยจะนำข้อมูลที่บริษัทจดทะเบียน (“บจ.”) เปิดเผยในแบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี (แบบ 56-1) หรือรายงานประจำปี (แบบ 56-2) ซึ่งครอบคลุมการดำเนินงานที่เกี่ยวกับเรื่อง CSR และการต่อต้านการทุจริต (Anti-corruption) มาใช้ในการประเมิน
โดยที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้จัดทำแผนพัฒนาความยั่งยืนสำหรับ บจ. (Sustainability Development Roadmap) ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2557-2561) ซึ่งได้เน้นให้ความสำคัญใน 3 ด้าน คือ
(1) การกำกับดูแลกิจการ (CG in substance)
(2) ความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม (CSR in process) และ
(3) การต่อต้านการทุจริต (Anti-corruption in practice)
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ บจ. มีการดำเนินงานที่น่าเชื่อถือ เป็นไปเพื่อความยั่งยืนของกิจการและสังคมโดยรวม และเป็นบริษัทต้นแบบที่สร้างวัฒนธรรมการไม่ทุจริตในภาคธุรกิจไทย ซึ่งส่วนหนึ่งของแผนพัฒนาความยั่งยืนสำหรับ บจ. จะมีการจัดทำ Progress Indicators ด้าน CSR และการต่อต้านการทุจริต
เนื่องจากโครงการประเมินความยั่งยืนของ บจ. ที่สถาบันไทยพัฒน์จะดำเนินการ มีความสอดคล้องกับแผนพัฒนาความยั่งยืนสำหรับ บจ. ของสำนักงาน ก.ล.ต. สถาบันไทยพัฒน์จึงได้เสนอเข้ามาจัดทำ CSR Progress Indicator และ Anti-corruption Indicator ดังกล่าว เพื่อให้ บจ. สามารถนำผลการประเมินไปใช้เป็นข้อมูลสำหรับการวางแผนพัฒนาปรับปรุงการดำเนินธุรกิจให้เป็นไปด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการพัฒนาแนวทางและมาตรการในการสนับสนุนการพัฒนาความยั่งยืนของ บจ. ได้อย่างมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับกรอบหรือมาตรฐานที่เป็นสากล
ในปี 2558 สถาบันไทยพัฒน์ ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงาน ก.ล.ต. ให้เป็นผู้ดำเนินการประเมินความคืบหน้าในเรื่องการป้องกันการมีส่วนเกี่ยวข้องกับการคอร์รัปชัน (Anti-corruption Progress Indicator) ของบริษัทจดทะเบียน บริษัทหลักทรัพย์ และตัวแทนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า โดยใช้ระเบียบวิธี (Methodology) และเกณฑ์การประเมินที่ได้พัฒนาขึ้น มาใช้ประเมินการดำเนินการเพื่อความยั่งยืนต่อเนื่องจากปี 2557 เพื่อให้บริษัทจดทะเบียน บริษัทหลักทรัพย์ และตัวแทนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า สามารถนำผลการประเมินไปใช้เป็นข้อมูลสำหรับการวางแผนพัฒนาปรับปรุงเพิ่มระดับการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง
การประเมินจะให้ความสำคัญกับการปฏิบัติ โดยจะนำข้อมูลที่ บจ. เปิดเผยในแบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี (แบบ 56-1) หรือรายงานประจำปี (แบบ 56-2) ซึ่งครอบคลุมการดำเนินงานที่เกี่ยวกับเรื่องการต่อต้านการทุจริต (Anti-corruption) มาใช้ในการประเมิน ทั้งนี้ เพื่อส่งเสริมให้ บจ. ได้จัดทำข้อมูลเพื่อเปิดเผยในแบบ 56-1 หรือ 56-2 ตามรายการที่กำหนดไว้อย่างครบถ้วน และเป็นไปตามประกาศของสำนักงาน ก.ล.ต. อันจะก่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้ลงทุนและผู้มีส่วนได้เสียในวงกว้าง
ในปี 2557 สถาบันไทยพัฒน์มีแนวคิดในการจัดทำโครงการประเมินการดำเนินการเพื่อความยั่งยืนของบริษัทจดทะเบียนไทย (“โครงการประเมินความยั่งยืนของ บจ.”) ซึ่งให้ความสำคัญกับการปฏิบัติ โดยจะนำข้อมูลที่บริษัทจดทะเบียน (“บจ.”) เปิดเผยในแบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี (แบบ 56-1) หรือรายงานประจำปี (แบบ 56-2) ซึ่งครอบคลุมการดำเนินงานที่เกี่ยวกับเรื่อง CSR และการต่อต้านการทุจริต (Anti-corruption) มาใช้ในการประเมิน
โดยที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้จัดทำแผนพัฒนาความยั่งยืนสำหรับ บจ. (Sustainability Development Roadmap) ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2557-2561) ซึ่งได้เน้นให้ความสำคัญใน 3 ด้าน คือ
(1) การกำกับดูแลกิจการ (CG in substance)
(2) ความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม (CSR in process) และ
(3) การต่อต้านการทุจริต (Anti-corruption in practice)
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ บจ. มีการดำเนินงานที่น่าเชื่อถือ เป็นไปเพื่อความยั่งยืนของกิจการและสังคมโดยรวม และเป็นบริษัทต้นแบบที่สร้างวัฒนธรรมการไม่ทุจริตในภาคธุรกิจไทย ซึ่งส่วนหนึ่งของแผนพัฒนาความยั่งยืนสำหรับ บจ. จะมีการจัดทำ Progress Indicators ด้าน CSR และการต่อต้านการทุจริต
เนื่องจากโครงการประเมินความยั่งยืนของ บจ. ที่สถาบันไทยพัฒน์จะดำเนินการ มีความสอดคล้องกับแผนพัฒนาความยั่งยืนสำหรับ บจ. ของสำนักงาน ก.ล.ต. สถาบันไทยพัฒน์จึงได้เสนอเข้ามาจัดทำ CSR Progress Indicator และ Anti-corruption Indicator ดังกล่าว เพื่อให้ บจ. สามารถนำผลการประเมินไปใช้เป็นข้อมูลสำหรับการวางแผนพัฒนาปรับปรุงการดำเนินธุรกิจให้เป็นไปด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการพัฒนาแนวทางและมาตรการในการสนับสนุนการพัฒนาความยั่งยืนของ บจ. ได้อย่างมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับกรอบหรือมาตรฐานที่เป็นสากล
ในปี 2558 สถาบันไทยพัฒน์ ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงาน ก.ล.ต. ให้เป็นผู้ดำเนินการประเมินความคืบหน้าในเรื่องการป้องกันการมีส่วนเกี่ยวข้องกับการคอร์รัปชัน (Anti-corruption Progress Indicator) ของบริษัทจดทะเบียน บริษัทหลักทรัพย์ และตัวแทนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า โดยใช้ระเบียบวิธี (Methodology) และเกณฑ์การประเมินที่ได้พัฒนาขึ้น มาใช้ประเมินการดำเนินการเพื่อความยั่งยืนต่อเนื่องจากปี 2557 เพื่อให้บริษัทจดทะเบียน บริษัทหลักทรัพย์ และตัวแทนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า สามารถนำผลการประเมินไปใช้เป็นข้อมูลสำหรับการวางแผนพัฒนาปรับปรุงเพิ่มระดับการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง
การประเมินจะให้ความสำคัญกับการปฏิบัติ โดยจะนำข้อมูลที่ บจ. เปิดเผยในแบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี (แบบ 56-1) หรือรายงานประจำปี (แบบ 56-2) ซึ่งครอบคลุมการดำเนินงานที่เกี่ยวกับเรื่องการต่อต้านการทุจริต (Anti-corruption) มาใช้ในการประเมิน ทั้งนี้ เพื่อส่งเสริมให้ บจ. ได้จัดทำข้อมูลเพื่อเปิดเผยในแบบ 56-1 หรือ 56-2 ตามรายการที่กำหนดไว้อย่างครบถ้วน และเป็นไปตามประกาศของสำนักงาน ก.ล.ต. อันจะก่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้ลงทุนและผู้มีส่วนได้เสียในวงกว้าง