CSR: 7 Practices
ที่มา | หลักการ | หัวข้อหลัก | แนวปฏิบัติ |
แนวทางในการบูรณาการความรับผิดชอบต่อสังคมทั่วทั้งองค์กร ที่ได้แนะนำไว้ในมาตรฐาน ISO26000 ประกอบด้วย การพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะเฉพาะขององค์กรกับความรับผิดชอบต่อสังคม การทำความเข้าใจกับความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร ข้อปฏิบัติในการบูรณาการความรับผิดชอบต่อสังคมทั่วทั้งองค์กร การสื่อสารเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคม การเพิ่มความน่าเชื่อถือด้านความรับผิดชอบต่อสังคม การทบทวนและปรับปรุงข้อปฏิบัติขององค์กรด้านความรับผิดชอบต่อสังคม และการเข้าร่วมในความริเริ่มภาคสมัครใจด้านความรับผิดชอบต่อสังคม
แนวปฏิบัติ 1 การพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะเฉพาะขององค์กรกับความรับผิดชอบต่อสังคม (The relationship of an organization’s characteristics to social responsibility) เป็นการทบทวนตนเองก่อนว่า องค์กรประกอบธุรกิจประเภทใด อยู่ที่ไหน วิสัยทัศน์ พันธกิจ และทัศนคติของผู้นำเป็นอย่างไร เพื่อให้องค์กรเข้าถึงหัวใจสำคัญของความรับผิดชอบต่อสังคม ซึ่งปัจจัยในการวิเคราะห์ ควรประกอบด้วย สถานที่ตั้ง สังคม สิ่งแวดล้อม กิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวกับองค์กร ความห่วงใยต่อผู้มีส่วนได้เสีย และผู้ที่เกี่ยวข้องกับสายอุปทาน เป็นต้น เพื่อการตัดสินใจและนำไปสู่การปฏิบัติ
แนวปฏิบัติ 2 การทำความเข้าใจกับความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร (Understanding the social responsibility of the organization) โดยก่อนการขับเคลื่อนงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมใดๆ องค์กรควรระบุให้ได้ว่า องค์กรเกี่ยวข้องกับผู้มีส่วนได้เสียใดบ้าง มีลำดับความสำคัญเป็นอย่างไร และต้องไม่ลืมที่จะเข้าไปสานสัมพันธ์เพื่อหาความต้องการหรือความคาดหวังของกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียเหล่านี้ ซึ่งจะนำไปสู่การระบุประเด็น และแผนงาน/โครงการ/กิจกรรมที่เกี่ยวเนื่อง (relevant) และมีนัยสำคัญ (significant) กับองค์กร ทั้งนี้ ประเด็นที่ต้องทำความเข้าใจในเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรที่ไม่ควรมองข้าม ได้แก่ ความเข้าใจที่ตรงกันและนัยสำคัญของเรื่องหลักต่างๆ ต่อองค์กร ความสามารถในการโน้มน้าวเชิงบวก และการเรียงลำดับความสำคัญของปัญหาตามเรื่องหลักและประเด็นความรับผิดชอบต่อสังคม
แนวปฏิบัติ 3 ข้อปฏิบัติในการบูรณาการความรับผิดชอบต่อสังคมทั่วทั้งองค์กร (Practices for integrating social responsibility throughout an organization) ประกอบด้วยส่วนที่เป็นการสร้างเสริมความรับผิดชอบต่อสังคมเข้าสู่องค์กร การกำหนดทิศทางขององค์กรที่คำนึงความรับผิดชอบต่อสังคม ตลอดจนการสร้างการรับรู้และขีดความสามารถในด้านความรับผิดชอบต่อสังคม โดยแนะนำให้องค์กรมีการประกาศทิศทางและแนวทางในการขับเคลื่อนจากผู้นำองค์กร โดยถือเป็นภารกิจที่ต้องให้ความสำคัญและดำเนินการให้เกิดประสิทธิผลและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
แนวปฏิบัติ 4 การสื่อสารเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคม (Communication on social responsibility) นอกจากการสื่อสารเกี่ยวกับการทำงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร รวมทั้งการพูดคุยกับผู้มีส่วนได้เสียอย่างสม่ำเสมอแล้ว องค์กรควรคำนึงถึงคุณลักษณะของสารสนเทศที่จะใช้ในการสื่อสารเกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อสังคม ซึ่งควรมีความครบถ้วนสมบูรณ์ (complete) สามารถเข้าใจได้ง่าย (understandable) มีการตอบสนองอย่างตรงจุด (responsive) มีความแม่นยำ (accurate) มีความสมดุลรอบด้าน (balanced) ทันการณ์ (timely) และเข้าถึงได้สะดวก (accessible)
แนวปฏิบัติ 5 การเพิ่มความน่าเชื่อถือด้านความรับผิดชอบต่อสังคม (Enhancing credibility regarding social responsibility) ประกอบด้วย การพิจารณาวิธีการเพิ่มความน่าเชื่อถือ การแก้ไขปัญหาความขัดแย้งหรือความไม่ลงรอยกันระหว่างองค์กรกับผู้มีส่วนได้เสีย และการส่งเสริมความน่าเชื่อถือของการสื่อสารเกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อสังคม อาทิ การจัดทำรายงานความรับผิดชอบต่อสังคมเผยแพร่ต่อสาธารณะ (อาทิ การจัดทำรายงานแห่งความยั่งยืน ตามมาตรฐาน GRI) การอ้างอิงหรือการขอการรับรองผลการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมจากหน่วยงานภายนอก
แนวปฏิบัติ 6 การทบทวนและปรับปรุงข้อปฏิบัติขององค์กรด้านความรับผิดชอบต่อสังคม (Reviewing and improving an organization’s actions and practices related to social responsibility) ประกอบด้วย การสอดส่องดูแลการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคม การทบทวนความคืบหน้าและผลการปฏิบัติงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร การเพิ่มความเชื่อถือได้ของการเก็บรวบรวมและการจัดการข้อมูลและรายละเอียด เพื่อนำมาสู่การปรับปรุงผลการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมอย่างต่อเนื่อง และให้เกิดความสอดคล้องกับสภาวการณ์ที่เป็นปัจจุบัน
แนวปฏิบัติ 7 การเข้าร่วมในความริเริ่มภาคสมัครใจด้านความรับผิดชอบต่อสังคม (Voluntary initiatives for social responsibility) องค์กรควรพิจารณาเลือกแนวปฏิบัติอื่นที่เกี่ยวข้อง มาประยุกต์ใช้เพิ่มเติม และอาจมีการพิจารณาดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมร่วมกับองค์กรอื่นๆ หรือเป็นผู้ริเริ่มชักนำให้องค์กรข้างเคียงดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคมร่วมกับองค์กรของตน หรือมีความพร้อมถึงขั้นที่จะพัฒนาความริเริ่มสาธารณะเพื่อยกระดับความรับผิดชอบต่อสังคมในวงกว้าง
แนวปฏิบัติ 1 การพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะเฉพาะขององค์กรกับความรับผิดชอบต่อสังคม (The relationship of an organization’s characteristics to social responsibility) เป็นการทบทวนตนเองก่อนว่า องค์กรประกอบธุรกิจประเภทใด อยู่ที่ไหน วิสัยทัศน์ พันธกิจ และทัศนคติของผู้นำเป็นอย่างไร เพื่อให้องค์กรเข้าถึงหัวใจสำคัญของความรับผิดชอบต่อสังคม ซึ่งปัจจัยในการวิเคราะห์ ควรประกอบด้วย สถานที่ตั้ง สังคม สิ่งแวดล้อม กิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวกับองค์กร ความห่วงใยต่อผู้มีส่วนได้เสีย และผู้ที่เกี่ยวข้องกับสายอุปทาน เป็นต้น เพื่อการตัดสินใจและนำไปสู่การปฏิบัติ
แนวปฏิบัติ 2 การทำความเข้าใจกับความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร (Understanding the social responsibility of the organization) โดยก่อนการขับเคลื่อนงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมใดๆ องค์กรควรระบุให้ได้ว่า องค์กรเกี่ยวข้องกับผู้มีส่วนได้เสียใดบ้าง มีลำดับความสำคัญเป็นอย่างไร และต้องไม่ลืมที่จะเข้าไปสานสัมพันธ์เพื่อหาความต้องการหรือความคาดหวังของกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียเหล่านี้ ซึ่งจะนำไปสู่การระบุประเด็น และแผนงาน/โครงการ/กิจกรรมที่เกี่ยวเนื่อง (relevant) และมีนัยสำคัญ (significant) กับองค์กร ทั้งนี้ ประเด็นที่ต้องทำความเข้าใจในเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรที่ไม่ควรมองข้าม ได้แก่ ความเข้าใจที่ตรงกันและนัยสำคัญของเรื่องหลักต่างๆ ต่อองค์กร ความสามารถในการโน้มน้าวเชิงบวก และการเรียงลำดับความสำคัญของปัญหาตามเรื่องหลักและประเด็นความรับผิดชอบต่อสังคม
แนวปฏิบัติ 3 ข้อปฏิบัติในการบูรณาการความรับผิดชอบต่อสังคมทั่วทั้งองค์กร (Practices for integrating social responsibility throughout an organization) ประกอบด้วยส่วนที่เป็นการสร้างเสริมความรับผิดชอบต่อสังคมเข้าสู่องค์กร การกำหนดทิศทางขององค์กรที่คำนึงความรับผิดชอบต่อสังคม ตลอดจนการสร้างการรับรู้และขีดความสามารถในด้านความรับผิดชอบต่อสังคม โดยแนะนำให้องค์กรมีการประกาศทิศทางและแนวทางในการขับเคลื่อนจากผู้นำองค์กร โดยถือเป็นภารกิจที่ต้องให้ความสำคัญและดำเนินการให้เกิดประสิทธิผลและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
แนวปฏิบัติ 4 การสื่อสารเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคม (Communication on social responsibility) นอกจากการสื่อสารเกี่ยวกับการทำงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร รวมทั้งการพูดคุยกับผู้มีส่วนได้เสียอย่างสม่ำเสมอแล้ว องค์กรควรคำนึงถึงคุณลักษณะของสารสนเทศที่จะใช้ในการสื่อสารเกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อสังคม ซึ่งควรมีความครบถ้วนสมบูรณ์ (complete) สามารถเข้าใจได้ง่าย (understandable) มีการตอบสนองอย่างตรงจุด (responsive) มีความแม่นยำ (accurate) มีความสมดุลรอบด้าน (balanced) ทันการณ์ (timely) และเข้าถึงได้สะดวก (accessible)
แนวปฏิบัติ 5 การเพิ่มความน่าเชื่อถือด้านความรับผิดชอบต่อสังคม (Enhancing credibility regarding social responsibility) ประกอบด้วย การพิจารณาวิธีการเพิ่มความน่าเชื่อถือ การแก้ไขปัญหาความขัดแย้งหรือความไม่ลงรอยกันระหว่างองค์กรกับผู้มีส่วนได้เสีย และการส่งเสริมความน่าเชื่อถือของการสื่อสารเกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อสังคม อาทิ การจัดทำรายงานความรับผิดชอบต่อสังคมเผยแพร่ต่อสาธารณะ (อาทิ การจัดทำรายงานแห่งความยั่งยืน ตามมาตรฐาน GRI) การอ้างอิงหรือการขอการรับรองผลการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมจากหน่วยงานภายนอก
แนวปฏิบัติ 6 การทบทวนและปรับปรุงข้อปฏิบัติขององค์กรด้านความรับผิดชอบต่อสังคม (Reviewing and improving an organization’s actions and practices related to social responsibility) ประกอบด้วย การสอดส่องดูแลการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคม การทบทวนความคืบหน้าและผลการปฏิบัติงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร การเพิ่มความเชื่อถือได้ของการเก็บรวบรวมและการจัดการข้อมูลและรายละเอียด เพื่อนำมาสู่การปรับปรุงผลการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมอย่างต่อเนื่อง และให้เกิดความสอดคล้องกับสภาวการณ์ที่เป็นปัจจุบัน
แนวปฏิบัติ 7 การเข้าร่วมในความริเริ่มภาคสมัครใจด้านความรับผิดชอบต่อสังคม (Voluntary initiatives for social responsibility) องค์กรควรพิจารณาเลือกแนวปฏิบัติอื่นที่เกี่ยวข้อง มาประยุกต์ใช้เพิ่มเติม และอาจมีการพิจารณาดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมร่วมกับองค์กรอื่นๆ หรือเป็นผู้ริเริ่มชักนำให้องค์กรข้างเคียงดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคมร่วมกับองค์กรของตน หรือมีความพร้อมถึงขั้นที่จะพัฒนาความริเริ่มสาธารณะเพื่อยกระดับความรับผิดชอบต่อสังคมในวงกว้าง